• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2564

    20 สิงหาคม 2564 | Gold News


ราคาทองคำปรับตัวลดลงจากดอลลาร์แข็งค่า - เฟดหารือลด QE

· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.5% ที่ 1,778.65 เหรียญ

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด -0.1% ที่ 1,783.1 เหรียญ


· ราคาทองคำปรับตัวลงโดยได้รับแรงกดดันจาก

- ดอลลาร์แข็งค่าทำสูงสุด 9 เดือน แตะ 93.587 จุด ก่อนปิด +0.3% ที่ 93.359 จุด

- โอกาสเฟดทำ Tapering QE กดดันความเชื่อมั่นนักลงทุน

- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ทำต่ำสุดรอบ 17 เดือนในสัปดาห์ที่แล้ว ตอกย้ำโอกาสตลาดแรงงานฟื้นตัว

ขณะที่การปรับลงของทองคำยังมีจำกัด เพราะได้รับปัจจัยบวกจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลว่า ยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่กำลังเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว


· นักวิเคราะห์จาก Commerzbank ชี้ ณ ปัจจุบันเรื่องที่ไม่ชัดเจนมีเพียงเรื่องเดียว คือ การเกิดTapering QE ดังนั้น การคาดการณ์ต่างๆจึงกำลังส่งผลกระทบต่อทองคำ


· ตลาดให้ความสนใจกับการประชุมธนาคารกลางประจำปี ระหว่าง 26-28 ส.ค. ณ เมืองแจ็กสัน รัฐไวโอมิง


· นักวิเคราะห์จาก OANDA ระบุว่า ค่อนข้างแน่ชัดว่าราคาทองคำกำลังได้รับอานิสงส์ในฐานะ Safe-Haven จากตลาดหุ้นที่ปรับตัวลงหนัก หนุนความต้องการทองสูงขึ้น ประกอบกับความชัดเจนจากความวิตกกังวลเรื่อง Covid-19 กำลังเป็นปัจจัยเข้าสู่ตลาด จึงมีโอกาสเห็นทองคำขึ้นแตะ 1,800 เหรียญ

อย่างไรก็ดี ภาพระยะกลางของทองคำยังเป็นขาลง แต่อาจจะยุติสภาวะนี้ได้ หากเห็นอานิสงส์จากปัจจัยต่างๆเพิ่มแรงกระตุ้น


· ภาพรวมราคาทองคำปรับขึ้นแล้วประมาณ 6% จากที่ทำต่ำสุดรอบกว่า 4 เดือน ที่ 1,684.37 เหรียญในสัปดาห์ที่แล้ว


· CEO บริษัทเหมือง Evolution Mining ชี้ ความผันผวนของ Bitcoin จะส่งผลให้นักลงทุนกลับถือทองคำ และทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนถือครองมาตลอด 70 ปี


· ซิลเวอร์ปิด -1.4% ที่ 23.15 เหรียญ

· แพลทินัมปิด -2.5% ที่ 969.88 เหรียญ

· พลาเดียมปิด -4.8% ที่ 2,311.19 เหรียญ หลังทำต่ำสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. ที่ระดับ 2,299.57 เหรียญ


· รายงาน QSS ของกระทรวงการพาณิชย์สหรัฐฯ ชี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาสที่ 2/2021 มีแนวโน้มจะถูกปรับทบทวนสูงขึ้น และมีสัญญาณบ่งชี้จะเห็นการฟื้นตัวของจีดีพีขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วแตะ 6.5% ในปีนี้ จากภาคบริการและค้าปลีก รวมถึงสต็อกสินค้า

หลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯขั้นต้นออกมาแข็งแกร่ง สะท้อนถึงการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ และการฟื้นตัวของภาคสาธารณสุข


· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับลงทำต่ำสุดใหม่ในยุค Covid-19 ระบาด




สัปดาห์ที่แล้วมีผู้ขอรับสวัสดิการลดลงเกินคาดสู่ระดับ 348,000 ราย ถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ 14 มี.ค. ปี 2020 และยังปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนประมาณ 27,000 ราย



การขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องลดลงราว 79,000 ราย สู่ระดับ 2.82 ล้านรายในสัปดาห์ก่อน ยังคงเป็นการปรับลงทำ New Low ใหม่นับตั้งแต่ช่วงไวรัสระบาด


· ดัชนีผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย พบว่าออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ โดยขยายตัวได้เพียง 19.4 จุดในเดือนส.ค. ถือเป็นการชะลอตัวต่อเนื่อง 4 เดือน หลังจากที่ทำสูงสุดรอบเกือบครึ่งศตวรรษในช่วงก่อนหน้า


