• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2564

    6 กรกฎาคม 2564 | Gold News

Gold Price Forecast: ทองชะลอตัวในการผ่านไปถึง 1,800 หรียญ - รอตลาดเปิดทำการ และข้อมูล PMI สหรัฐฯ

ราคาทองคำยังคงทรงตัวอยู่แถวระดับสำคัญ 1,791 เหรียญ หลังจากที่ผ่านขึ้นมาในภาพระยะสั้นๆ และยังสามารถยืนแถวระดับดังกล่าวได้ในเช้าวันนี้ โดยที่ทองคำรอสัญญาณขาขึ้นที่ชัดเจนมากกว่านี้


แม้จะทราบข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯในเชิงบวก แต่เทรดเดอร์ทองคำก็ยังคงรอคอยให้ตลาดกลับมาเปิดทำการอย่างเต็มรูปแบบก่อนเป็นเรื่องแรก เพื่อประเมินแนวโน้มและความหวังในการเข้าซ้อทองคำ


นักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ความแตกต่างของกลุ่ม OPEC+ ที่ทำให้ยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องกำลังการผลิตและนำไปสู่ท่าทีที่เข้มงวดต่อกันมากขึ้นในการประชุมครั้งหน้า ก็ดูจะกลายมาเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำโดยอ้อม ท่ามกลางดัชนี S&P500 Futures ที่ค่อนข้างทรงตัวแถวสูงสุดประวัติการณ์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯที่ยังอยู่แถว 1.43และยังเป็นปัจจัยเชิงลบต่อราคาทองคำ


อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ตลาดกำลังให้ความสำคัญ คือ
1) ข้อมูลของสถาบันจัดการด้านอุปทาน (
ISM) ที่จะเปิดเผยข้อมูลดัชนี PMI ภาคบริการ เดือนมิ.ย. ในคืนนี้ เวลา 21.00น.

2) รายงานประชุมเฟดเดือนมิ.ย. คืนวันพุธ (ตี 1 ตามเวลาไทย) ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่กลุ่มผู้ซื้อทองคำรอคอยว่าจะเห็นแนวทางการสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดต่อไปได้อย่างไร

 

นักวิเคราะห์ทางเทคนิคของ FXStreet  คาดทองคำอาจยังผันผวนบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 100-SMA ที่สำคัญ เพื่อไปต่อ ขณะที่สัญญาณ MACD ยังคงสะท้อนขาขึ้น ยกเว้นทองคำจะปรับลงต่ำกว่า 1,787 เหรียญ




ขณะที่กลุ่มผู้รอขายกำลังรอดูราคาแนว 1,773 เหรียญ เพราะหากหลุดลงมา จะเห็นเป้าหมายทำกำไรแถวต่ำสุดเดิมของเดือนมิ.ย.บริเวณ 1,750 เหรียญ


แต่หากทองคำจะกลับเป็นขาขึ้นได้อย่างชัดเจนต้องยืนเหนือเส้น SMA สำคัญเวลานี้คือ 1,794 เหรียญ เพื่อขึ้นต่อไปที่ 1,800 เหรียญได้ ก่อนที่จะขึ้นต่อไปหาเส้น SMA-200 บริเวณ 1,844 เหรียญ ซึ่งหากไม่หลุดแนวนี้กลุ่มผู้ซื้อจะรอทำกำไรที่ระดับเป้าหมาย 1,870 เหรียญ เป็นลำดับต่อไป


อย่างไรก็ตาม ภาพรวมทองคำยังมีโอกาสจะปรับตัวขึ้นได้ แต่จำเป็นต้องมีปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่งตามมาด้วย

·         ทองคำได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อของธนาคารกลาง

รายงานจาก Mining.com เปิดเผยว่า ราคาทองคำมีแรงสนับสนุนบางส่วนจากการที่ธนาคารกลางมีการเข้าซื้อทองคำมากขึ้น ตั้งแต่ประเทสเซอร์เบียร์ ตลอดจนประเทศไทย


ธนาคารกลางเซอร์เบีย เปิดเผยว่า ภาพระยะยาวทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งการป้องกันความเสี่ยงทางการเงินต่างๆ โดยประเทศเซอร์เบียร์มีการสำรองทองคำเพิ่มสู่ระดับ 50 ตัน จาก 36.3 ตัน



ประเทศกานา ล่าสุดก็มีการประกาศแผนจะเข้าซื้อทองคำเพิ่ม จากมุมมองเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางการฟื้นตัวทางการค้าโลก

ทั้งนี้ การเข้าซื้อของธนาคารกลางต่างๆ ดูจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนราคาทองคำมากขึ้น




นักวิเคราะห์จาก HSBC Holding กล่าวว่า การฟื้นตัวทางการค้าโลก ได้ช่วยสนับสนุนยอดดุลการค้าของประเทศในแถบตลาดเกิดใหม่ และทำให้ธนาคารกลางมีการเข้าซื้อทองคำมากขึ้น  รวมทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นก็ยังเป็นตัวหนุนให้เกิดการซื้อทองคำสำหรับกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันด้วย อาทิ ประเทศคาซัคสถาน  เป็นต้น และมีแนวโน้มจะเห็นธนาคารกลางต่างๆเข้าซื้อทองคำต่อ ด้วยการกระจายพอร์ตการสำรองสินทรัพย์ และลดการสำรองดอลลาร์


