• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 9 กันยายน 2564

    9 กันยายน 2564 | Gold News



ทองคำปรับตัวลดลงแตะต่ำสุด 2 สัปดาห์ จากดอลลาร์ยัง “แข็งค่า” ต่อ!

ราคาทองคำปรับตัวลดลงไปทำต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ อันเป็นผลจากทิศทางของดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้น


ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปียังทรงตัวเหนือ 1.3% โดยวานนี้อ่อนตัวลงเล็กน้อยปิดที่ 1.355% ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยตามการปิดของอัตราผลตอบแทนดังกล่าว ประกอบกับสมาชิกเฟดสาขานิวยอร์ก มีท่าที Dovish มากขึ้น เพราะต้องการเห็นความคืบหน้ามากกว่านี้ของตลาดแรงงานในการบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน


ท้ายที่สุด ดัชนีดอลลาร์ยังปิดแกร่ง +0.14% ที่ 92.66 จุด โดยอ่อนตัวจากสูงสุดที่ทำได้ระหว่างวันบริเวณ 92.86 จุด ซึ่งเป็นแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ 27 ส.ค.


· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.1% ที่ 1,792.27 เหรียญ
ระหว่างวันดิ่งลึกทำต่ำสุด 1,781.30 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ 26 ส.ค.

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -0.3% ที่ 1,793.5 เหรียญ


· ซิลเวอร์ปิด -1.2% ที่ 24.02 เหรียญ

· แพลทินัมปิด-1.7% ที่ 981.77 เหรียญ

· พลาเดียมปิด -4.8% ที่ 2,259.23 เหรียญ


· ข้อมูลการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานใหม่ของสหรัฐฯเดือนก.ค. ขยายตัวขึ้นแตะ 10.934 ล้านตำแหน่ง ขณะที่เดือนก่อนหน้ามีการปรับทบทวนข้อมูลจ้างงานเพิ่มมาที่ 10.185 ล้านตำแหน่ง


· นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco Metals กล่าวว่า ตลาดทองคำค่อนข้างเคลื่อนไหวได้อย่างน่าผิดหวัง ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลดน้อยลงในสัปดาห์นี้ เพราะภาพหลักทองคำเผชิญแรงเทขายทำกำไร

นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับ Delta Covid-19 ที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวได้ ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ โดยจะเห็นได้ว่าดัชนี Dow Jones และ S&P500 มีการปิดปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 3 วันทำการ ขณะที่หุ้นยุโรปก็ปิดแดนลบ แต่เม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ตลาดทองคำยังเป็นไปอย่างจำกัด สาเหตุหลักเพราะการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่หนุนดอลลาร์แข็งค่ากดดันทองคำนั่นเอง


· นักวิเคราะห์จาก Societe Generale กล่าวว่า ทองคำปีนี้ขยับขึ้นได้อย่างจำกัด แม้ว่าจะเห็นเฟดคงดอกเบี้ยต่ำและเงินเฟ้ออยู่ระดับสูง

ดังนั้น จึงาคาดว่าราคาเฉลี่ยทองคำปีหน้า (2022) จะอยู่ที่ 1,750 เหรียญจากเม็ดเงินการลงทุนที่มีแนวโน้มจะลดลง


· บรรดานักลงทุนให้ความสำคัญกับการประชุมอีซีบีคืนนี้ ว่าจะมีผลให้เกิดการปรับลดการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินหรือไม่


· รายงาน Beige Book ของเฟด สะท้อนว่า ภาคธุรกิจต่างๆ มองการปรับขึ้นของเงินเฟ้อ และค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น ในช่วงการขาดแคลนอุปกรณ์การผลิต ที่อาจกระทบต่อความต้องการของผู้บริโภคในหลายๆพื้นที่


รายงานดังกล่าว ยังระบุถึง แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม “ลดลงเล็กน้อย” แต่ยังขยายตัวได้ดีในระดับปานกลาง แม้จะมีความกังวลของสาธารณสุขเกี่ยวกับการระบาดของยอดติดเชื้อ Delta Covid-19 ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ ก.ค. - ส.ค. นี้

รายงานยังระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง เป็นผลจากการลดการรับประทานอาหารนอกบ้าน, การเดินทาง และการท่องเที่ยว แทบทุกเขตพื้นที่ สะท้อนถึงความกังวลเรื่อง “ความปลอดภัย” ในสถานการณ์ Delta ระบาดเวลานี้

อย่างไรก็ดี แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน แม้จะเห็นค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้


· สมาชิกเฟดส่วนใหญ่ มอง “Tapering QE อาจเกิดขึ้นได้ในปีนี้” แม้จะเห็นจ้างงานเดือนส.ค. ชะลอตัวลง อันเป็นผลจาก Delta Covid-19

