• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559

    11 กุมภาพันธ์ 2559 | Economic News


ธนาคารกลางแห่งชาติของสวีเดน (Riksbank) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับติดลบ เนื่องจากกลุ่มผู้กำหนดนโยบายการเงินเพิ่มความพยามในการจัดการกับปัญหาเงินฝืดของประเทศ โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 15 bps แตะระดับ -0.5% จากเดิมที่ระดับ -0.35% จึงสร้างความแปลกใจแก่ตลาดเนื่องจากเป็นการปรับลดมากกว่าที่คาดหวังไว้ที่ระดับ -0.45%

นักวิเคราะห์จาก CityAM ระบุว่า การประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยระดับติดลบครั้งนี้ของ Riksbank ถือเป็นครั้งที่ 4 หลังจากที่เริ่มทำการปรับลดสู่ระดับติดลบนับตั้งแต่ ก.พ. 2015

ถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดเมื่อวานนี้ ระบุว่า เฟดยังไม่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ภาวะตึงตัวของตลาด, ความผันผวนของตลาดการเงิน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน อาจสร้างความเสี่ยงต่อสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ

นางเจเน็ต เยลเลน มีมุมมองต่อจีดีพีสหรัฐฯ ว่าในไตรมาสที่ 4/2015 จีดีพีจะปรับตัวสูงขึ้น แต่จากปัจจัยของตลาดการเงินที่รัดกุมมากขึ้น จึงคาดว่าน่าจะมีผลกระทบจากตลาดการเงินต่อมุมมองในอนาคต

ขณะที่มีมุมมองต่อค่าแรง ว่า ค่าแรงมีสัญญาณว่าจะปรับตัวสูงขึ้น หากตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าค่าแรงจะสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ในส่วนมุมมองต่อราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลง ว่า การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเป็นปัจจัยกดดันที่รุนแรง โดยสหรัฐฯเสียตำแหน่งงานจำนวนมากในภาคพลังงาน แต่เนื่องจากเป็นภาคฯที่เล็กจึงส่งผลกระทบต่อภาพรวมไม่มากนัก

และราคาน้ำมันที่ร่วงลงก็มีข้อดีเช่นกัน โดยคาดว่าภาคครัวเรือนสหรัฐฯสามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันไปได้มากกว่า 1,000 เหรียญต่อปี ซึ่งช่วยกระตุ้นการบริโภคภายครัวเรือน

Grant's Interest Rate Observer ระบุว่า เฟดพยายามจะทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ค่อนข้างจะผิดเวลา โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในภาวะถดถอย เรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่ดีที่สุดเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปลายปีนี

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในวันนี้ เนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบที่เมือง Cushing รัฐโอคลาโฮมา ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกกดดันตลาดน้ำมันดิบ

โดยเมื่อวานนี้หน่วยงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ(Energy Information Administration) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบบริเวณเมือง Cushing รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันดิบสำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 65 ล้านบาร์เรล สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลง 0.49% สู่ระดับ 30.69 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ในตลาดNYMEX ปรับตัวลดลง 1.42% สู่ระดับ 27.06 เหรียญ/บาร์เรล

นักวิเคราะห์จาก Phillip Futures ระบุว่า การที่ราคาน้ำมันดิบ Brent สามารถทรงตัวอยู่สูงกว่าระดับน้ำมันดิบWTI ได้ แสดงให้เห็นถึงภาวะอุปทานส่วนเกินในสหรัฐฯ

Goldman Sachs ระบุในรายงานว่า อุปทานส่วนเกินของน้ำมันดิบ ประกอบกับ การชะลอตัวลงของจีน ส่งสัญญาณว่าราคาน้ำมันดิบจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปจนกว่าจะถึงครึ่งปีหลัง คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบจะผันผวนต่อไประหว่าง 20-40 เหรียญ/บาร์เรล พร้อมๆกับการผันผวนอย่างรุนแรง และไม่มีทิศทาง ไปจนกว่าจะถึงครึ่งหลังของปี 2016

Goldman Sachs ระบุเพิ่มเติมว่า ความเสี่ยงจากการชะลอตัวลงของจีนและราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดเอาไว้

ข้อมูลโดย Bloomberg ระบุว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 49 เหรียญ/บาร์เรล ในไตรมาสที่ 1/2017 อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ของปีที่แล้ว นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 55 เหรียญ/บาร์เรล ในไตรมาส 1/2016

นาย Nils Smedegaard Andersen CEO ประจำบริษัทขนส่งและน้ำมันขนาดใหญ่ของโลก A.P. Moeller-Maersk A/S ระบุว่า ในระยะยาว คาดว่า ราคาน้ำมันน่าจะอยู่บริเวณ 45-55 เหรียญ/บาร์เรล 


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com