• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 7 กันยายน 2564

    7 กันยายน 2564 | Gold News



ทองทรงตัว แม้ว่าตลาดจะเริ่มคลายกังวลเฟดทำ Tapering QE

ราคาทองคำค่อนข้างทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดช่วง 2 เดือนครึ่ง หลังจากที่ข้อมูล Non-Farm Payrolls ของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ ลดโอกาสเฟดชะลอการลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ


· ราคาทองคำตลาดโลกเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ 1,823.59 เหรียญ หลังไปทำสูงสุดตั้งแต่ 16 มิ.ย. ที่ 1,833.80 เหรียญในคืนวันศุกร์

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. อ่อนตัวลงมาราว 0.4% ที่ 1,826.30 เหรียญ


· ตลาดซื้อขายค่อนข้างเบาบางเมื่อวานนี้ โดยตลาดส่วนใหญ่ปิดทำการเนื่องในวันหยุด Labor Day ของสหรัฐฯ ซึ่งรวมไปถึงตลาดหุ้นสหรัฐฯและตลาดพันธบัตรในสหรัฐฯด้วย

· เมื่อวานนี้ทองคำปรับขึ้นจำกัดจากดัชนีดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอีกราว 0.1% หลังไปทำต่ำสุดรอบ 1 เดือนในวันศุกร์ที่ผ่านมา

· นักวิเคราะห์อาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ราคาทองคำที่ขยับขึ้นแรงวันศุกร์ เริ่มเห็นแรงหนุนขาขึ้นอ่อนตัวลง โดยจะเห็นได้ว่าทองคำยังไม่สามารถผ่านแนวต้านหลักระหว่าง 1,830 – 1,834 เหรียญได้

· ซิลเวอร์ทรงตัวแถว 24.70 เหรียญ หลังไปทำสูงสุดรอบ 1 เดือนเมื่อวานนี้


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีปรับขึ้นราว 0.03% แตะ 1.322%



· ดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้ต่ำสุดรอบ 1 เดือน จากกระแสเฟดจะชะลอการทำ Tapering QE

ดัชนีดอลลาร์เมื่อคืนนี้ขยับขึ้น 0.05% ที่ระดับ 92.155 จุด หลังร่วงไปทำต่ำสุดครั้งแรกตั้งแต่ 4 ส.ค. บริเวณ 92.155 จุด หลังจ้างงานสหรัฐฯออกมาแย่กว่าคาด



ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อย 0.1% ที่ 109.79 เยน/ดอลลาร์ ภาพรวมเคลื่อนไหวกรอบกลางตลอดช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

ค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.18775 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากไปทำแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 29 มิ.ย. ที่ 1.1909 ดอลลาร์/ยูโรในสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีแรงหนุนหลักจากการที่อีซีบีจะทำการ Tapering QE


· อีซีบีกับกระแสเปิดฉากหาเริ่มต้นหารือทำ Tapering QE ท่ามกลางเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวแข็งแกร่งในเวลานี้ ประกอบกับอัตราว่างงานลดลงและเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น จึงคาดจะเห็นอีซีบีเริ่มต้นหารือในประเด็นดังกล่าวในการประชุม 9 ก.ย. นี้


· ปอนด์อ่อนค่า 0.3% บริเวณ 1.38200 ดอลลาร์/ปอนด์ จากสัญญาณเศรษฐกิจอังกฤษเผชิญปัญหา

หลัง IHS Markit เผยข้อมูลดัชนี PMI ภาคการก่อสร้างอ่อนตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เผชิญการ Lockdown ในช่วงต้นปีนี้ จากการขาดแคลน Supply ที่เป็นปัญหาหลัก


· สหราชอาณาจักรผ่อนผันข้อตกลงขยายเวลาแก่ไอร์แลนด์เหนือ

· กว่า 80% ของการผลิตบริเวณอ่าวเม็กซิโกยังคงไม่กลับมาทำการ หลังเผชิญพายุเฮอริเคนไอดา


· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากความกังวลเรื่องอุปสงค์พลังงาน – WTI ซื้อขายต่ำกว่า 69 เหรียญ/บาร์เรล

