• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2564

    6 กรกฎาคม 2564 | Gold News


ดอลลาร์อ่อนหนุนทองขึ้นเหนือ 1,800 เหรียญ ตลาดจับตารายงานประชุมเฟด

 

·         วันนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาบริเวณ 1,800 เหรียญ โดยไปทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ เพราะได้รับอานิสงส์จาก

- ดอลลาร์อ่อนค่า 0.2% หนุนความต้องการทองคำเพิ่มขึ้น

- นักลงทุนรอความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางดำเนินนโยบายการเงินจากรายงานประชุมเฟดในเดือนมิ.ย.

 

·         นักกลยุทธ์ของ DailyFX ระบุว่า ปัจจัยหลักที่สนับสนุนราคาทองคำคือการอ่อนค่าของดอลลาร์ หลังจากที่ทองคำเผชิญแรงเทขายอย่างหนักหลังจบประชุมเฟดในเดือนมิ.ย. และขณะนี้ หากรายงานประชุมเฟดเป็นไปตามคาดก็อาจหนุนให้กลุ่มผู้ซื้อทองคำกลับสู่ตลาด

 

·         อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นของทองคำดูจะเป็นไปอย่างจำกัด จากแนวทางใช้นโยบาย Hawkish ของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลก ดังนั้น จึงไม่คิดว่าทองคำจะสามารถฟื้นตัวกลับไปหาระดับสูงสุดช่วงต้นเดือนมิ.ย.ได้ในเร็วๆนี้

 

·         สัปดาห์นี้ ตลาดให้ความสำคัญกับ "รายงานประชุมเฟดเดือนมิ.ย." ที่จะถูกเปิดเผยในวันพุธนี้ (ตี 1 ตามเวลาไทย) หลังจากการประชุมในเดือนมิ.ย. เฟดมีท่าทีคุมเข้มมากขึ้น พร้อมเห็นเจ้าหน้าที่เฟดคาดโอกาสเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในปี 2023 จึงเป็นปัจจัยที่กดดันทองคำให้ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1,800 เหรียญ

 

·         ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายสินค้าโภคภัณฑ์ของ Phillip Futures กล่าวว่า ราคาทองคำอาจสามารถทรงตัวในทิศทางขาขึ้นได้เหนือแนวต้าน 1,800 เหรียญ แต่ไม่น่าจะไปได้ไกลนักจนกว่าจะทราบรายงานประชุมเฟดที่จะถูกเปิดเผยในคืนวันพรุ่งนี้

 

·         ธนาคารกลางของออสเตรเลีย คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.1% และมีแนวโน้มจะคงดอกเบี้ยระดับต่ำจนถึงปี 2024 แม้ว่าจะมีการประกาศลดการซื้อพันธบัตร

 

 

·         ทองรีบาวน์ทำสูงสุดใหม่รอบ 3 สัปดาห์แถว 1,810 เหรียญ

 

นักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ทองคำยังคงปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกของตลาดยุโรป และมีการทำสูงสุดในรอบเกือบ 3 สัปดาห์บริเวณ 1,809 เหรียญ


 

ทองคำมีการรีบาวน์ปรับขึ้นมาอย่างแข็งแกร่งจากระดับ 1,750 เหรียญ ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเม.ย. และเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่อง 5 วันทำการในวันนี้ โดยทองคำมีปัจจัยสนับสนุนจาก


- ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ Delta Covid-19 ที่เพิ่มมากขึ้น จึงกดดันความเชื่อมั่นนักลงทุน

- นักลงทุนกลับถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe-Haven)

- แรงขายในดอลลาร์กดดัน "ดอลลาร์อ่อนค่า" หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์

 

ปัจจัยที่ตลาดรอคอย คือ

1) สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) เผยข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการคืนนี้ 21.00น.

2) รายงานประชุมเฟดเดือนมิ.ย. ที่จะประกาศคืนพรุ่งนี้ (เวลาตี 1 ตามเวลาไทย)

 

อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า ทองคำมีการปรับขึ้นมาเหนือแนวต้าน 1,795 เหรียญ จึงสามารถฝ่า 1,800 เหรียญ และเพิ่มโอกาสการปรับขึ้นของทองคำได้ต่อ โดยขณะที่ตลาดรอข้อมูลสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะสะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุน และโอกาสในการซื้อขายระยะสั้นสำหรับทองคำ


 

วิเคราะห์ทางเทคนิค


 

 


นักวิเคราะห์จาก FXStreet ยังระบุว่า หลังจากที่ราคาทองคำสามารถปิดเหนือเส้น DMA ราย 100 วันที่ 1,790 เหรียญได้เมื่อวานนี้ ก็ยิ่ง "ตอกย้ำ" ภาพขาขึ้นของทองคำ โดยทองคำวันนี้มีการทดสอบเป้าหมายบริเวณเส้น DMA-21 บริเวณ 1,809 เหรียญ