- “เจมส์ บุลลาร์ด” ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ ระบุว่า โอกาสทำ Tapering QE ควรเริ่มต้นปีนี้ และไม่กังวลถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานในเดือนส.ค. ที่มีการจ้างงานน้อยสุดในรอบ 7 ดือน เนื่องจากมองว่า ตลาดแรงงานยัง “แกร่ง” อย่างมาก ไปจนถึงปีหน้าได้ โดยเฉพาะหากสถานการณ์ระบาดของไวรัสพลิกฟื้นกลับมา

- “โรเบิร์ต เคพแลนด์” สมาชิกเฟด ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ เหลือเพียง 6% (เดิมคาด 6.5%) แต่ยังคงมุมมองการสนับสนุนทำ Tapering QE ให้เริ่มต้น ต.ค. ตราบเท่าที่แนวโน้มทางเศรษฐกิจไม่เห็นปัจจัยใดๆ เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ปีหน้าคาดเศรษฐกิจขยายตัวได้ 3% และคาดเห็นเงินเฟ้ออยู่แถว 2.6%

- “จอห์น วิลเลียม” ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก กล่าวว่า การตัดสินใจทำ Tapering QE ไม่ถือเป็นตัวกำหนดการปรับขึ้นดอกเบี้ยตามมา และยังมองว่าเฟดจะเริ่มดำเนินการ Tapering QE ได้อย่างเหมาะสมสำหรับปีนี้ กรณีที่เศรษฐกิจยังมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง


· สมาชิกเฟด จะทำการหารือกันในการประชุมจากนี้อีก 2 สัปดาห์ โดยมีกำหนดการ 21 – 22 ก.ย. นี้


· อีซีบีจะเริ่มต้นหารือการทำ Tapering QE วันนี้ ท่ามกลางเงินเฟ้อยูโรโซนทะยานแตะสูงสุดรอบ 10 ปี

· สมาชิกอีซีบี ชี้ เงินเฟ้ออาจหนุนอีซีบีเร่งดำเนินการคุมเข้มทางการเงินเร็วขึ้น! ท่ามกลางเงินเฟ้อที่กำลังสร้างแรงกดดันและอาจกลายมาเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น


· Reuters รายงานว่า อีซีบีอาจทำการลดการเข้าซื้อ QE แต่ความผันผวนต่างๆ ก็สะท้อนว่า อาจยังต้องเห็นอีซีบีประคองเศรษฐกิจด้วยท่าทีผ่อนคลายบางส่วนต่อไป


· สมาชิกบีโออี เผยถึงการกำลังพิจารณาเงื่อนไขพื้นฐานต่างๆ สำหรับการขึ้นดอกเบี้ย


· ธนาคารกลางจีนคงโอกาสไม่เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม และอาจเห็น PBoC ตัดสินใจใช้มาตรการคุมเข้มทางการเงินเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ


· ทั่วโลกกังวล “รัฐบาลตอลิบาน” ท่ามกลางชาวอัฟกานิสถานที่เรียกร้องการดำเนินการด้านสิทธิต่างๆ รวมทั้งเศรษฐกิจเวลานี้


· COVID-19 UPDATES:

ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกยังสูง วานนี้พบติดเชื้อใหม่รวม 592,402 ราย หรือเกือบ 6 แสนรายในหนึ่งวัน ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกแตะ 223.37 ล้านราย ทางด้านเสียชีวิตสะสมทั่วโลกทะลุ 4.6 ล้านรายได้เรียบร้อย

สหรัฐฯมียอดติดเชื้อใหม่รายวันพุ่งสูงกว่า 155,475 ราย รวมติดเชื้อสะสมในประเทศ 41.39 ล้านราย ถือเป็นประเทศที่มีติดเชื้อใหม่มากสุดของโลก ขณะที่ไทย ติดเชื้อใหม่ขยับอันดับขึ้นมาที่ 11 ของโลกเมื่อวานนี้ สูงกว่าฟิลิปปินส์เวียดนาม และญี่ปุ่นด้วยซ้ำ


· สถานการณ์ในไทย

ป่วยโควิดในประเทศวันนี้ 16,031 ราย ยอดสะสมระลอกเมษาฯ 1.3 ล้านราย เสียชีวิตยังสูง 220 คน ยอดรวม 13,731 คน


ด้านที่ปรึกษา ศบค.ชี้โควิดเป็น “ขาขึ้นใหม่” ไทยมี “ติดเชื้อแฝง” 7 ล้านคน เฉพาะกทม. 1.5 ล้านคน แต่ยังต้องเร่งฉีดวัคซีนเพื่อลดการป่วยหนัก-เสียชีวิต รับไม่มีทางทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ ต้องปรับตัววิถีใหม่อยู่ร่วมกับโรคให้ได้ รวมถึงต้องสร้างสมดุลระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจด้วย