เมื่อวานนี้สัญญาน้ำมันดิบ WTI มีการปรับตัวลดลงราว 0.58% ที่ 68.89 เหรียญ/บาร์เรล

ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 0.58% เคลื่อนไหวแถว 72.19 เหรียญ/บาร์เรล

ภาพรวมสัญญาณ RSI บริเวณ 48.15 จุด สะท้อนภาวะการเคลื่อนไหวของราคาในทิศทาง Sideways


· หน่วยงานกำกับดูแลตลาดจีน เผยว่า จีนจะทำการปรับปรุงกฎการเปิดตลาดทุนสำหรับกลุ่มรายชื่อของบริษัทจีนข้ามชาติ เพื่อขยายช่องทางให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนในตลาดซื้อขายอนุพันธ์และหลักทรัพย์ในตลาดจีนมากขึ้

และจะคอยจับตาดูการเคลื่อนไหวของเม็ดเงินลงทุนระหว่างว่าประเทศว่าจะยังคงความมีเสถียรภาพของตลาดได้หรือไม่


· หุ้นจีนบางส่วนปรับขึ้นกว่า 30% จากการที่นักลงทุนขานรับข่าวจีนกับการเปิดตลาดแลกเปลี่ยนกรุงปักกิ่ง

หุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีการซื้อขายน้อยมากกว่า 60 ตัวพุ่งขึ้นอย่างน้อย 10% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนเดิมพันว่าบริษัทมีศักยภาพที่จะรวมบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่ในกรุงปักกิ่ง

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนประกาศเมื่อค่ำวันพฤหัสบดีว่าเมืองหลวงจะ เปิดตัวตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สามของประเทศ เพื่อช่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการระดมทุน


· หุ้นยุโรปปิดแดนบวก-ตลาดคลายความกังวลเห็นธนาคารกลางชะลอการคุมเข้มทางการเงิน

ดัชนี Stoxx 600 +0.7% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ปิด +1.6% หนุนให้หุ้นกลุ่มหลักอื่นๆปรับตัวสูงขึ้น



ขณะที่ข้อมูลจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯออกมาแย่ หนุนตลาดคลายความกังวลเฟดเริ่งทำ Tapering QE ขณะที่ตลาดยังคงคาดว่าจะเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในจีนและญี่ปุ่น


· ดัชนีอนุพันธ์สหรัฐฯ เปิดขยับขึ้น หลังจากที่ Dow Jones ปิดร่วงคืนวันศุกร์รับรายงานจ้างานสหรัฐฯเดือนส.ค.

ดัชนี Dow Jones Futures เปิด +82 จุด หรือ +0.23%
ดัชนี S&P500 Futures ขยับขึ้น +0.21%
ดัชนี Nasdaq 100 Futures ปรับขึ้น +0.31%

สำหรับวันนี้ไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญใดๆ แต่ช่วงปลายสัปดาห์ อาจต้องจับตาไปยังถ้อยแถลงของสมาชิกเฟด ได้แก่ นางแมรี ดาร์ลี ประธานเฟดสาขาซานฟานซิสโก


· COVID-19 UPDATES:



ยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกรวมชะลอตัวตัว โดยเพิ่มขึ้นราว 395,000 ราย ส่งผลให้ยอดสะสมยังคงแตะ 221.95 ล้านราย ในส่วนของเสียชีวิตทั่วโลกรวมแตะ 4.58 ล้านราย

อังกฤษติดเชื้อใหม่มากสุดอันดับ 1 ของโลก โดยวานนี้มียอดติดเชื้อใหม่เพิ่ม 41,192 ราย ขณะที่สหรัฐฯพบผู้ติดเชื้อใหม่มากสุดอันดับ 2 ที่ 39,406 ราย และอันดับ 3 เป็นอินเดีย ที่มียอดติดเชื้อใหม่แถว 30,000 ราย