นักวิเคราะห์จาก Citigroup มอง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อาจยิ่งหนุนให้ธนาคารกลางมีการเข้าซื้อทองคำเพิ่มได้มากถึง 1,000 ตัน




ทั้งนี้ Citigroup คาดว่า ในปี 2021 การเข้าซื้อของธนาคารกลางจะเพิ่มมาที่ 500 ตัน
และปี 2022 คาดจะเห็นธนาคารกลางเพิ่มการเข้าซื้อทอง 540 ตัน

แม้ว่าปีทั้งสองจะต่ำกว่าระดับ 600 ตันในปี 2018 และ 2019 แต่ก็สูงกว่าปีที่แล้ว ที่บรรดาธนาคารกลางมีการเข้าซื้อทองเพิ่มรวมกันเพียง 326.3 ตันจากรายงานของ World Gold Council

 

·         บรรดา Hedge funds ยังมองทองเป็นขาลง แต่ความเชื่อมั่นในตลาดเริ่มเปลีย่นกลับมาเป็นขาขึ้น

 รายงานจาก CFTC เผย ข้อมูลในสัปดห์ที่แล้วบรรดาผู้จัดการกองทุนรายใหญ่มีการเพิ่มสถานะ Long ในตลาด Comex สำหรับ  Gold Futures มากถึง 5,400 คู่สัญญา สู่ระดับ 115,438 คู๋สัญญาณ และมีการถือ Short เพิ่ม 6,554 คู่สัญญา สู่ระดับ 54,056 คู่สัญญา

ภาพรวมดูจะเห็นการลดการเข้าถือ Long ในตลาดทองคำลดลงหลังจากที่ปรับลงมายาวนาน 4 สัปดาห์

 

·         รายงานจาก Kitco ระบุว่า แม้นักวิเคราะห์จะมองทองคำเป็นขาลงมีโอกาสทดสอบ 1,750 เหรียญ  แต่ความเชื่อมั่นในตลาดเริ่มเปลี่ยนไปแล้ว จึงมองว่าทองคำมีโอกาสกลับทดสอบเส้น Moving Average ราย 100 วัน ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญเวลานี้บริเวณ 1,800 เหรียญ

 หัวหน้านักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์จาก Saxo Bank กล่าวว่า มุมมองขาลงของทองคำที่ลดลงดูจะส่งผลให้เสี่ยงจะเกิดสภาวะ Short Covering ในตลาด จึงแนะนำให้จับตารอดูทองบริเวณ 1,814 เหรียญ ที่อาจเห็นทองขึ้นไปถึงได้อย่างรวดเร็ว จากความไปได้ที่จะเกิดการปิดสถานะ Short ดังกล่าว

นักวิเคราะห์จาก TD Securities ระบุถึงความเป็นไปได้ที่ทองคำจะกลับมาสู่รอบขาขึ้นอีกครั้ง  แม้ปัจจัยทางเทคนิคและปัจจัยต่างๆจะยังน้อยอยู่ แต่จะเห็นได้ว่า การปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และความกังวลเกี่ยวกับ Delta Covid เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จึงเห็นทองคำมีการดีดกลับมาแถว 1,788 เหรียญ ดังนั้น จึงแนะจับตาบริเวณเส้น MA ราย 100 วันเช่นกัน

 

·         ความเชื่อมั่นในตลาดซิลเวอร์จากบรรดา Hedge Funds ก็เป็นขาขึ้นเช่นกัน และมีการปิดสถานะ Short มากขึ้นหลังจากราคายืนได้เหนือ 25.25 เหรียญ

CFTC รายงานถึงสถานการณ์การถือครองสถานะ Long ใน Comex ของ Silver Futures ว่าเพิ่มขึ้น 559 คู่สัญญา สู่ระดับ 72,624 คู่สัญญาณ ในขณะที่ฝั่ง Short ลดลง 2,763 คู่สัญญา สู่ระดับ 24,076 คู่สัญญา โดยภาพรวมตลาดเชื่อว่าซิลเวอร์มีโอกาสกลับไปแถว 26 เหรียญได้

 

·         CURRENCIES

สำหรับดัชนีดอลลาร์เช้านี้ทรงตัวที่ 92.241 จุด ภาพรวมยังทรงตัวจากช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 110.86 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 0.7541 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย

 

 

·         JPMorgan ชี้ การแข็งค่าของดอลลาร์ในเวลานี้อาจเป็นช่วง “สั้น” และการอ่อนค่าของดอลลาร์ดูจะเอื้อประโยชน์สำหรับตลาดเกิดใหม่ในแถบเอเชีย ท่ามกลางแรงกดดันจากธนาคารกลางต่างๆที่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ย

 

·         หุ้นทั่วโลกเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์วานนี้
ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ตอบรับกับกิจกรรมทางภาคธุรกิจของยุโรป และรายงานจ้างงานของสหรัฐฯ แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของสายพันธุ์ 
Delta Covid-19 ในเวลนี้ก็ตาม