· นักบริหารการเงิน ระบุว่า วานนี้บาทเคลื่อนไหวรับดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนปิดรับความเสี่ยง หันมาถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดภั

สำหรับเช้านี้ ทรงตัวบริเวณ 32.76 บาท/ดอลลาร์ ยังไม่มีปัจจัยใหม่ชี้นำที่สำคัญ ซึ่งตลาดรอผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) ในวันนี้เป้นหลัก และคาดระหว่างวันคาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.65-32.85 บาท/ดอลลาร์


· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- “อาคม” เร่งเบิกจ่ายงบประมาณทะลุ 90% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

รมว.คลังไทย เร่งเบิกจ่ายงบประมาณทะลุ 90% หวังเม็ดเงินหมุนเวียนสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ลุ้น! มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล็อตใหม่ ออกมาในช่วงเวลาที่เหมาะสม


- 3 ธนาคารใหญ่เตรียมวงเงิน 40,000 ล้าน ช่วยสมาชิก ส.อ.ท.-SMEs ฝ่าโควิด

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จับมือกับ 3 ธนาคารใหญ่ “ไทยพาณิชย์ Exim Bank กรุงศรีอยุธยา” เตรียมวงเงินรวมกว่า 40,000 ล้านบาท ช่วยเหลือสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯ และผู้ประกอบการ SMEs ในซัพพลายเชนภาคอุตสาหกรรม ในรูปแบบของ Supply Chain Financing คาดช่วยได้มากกว่า 10,000 ราย


· อ้างอิงจากฐานเศรษฐกิจ

- IMF ฉีดเงิน 1.4 แสนล้าน ตุนทุนสำรอง ฟื้นเศรษฐกิจไทย

IMF ร่วมแก้วิกฤติ จัดสรร 6.5 แสนล้านดอลลาร์ประเทศให้สมาชิก ไทยเฮรับ 1.4 แสนล้านบาท ตุนทุนสำรอง รับรัฐเดินหน้าฟื้นเศรษฐกิจ หลังโควิด-19 คลี่คลาย พุ่งเป้า 3 กลุ่มหลัก “ท่องเที่ยว-อสังหา-บริการ” เหตุจ้างงานสูงใช้เงินไอเอ็มเอฟหรือไม่ ต้องดูเงื่อนไข


IMF แจกไทย 1.4 แสนล้าน

การจัดสรรเงินจากกองทุน SDRs เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2564 ดังปรากฏในตัวเลขของทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของไทย ณ วันที่ 27 สิงหาคมที่พบว่า เพิ่มขึ้น 7,555.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหลักๆมาจากบัญชีสิทธิพิเศษถอนเงิน (SDRs) ที่เพิ่มขึ้น 4,384.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากสัปดาห์ก่อนหน้า หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท

เงินกู้5แสนล้านไม่พอ

ดังนั้นภาพจากนี้ไป จะเป็นการเดินหน้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ซึ่งมีรายงานข่าวจากกระทรวงการคลังว่า เป้าหมายหลักของการกระตุ้นเศรษฐกิจจะอยู่ในภาคเศรษฐกิจสำคัญ 3 กลุ่มคือ ภาคท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์และภาคบริการ เพราะแม้สัดส่วนรายได้ต่อจีดีพีจะเพียงประมาณ 13% แต่สัดส่วนการจ้างงานสูงมาก

อ่านต่อ: https://www.thansettakij.com/money_market/495008


· อ้างอิงจาก HoonSmart
- วิจัยกรุงศรี ชี้ เศรษฐกิจไทยเสี่ยงติดลบไตรมาสที่ 3/2021 เป็นครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้ว เหตุ Delta Covid-19 ระลอก 3 ขณะที่ธปท. ออกนโยบายเร่งช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และรายย่อย แต่คาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายภาคธุรกิจและจ้างงานยังซบเซา


· อ้างอิงจากไทยโพสต์

- นายกฯ รับข้อเสนอนักศึกษา วปอ. เน้น 'พลิกโฉมประเทศไทย' สร้างธุรกิจมูลค่าสูงทั่วประเทศ

- EXIM BANK ชี้โควิด-19 ทำให้การค้าโลกหดตัว 9%


· อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- "ไทยคม" ปิดฉาก "สัมปทานดาวเทียม 30 ปี" ส่งคืนรัฐ 10 ก.ย.นี้ - "เอ็นที" รับไม้ต่อ


· อ้างอิงจากข่าวสด

- เอ็กซิมแบงก์แนะจับตลาดดิจิตอล-อีคอมเมิร์ซ ลดผลกระทบเศรษฐกิจขาดิ่ง


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com