ไทยรั้งอันดับ 9 ของโลก ที่มีผู้ติดเชื้อใหม่มากที่สุด แม้จำนวนติดเชื้อในประเทศจะลดลงจากแถวระดับ 15,000 ราย โดยมีรายงาน 10 อันดับสูงสุด กทม. และปริมณฑล มียอดติดเชื้อลดลง ด้านเพชรบูรณ์เพิ่มหนัก



สำหรับวันนี้ ศบค. รายงานว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 13,821 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 241 ราย

รวมยอดติดเชื้อสะสม 1,308,343 ราย ขณะที่ยอดรวมเสียชีวิตสะสม 13,283 ราย




· นักบริหารการเงินคาดว่าจะเห็นเงินบาทในกรอบ 32.30 – 32.80 บาท/ดอลลาร์ แต่อาจเผชิญการเคลื่อนไหวผันผวนสูงในระยะนี้ และคาดว่าเงินบาทเคลื่อนไหวรอท่าทีอีซีบีประชุม 9 ก.ย. นี้ หลังเงินเฟ้อและภาคการผลิตยูโรโซนฟื้นตัว หนุนยูโรทำแข็งค่ามากสุดรอบกว่า 1 เดือน ขณะที่สมาชิกอีซีบีบางส่วนหนุนการปรับนโยบายการเงินจาก Dovish เป็น Hawkish

นอกจากนี้ การแข็งค่าบางส่วนของเงินบาท ยังได้รับอิทธิพลจากดอลลาร์อ่อนค่าจากข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯที่ออกมาแย่กว่าคาด แต่ถึงตลาดแรงงานสหรัฐนชะลอตัว ก็อาจไม่ได้ส่งผลให้เฟดเปลี่ยนใจทำการ Tapering QE ปีนี้ได้

ภาพรวมนักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 9,870 ล้านบาท และซื้อพันธบัตรไทย 17,916 ล้านบาท


สำหรับระดับแนวต้านสำคัญของเงินบาทอยู่บริเวณ 32.80 บาท/ดอลลาร์ จะเป็นระดับสำคัญที่บรรดาผู้ส่งออกอาจเข้ามาทยอยขายดอลลาร์ จึงอาจทำให้เงินบาทอ่อนกลับไประดับดังกล่าวได้

สำหรับแนวรับบริเวณ 32.30 บาท/ดอลลาร์ ก็ยังถือเป็นแนวรับหลัก และเป็นจุดที่กลุ่มผู้นำเข้าบางส่วนรอทยอยแลกซื้อดอลลาร์


· ธปท. รายงานเศรษฐกิจไทยเดือนก.ค. ได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการแพร่ระบาดและมาตรการควบคุมโรค ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจเดือนส.ค. ยังถูกกดดันต่อเนื่อง

การใช้จ่ายหลังการคลายล็อกล่าสุดมีความไม่แน่นอน เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนอาจกังวลว่าการระบาดจะกลับมาอีกครั้ง ขณะที่ธปท.มองเงินบาทที่แข็งค่าสะท้อนว่าตลาดคลายกังวลเรื่อง COVID-19 และการปรับนโยบายของเฟด สำหรับบัญชีเดินสะพัดเดือนกรกฎาคมขาดดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์ แคบลงจากระดับขาดดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนมิถุนายน


· สนค. เผยมาตรการรัฐ ฉุดเงินเฟ้อ ส.ค.หดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือ สนค.รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ เงินเฟ้อทั่วไปของไทย เดือนสิงหาคม 2564 กลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 5 เดือน โดยลดลง 0.02 % เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลง 0.18 % จากเดือนกรกฎาคม 2564 ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 8 เดือนปีนี้ ขยายตัว 0.73%


ปัจจัยหลักที่ทำให้เงินเฟ้อติดลบอีกครั้ง เป็นผลจาก มาตรการลดภาระค่าครองชีพของรัฐในช่วงโควิด โดยเฉพาะการลดค่าเล่าเรียน,ค่าธรรมเนียมการศึกษา ,ค่ากระแสไฟฟ้า, ค่าน้ำประปา

อีกทั้งราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดบางชนิดมีราคาลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก


