

ธนาคารโลก (World Bank) ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2016 สำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค และกล่าวว่า Brexit ไม่มีแนวโน้มจะส่งสัญญาณใดๆที่จะส่งผลกระทบในระยะสั้นต่อการขยายตัวในภูมิภาค
ทั้งนี้ สถาบันปล่อยสินเชื่อสาขาวอชิงตัน (The Washington-based lender) คาดการณ์ว่า กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค ประกอบไปด้วยจีน จะขยายตัวได้ 6.4% ในปี 2016 และ 6.2% ในปี 2017 (คาดการณ์เดิมในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 6.3% ในปี 2016 และ 6.2% ในปี 2017
ขณะที่รายงานล่าสุดจากธนาคารโลก ระบุว่า การขยายตัวในภูมิภาคคาดว่าจะยังคงฟื้นตัวได้ระหว่างปี 2016-2018
ธนาคารโลกยังคงระดับคาดการณ์การขยายตัวของจีนที่ระดับ 6.7% และ 6.5% ตามลำดับ แต่ลดแนวโน้มการขยายตัวของจีนในปี 2018 ลง 0.2% แตะระดับ 6.3%
ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีการปรับเพิ่มคาดการณ์ขึ้นที่ระดับ 3.1% ในปี 2016 และ 2017 โดยเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.5% ในปี 2016 และ 2.6% ในปี 2017 พร้อมระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปจนแตะระดับ 3.3% ในปี 2018 โดยได้รับอานิสงค์จากการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดีขึ้น และภาคบริการที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว
แต่แนวโน้มระดับภูมิภาคจะเผชิญกับสัญญาณความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และเงื่อนไขทางการเงินทั่วโลกที่เข้มงวด จึงอาจลดปริมาณกระแสเงินไหลเข้าสู่ภูมิภาคได้
อย่างไรก็ดี การแยกตัวออกจากอียูของอังกฤษ ดูไม่มีแนวโน้มจะสร้างผลกระทบครั้งใหญ่ต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิคในระยะสั้น ซึ่งธนาคารโลก กล่าวว่า ผลกระทบโดยตรงต่อภาคการค้าและการเงินที่เชื่อมโยงกับอังกฤษนั้นมีจำกัด
อังกฤษมียอดรวมการส่งออกแก่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิคน้อยกว่า 2% และมีการจำกัดจำนวนหุ้นสำหรับนักลงทุนที่ไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
ทั้งนี้ ในระยะกลาง Brexit อาจมีการเจรจาด้านการค้าและข้อตกลงการลงทุนครั้งใหม่กับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค และอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าของพวกเขากับทางอียู
ที่มา: South China Morning Post