 

ซึ่งทองคำจำเป็นต้องยืนให้ได้เหนือ 1,800 เหรียญ จึงจะยืนยันภาวะการกลับตัวเป็นขาขึ้น หลังจากที่ลงไปทำต่ำสุดรอบ 2 เดือนบริเวณ 1,751 เหรียญเมื่อไม่นานมานี้

 

ธนาคารกลางต่างๆกับเข้าถือครองทองคำอีกครั้ง

 

·         ธนาคารกลางกานา (BoG) เปิดเผยถึง "การจัดตั้งโครงการซื้อทองคำ (Gold Purchase Programme)" เพื่อเข้าซื้อทองคำที่ผลิตในประเทศ

รองประธานาธิบดีแห่งกานา ระบุถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการสำรองทองคำในประเทศอย่างเหมาะสม จะทำให้เกิดความหลากหลายอย่างมาก รวมถึงการเพิ่มมูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งการตัดสินใจของบีโอจี ถือเป็นตัวเปลี่ยนเกม (หรือแผนในการดำเนินการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ)

 

·         ธนาคารกลางเซอร์เบีย เปิดเผยว่า ภาพระยะยาวทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งการป้องกันความเสี่ยงทางการเงินต่างๆ

โดยธนาคารกลางเซอร์เบียร์มีการสำรองทองคำเพิ่มสู่ระดับ 50 ตัน จาก 36.3 ตัน

 

·         ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่มการสำรองทองคำมากสุด โดยเข้าซื้อกว่า 46.7 ตันในเดือนพ.ค. คิดเป็น 82% ของการเข้าซื้อสุทธิในเดือนเดียว

 

 

·         ธนาคารกลางตุรกีเพิ่มการสำรองทองคำ 8.6 ตัน ส่งผลให้การถือครองล่าสุดอยู่ที่ 415 ตัน

 

 

·         ธนาคารกลางบราซิลเพิ่มการสำรองทองคำมากถึง 11.9 ตัน ถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่พ.ย. ปี 2012

ปัจจุบันธนาคารกลางบราซิลมีระดับการสำรองทองคำที่ 79.3 ตัน หรือคิดเป็น 1% ของสัดส่วนการสำรองสินทรัพย์ทั้งหมด  เรียกได้ว่า ภาพรวมระดับการสำรองทองคำล่าสุดเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่พ.ย. ปี 2000

 

·         ธนาคารกลางคาซัคสถานเพิ่มการสำรองทองคำ 5.3 ตัน

 

·         ธนาคารกลางโปร์แลนด์ เพิ่มการสำรองทองคำ 1.9 ตัน

 

·         ธนาคารกลางอินเดียเพิ่มการสำรองทองคำ 0.9 ตัน

นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่นๆที่มีการซื้อทองคำเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค.

 

·         หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์โลหะมีค่าจาก HSBC มองว่า หากธนาคารกลางมองหาความหลากหลายในการกระจายความเสี่ยง "ทองคำ" ก็ถือว่าตอบรับได้ดี เมื่อเกิดการลดการถือครองดอลลาร์ โดยปราศจากการเลือกสำรองค่าเงินสกุลอื่นๆ


 

·         สภาทองคำโลก (WGC) อ้างอิงการเพิ่มการเข้าซื้อทองคำในเดือนมี.ค. - เม.ย. ก็มีการเพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงเป็นแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาในเดือนพ.ค.

โดยบรรดาธนาคารกลางทั้งหมดมีการสำรองทองคำเพิ่มขึ้นรวมมากถึง 56.7 ตัน ในเดือนพ.ค. แต่ลดลงมาประมาณ 11% เมื่อเทียบรายเดือน

อย่างไรก็ดี ภาพรวมค่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีถึงพ.ค. พบว่ามีการสำรองทองคำเพิ่มขึ้น 43%


·         ปากีสถานจะเริ่มจับตาการ "ซื้อ-ขาย" ทองคำ ส่งผลให้บรรดาผู้ค้าทองคำจิวเวลรีไม่ค่อยพอใจต่อกฎที่เข้มงวดดังกล่าว

 

·         นักวิเคระาห์ฝ่ายการลงทุนจาก Morgan Stanley ระบุว่า แรงกดดันเงินเฟ้อและเรื่องดอกเบี้ยจะยังอยู่กับตลาด

ดังนั้น นักลงทุนจึงควรให้ความสำคัญอย่างมากต่อการตอบรับเรื่อง "เงินเฟ้อ" ของธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะ "เฟด"

 