เดือนตุลาคมนี้ สนค.จะประกาศตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2564 ใหม่ จากเดิมกำหนดกรอบไว้ที่บวก 0.7 ถึง 1.7% มีค่ากลางอยู่ที่ 1.2 % โดยมองว่า มีแนวโน้มลดลง หากรัฐบาลต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพถึงสิ้นปีนี้ ทั้งลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รวมทั้งต้องติดตามทิศทางราคาน้ำมัน ,สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และราคาพืชผักผันผวนจากภาวะอากาศ

ส่วนการคลายล็อกดาวน์ยังไม่มีผลโดยตรงต่อเงินเฟ้อ โดยประเมินว่าเงินเฟ้อทั้งปีนี้ไม่น่าจะเกิน 1% และเมื่อมาตราการรัฐหมดลงในปีหน้า เงินเฟ้อก็จะปรับสูงขึ้นอีกครั้


· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- กสิกรไทย ส่องเศรษฐกิจผ่านฐานะแบงก์ไทย ฟื้นตัวช้า-หนี้เสียพุ่งกว่าเพื่อนบ้าน โดยภาพรวมแบงก์ไทยสถานะการเงินฟื้นตัวช้า-ด้อยกว่าเพื่อนบ้าน ซึ่งหากจะเห็นผลประกอบการพลิกสู่ช่วงก่อนโควิดใช้เวลานานกว่า 1-2 ปี

ปัจจุบันเมื่อมีการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้และมีมาตรการพักชำระหนี้ ธนาคารจะเรียกเก็บหนี้ได้ในช่วงท้ายสัญญา นั่นหมายความว่า ระหว่างทาง ธนาคารจะถือดอกเบี้ยค้างรับไว้ โดยที่ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าลูกหนี้จะจ่ายชำระได้จริงหรือไม่และมากน้อยเพียงใด เพียงแต่ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ ธนาคารสามารถพิจารณาความเสี่ยงเครดิตของลูกหนี้และตั้งสำรองหนี้ฯเพิ่มขึ้นได้ อันเป็นผลให้ที่ผ่านมา ระดับการตั้งสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์จึงยังสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19





ขณะเดียวกัน หลังโควิดเร่งจัดการธุรกิจภาคบริการ-SMEs ทรุดหนัก

- KKP Research ชี้สงครามเทคโนโลยีสหรัฐ-จีน สร้าง 3 ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย




การแข่งขันและความขัดแย้งทางเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐและจีน จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและกำหนดว่าใครจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในทศวรรษข้างหน้า จึงเตือนสงครามสหรัฐ-จีน เสี่ยงกระทบเซมิคอนดักเตอร์ และไทยจะเผชิญการเข้าถึง 5G ต้นทุนแพงขึ้น




3 ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย

1) ความเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทานของการผลิตและราคาสินค้า ในอนาคตข้างหน้าที่เซมิคอนดักเตอร์มีความสำคัญต่อแทบทุกสินค้าและบริการ

2) ความเสี่ยงต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ ภาวะขาดแคลนชิปจะส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการผลิตรถยนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อไทยและพึงพาเซมิคอนดักเตอร์สูง

3) ความเสี่ยงต่อการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ การแข่งกันด้านเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐ และจีนจะทวีความรุนแรงขึ้น จะทำให้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นในอัตราที่เร็วยิ่งขึ้นและผนวกเข้ากับระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

อ่านต่อ: https://www.prachachat.net/finance/news-754817


· อ้างอิงจากข่าวหุ้น

แนวโน้ม SET ทรงตัว! รอปัจจัยใหม่ พร้อมจับตาตัวเลขเงินเฟ้อไทย

แนวโน้ม SET ทรงตัว หลังปรับตัวจนเข้าเขต Overbought อีกทั้งรอปัจจัยใหม่เข้ามาสนับสนุน และยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจไทย

ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้แกว่งทรงตัว ดัชนีฯเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบบางๆ พร้อมให้แนวรับ 1,644 – 1,640 จุด ส่วนแนวต้าน 1,658 – 1,660 จุด


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com