· Goldman Sachs หั่นคาดการณ์เศรษบกิจสหรัฐฯไตรมาสนี้ (Q3/2021) สู่ระดับ 5.5% จาก 9% คาด Delta Covid และเงินเฟ้อที่สูงจะกระทบเศรษฐกิจ โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะยังอยู่ระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี หรือสูงกว่าที่เคยประมาณการณ์ไว้


· ตลาดจับตาประธานเฟดกับการกล่าวถึง “แนวโน้มเศรษฐกิจ” ในสัปดาห์หน้า

นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดมีกำหนดการกล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับ “แนวโน้มเศรษฐกิจ” ในสัปดาห์หน้า ณ การประชุม Jackson Hole Symposium ระหว่าง 26-28 ส.ค.นี้



โดยมีคาดการณ์กันอย่างมากว่า อาจเห็นการกล่าวถ้อยแถลงสำคัญที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ “การปรับทบทวนกรอบนโยบายการดำเนินงาน” (Monetary Policy Framework Review) จึงทำให้นักลงทุนและบรรดานักวิเคราะห์คาดหวังว่า อาจมีนัยยะสำคัญเกี่ยวกับกรอบเวลาการถอนนโยบายการเงินของเฟด


นักวิเคราะห์บางส่วน คาดหวังว่า ประธานเฟดอาจ “เปิดเผย” ให้เห็นถึงความชัดเจนของแผนดำเนินงานหรือ Roadmap ในสัปดาห์หน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากว่าประธานเฟดต้องการรักษาโอกาสในการเริ่มทำ Tapering QE เร็วขึ้น ขณะที่สมาชิกเฟดบางรายยังคงมี “ความกังวล” เกี่ยวกับข้อมูลเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง แต่นายเจอโรม โพเวลล์ ก็ยังมองว่าเป็นแนวโน้มการปรับขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น


· ส.ว.สหรัฐฯจากพรรครีพับลิกัน เรียกร้อง “ไบเดน” แต่งตั้ง “โพเวลล์” ดำรงตำแหน่งประธานเฟดต่อ!

ทั้งนี้ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด จะหมดวาระดำรงตำแหน่งในเดือนก.พ. ปีหน้า ดังนั้น สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯจากพรรครีพับลิกันจึงมีการส่งจดหมายถึงนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯในการให้นายโพเวลล์ดำรงตำแหน่งประธานเฟดต่อไป เพื่อให้ช่วง 4 ปีจากนี้มีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษบกิจมากขึ้น แม้จะยังเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆอยู่

ขณะที่ทางทำเนียบขาวยังไม่ได้ตอบรับใดๆต่อข้อเรียกร้องนี้


· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมนี เผยคาดกาณ์เศรษฐกิจเยอรมนีโตได้อย่างแข็งแกร่งตามคาดช่วงไตรมาสที่ 3 หลังจากที่ไตรมาสที่ 2/2021 ขยายตัวได้ 1.5%


· ข้อมูลดัชนี Core CPI ญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 0.2% ในเดือนก.ค. อันเป็นผลจากแนวโน้มของสถานการณ์ Covid-19 ในประเทศ


· สหรัฐฯอพยพชาวอัฟกานิสถานได้ 7,000 คนในช่วง 5 วัน ขณะที่ประชาชนอีกนับพันยังพร้อมออกเดินทางที่สนามบินกรุงคาบู


· กลุ่มตอลิบานเรียกร้องควาเป็นหนึ่งเดียวจากชาวอัฟกานิสถานหลังเกิดเหตุประท้วงลามมายังกรุงคาบูล


· ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับความเป็นไปได้ที่จะเห็นกลุ่มก่อการร้าย ISIS-K ที่เป็นศัตรูตัวฉกาจของตอลิบานเข้าโจมตีกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถานได้


· COVID-19 UPDATES:



ติดเชื้อใหม่ทั่วโลกพุ่งสูงกว่า 715,000 ราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกทะยานแตะ 210 ล้านราย และเสียชีวิตสะสมทะลุ 4.4 ล้านราย


· “ดร.แอนโธนี ฟาวซี” ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสหรัฐฯ แนะควรขยายระยะเวลาเพื่อให้การผลิตวัคซีน Covid-19 เพิ่มมากขึ้นสำหรับการบริจาคให้ทั่วโลก