·         บรรดา CEO ของบริษัทในสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจในสหรัฐฯกว่า 1,500 แห่ง ได้รับผลกระทบจากการถูกโจมตี Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่


 

·         ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนในญี่ปุ่นเดือนพ.ค. ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ภาพรวมยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แตะ 11.6% เมื่อเทียบรายปี หลังเม.ย. ปรับขึ้นได้ 13%

อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แต่การระบาดรอบใหม่ของ Covid-19 กำลังเป็นปัจจัยที่เข้ากดดันความเชื่อมั่นผู้บริโภค และรัฐบาลยังเดินหน้าใช้มาตรการภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียวและหลายๆกรุงหลักของประเทศเพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสที่เพิ่มสูงขึ้น

 

·         ยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นในหลายๆประเทศของเอเชีย ฉุดรั้งการใช้จ่ายผู้บริโภค


ขณะที่ค่าใช้จ่ายผู้บริโภคของจีนยังคงฉุดรั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจีน เช่นเดียวกับความอ่อนแอในข้อมูลค้าปลีกทั่วทั้งเอเชีย

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก DBS ระบุว่า สถานการณ์ระบาดที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นในเอเชียถือเป็น "ผลกระทบเชิงลบ" ต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่ถือเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิ

 

 

·         สิงคโปร์ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้ 75% เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่แก่ประชาชนภายในช่วงต้นเดือนต.ค. และให้ได้ 2 ใน 3 ของที่คาดภายใน 9 ส.ค. จึงจะสามารถทยอยผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดได้


 

·         IFO เผย แรงงานในเยอรมนีปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2020 โดยคนว่างงานในเยอรมนีเดือนมิ.ย. 1.5 ล้านคน  ขณะที่การจ้างงานขยายตัวได้ 4.5% หลังพ.ค. ขยายตัวได้มากกว่าที่ 6.8%

 

 

·         คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีร่วงลงเกินคาดในเดือนพ.ค. สู่ระดับ -3.7% ขณะที่เดือนก่อนหน้าปรับทบทวนเพิ่มมาที่ 1.2% ในเดือนเม.ย. โดยได้รับผลกระทบจากอุปสงค์นอกกลุ่มยูโรโซนที่อ่อนแอ


 

·         ยอดคำสั่งซื้อสินค้าภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีปรับตัวลงเกินคาดในเดือนพ.ค. ร่วงลงมากสุดนับตั้งแต่ Lockdown ครั้งแรกปี 2020

สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เผยข้อมูลยอดคำสั่งซื้อสินค้าภาคอุตสาหกรรมาเดือนพ.ค. ปรับลง -3.7% อันเป็นผลจากอุปสงค์จากต่างประเทศลดลงไปมากถึง -6.7% ขณะที่คำสั่งซื้อนอกประเทศยูโรโซนดิ่งหนักกว่า -9.3% โดยมีอุปสงค์ในประเทศขยายตัวขึ้นได้ 0.9%

 

·         เยอรมนีผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางให้อังกฤษ-อินเดีย-โปรตุเกส-รัสเซีย

หน่วยงานของรัฐบาลเยอรมนีในการควบคุมโรคติดเชื้อ ประกาศว่า อังกฤษอินเดียโปรตุเกส และรัสเซีย ไม่ใช่พื้นที่ที่มีเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ที่น่ากังวลแพร่ระบาดอยู่อีกต่อไป นอกจากนี้ RKI ยังประกาศผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเหล่านี้

 

·         OBR คาด เงินเฟ้ออังกฤษปรับขึ้น "ชั่วคราว" แต่ยังมีความเสี่ยงเรื่อง "ระดับหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น" มูลค่า 2 ล้านล้านปอนด์ที่อาจกลายมาเป็นตัวเร่งให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นเกินคาด


 

·         ยอดติดเชื้อใหม่ลดลงหนุนการพิจารณาเรื่อง Lockdown สำหรับ “ซิดนีย์”

 

ทั้งนี้ ผู้ว่ารัฐนิวเซาท์เวลส์ จะตัดสินใจในอีก 24 ชั่วโมงว่าจะขยายเวลา Lockdown เมืองซิดนีย์ หรือให้สิ้นสุดการ Lockdown ในวันศุกร์นี้ จากยอดติดเชื้อใหม่ที่ปรับตัวลดลง



 

·         ชาวชนบทในอินเดียมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นจากสถานการณ์ Covid-19 ที่ทำให้ไร้งาน


 

·         Reuters Poll ชี้ ผลสำรวจคาดธนาคารกลางมาเลเซียจะยังคงดอกเบี้ยระดับต่ำจากสภาวะการขยาย Lockddown

 


ที่มา: CNBC, Reuters, Kitco, FXStreet

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com