· ยอดติดเชื้อสหรัฐฯยังเพิ่มขึ้นกว่า 154,000 ราย รวมสะสมที่ 38.23 ล้านราย ทางด้านไทยรั้งอันดับ 12 ของโลกสำหรับยอดติดเชื้อใหม่รายวันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับที่ 12



ขณะที่ยอดเสียชีวิตใหม่ของไทยวานนี้ครองอันดับ 10 ของโลก




· สำหรับรายงานสถานการณ์เช้านี้
ไทยติดโควิดสะสมทะลุล้าน
พบติดเชื้อเพิ่ม 19,851 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 240 ราย



ติดเชื้อสะสมในประเทศไทย 1,009,440 ราย
เสียชีวตสะสมในประเทศไทย 8,826 ราย

ขณะที่มีรายงานว่า เด็กติดโควิด-19 ในไทย เพิ่มสูงจนน่ากังวล ล่าสุดประมาณ 3,000 คน มีจำนวนเด็กติดเชื้อสะสม มากกว่า 90,000 คน และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


กรุงเทพธุรกิจรายงานสถานการณ์วัคซีนของไทย ระบุว่า วัคซีนโควิดไทยมีลุ้น 4 ชนิดจากวิจัยทั้งหมด 20 ชนิด



· ‘เงินบาท’ วันนี้เปิด‘ทรงตัว’ 33.32 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารเงิน ประเมิน กรอบเงินบาทวันนี้ 33.30-33.45บาท/ดอลลาร์

ทั้งนี้ เงินบาทไม่แข็งค่ามาก เหตุฟันด์โฟลว์ไหลออกต่อ แม้ดอลลาร์แข็งค่าจากเป็นสินทรัพย์หลบภัยจับตาการแพร่ระบาดโควิดในเศรษฐกิจขนาดใหญ่


· อ้างอิงจากผู้จัดการออนไลน์

- โควิด-19 อาละวาดหนัก กดดันเศรษฐกิจไทยเสี่ยงติดลบ





การระบาดของวิกฤตโควิด-19 ระลอก 3 ทวีความรุนแรงและยาวนานกว่าทุกครั้ง กดดันต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยอย่างต่อเนื่องนับแต่ปลายไตรมาส 2 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามสถานการณ์การระบาดที่ยังควบคุมไม่ได้ ทำให้หลายสถาบันวิจัยทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยมาเป็นระยะ ล่าสุด แนวโน้มความเป็นไปได้สูงที่จะเห็นตัวเลขจีดีพีปีนี้เป็น “ลบ”
อ่านต่อ: https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000081792


· อ้างอิงจากไทยโพสต์

- CIMBT หั่นจีดีพี ปี 64 เหลือโต 0.4% มองโอกาสติดลบหากโควิดยืดเยื้อ

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) เปิดเผยว่า สำนักวิจัย CIMBT ปรับลดการคาดการณ์ที่เคยให้ไว้ในเดือน ก.ค.64 ที่ 1.3% ลงเหลือ 0.4% ในปี 64 และ จาก 4.2% เหลือ 3.2% ในปี 65 หลังจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) รายงานว่าเศรษฐกิจไตรมาส 2/64 ขยายตัว 7.5% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หรือ 0.4% จากไตรมาส 1/64 หลังปรับฤดูกาล และคาดทั้งปี 64 จะขยายตัว 0.7-1.3% หรือเฉลี่ยที่ 1.0%


· อ้างอิงจากมติชน

- ‘แอตต้า’ ชี้ท่องเที่ยวไทยปี 64 หมดหวังแล้ว หลังโควิดระบาดหนัก ทำเดินทางชะงัก-ต่างชาติมาน้อย

นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการ ท่องเที่ยว (แอตต้า) เปิดเผยว่า ภาพรวมการท่องเที่ยวไทยในปี 2564 ช่วงที่เหลืออีก 4 เดือนก่อนหมดปี แนวโน้มมองว่าปีนี้ไม่น่าจะมีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาแล้ว เนื่องจากเห็นการระบาดโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก กลับมาพบการระบาดระลอกใหม่ขึ้น รวมถึงสถานการณ์การระบาเโควิดในประเทศ ที่ยังพบผู้ติดเชื้อทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และเห็นตัวเลขผู้เสียชีวิตทำระดับสูงสุดใหม่ (นิวไฮ) ต่อเนื่องเช่นกัน จึงมองว่าความหวังในปีนี้น่าจะจบแล้ว ต้องรอฝากความหวังไว้ในปี 2565 ทีเดียว


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com