 

·         กิจกรรมภาคธุรกิจยูโรโซนขยายตัวขึ้นในเดือนมิ.ย. แม้จะมีการผ่อนคลาย Lockdown

อัตราการขยายตัวของกิจกรรมภาคธุรกิจในยูโรโซนเป็นไปอย่างรวดเร็วมากสุดรอบ 15 ปี ในเดือนมิ.ย. โดย IHS เผยดัชนี PMI ขั้นสุดท้ายของยูโรโซนเพิ่มขึ้นแตะ 59.5 จุด จากระดับ 57.1 จุดในเดือนพ.ค. ซึ่งข้อมูลล่าสุดถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่มิ.ย. ปี 2006

ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ที่นำไปสู่การกลับมาใช้ชีวิตมากขึ้นในภาคอุตสาหกรรมบริการ แต่การเพิ่มขึ้นก็ดูจะเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เป็นผลจากการระบาด

 

·         OPEC+ ประสบวิกฤตด้านเจรจา - ยกเลิกเจรจาล่าสุด จากซาอุดิอาระเบียและสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังเห็นต่างเกี่ยวกับแนวทางการผลิตน้ำมัน

 

·         น้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทำสูงสุดรอบเกือบ 3 ปี หลังเจรจา OPEC+ “ไร้ข้อตกลงการผลิต” และมีการเลื่อนการเจรจาออกไป เนื่องจากยังล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงสำหรับนโยบายการผลิตในระหว่างเดือนส.ค. เป็นต้นไป


·         ทีมบริหาร “ไบเดน” ผลักดันให้เจรจา OPEC+ “ประนีประนอมต่อการในการแก้ไขปัญหาข้อแตกต่างที่เกิดขึ้น”

 

·         CORONAVIRUS UPDATE:

ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกใกล้ทะลุ 185 ล้านราย ล่าสุดมียอดรวมสะสมที่ 184.91 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกแม้จะมีอัตราชะลอตัวลงแต่ก็ทะลุ 4 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 



 

·         “นายบอริส จอห์นสัน” นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เผย อังกฤษจะเดินหน้าตามแผนการยกเลิกมาตรการเข้มงวดและการบังคับสวมหน้ากากอนามัย โดยจะเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจครั้งสุดท้าย 12 ก.ค.นี้  

ทั้งนี้ “Freedom Day” หรือ 4 ก.ย. นี้ เป็นวันสิ้นสุดแผนระยะยาวของรัฐบาลอังกฤษในการผ่อนคลายมาตรการเข้มงวด ที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนในวันที่ 19 ก.ค. หากรัฐบาลได้ทำพิจารณาพบการผ่าน 4 บททดสอบสำคัญได้ โดยเฉาพะจากข้อมูลที่ยืนยันว่า
1) โครงการฉีดวัคซีนยังประสบความสำเร็จต่อไป
2) อัตราการติดเชื้อไม่สร้างความเสี่ยงสำหรับการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยในโรงพยบาล

และทั้งหมดนี้จะถูกประเมินข้อมูลล่าสุดในวันที่ 12 ก.ค.นี้


·         แผนการฟื้นฟูสถานการณ์ Covid-19 ของประเทศออสเตรเลียยังมีความไม่แน่นอน ท่ามกลางความพยายามควบคุมการระบาดของสายพันธุ์ Delta

·         อิสราเอล เล็งเพิ่มวัคซีน Pfizer เพื่อเสริมการป้องกันการระบาดของไวรัสในเวลานี้

·         ยอดติดเชื้อไทยล่าสุดยังหนัก ศบค.พบผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้เพิ่ม 5,420 ราย เสียชีวิต 57 ราย




ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมในไทยเข้าใกล้ 300,000 ราย ล่าสุดรวมอยู่ที่ 294,653 ราย
เสียชีวิตสะสม 2,333 ราย

 


·         นักบริหารการเงิน มองแนวโน้ม เงินบาทวันนี้เปิด ‘อ่อนค่า’ ที่ 32.12 บาท/ดอลลาร์


ภาพรวมเงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าและ มีโอกาสผันผวนตามเงินดอลลาร์ จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกโดยในไทยจะกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจ คาดวันนี้เงินบาทที่ระดับ 32.05-32.20 บาท/ดอลลาร์

นอกจากนี้ สถานการณ์การระบาดในไทยยังวิกฤติอยู่ จากยอดผู้ติดเชื้อรายวันที่อยู่ในระดับสูงและยังไม่มีทีท่าจะลดลง (ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่ายอดรายงาน จากข้อจำกัดด้านการตรวจหาผู้ติเชื้อ)


ส่วนการแจกจ่ายวัคซีนก็ดูจะล่าช้าและแผนการแจกจ่ายวัคซีนอาจไม่สามารถรับมือกับการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าได้ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติสามารถทยอยขายสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะหุ้นไทย และกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้

ขณะเดียวกัน โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำ หลังราคาทองคำเริ่มรีบาวด์กลับขึ้นมาใกล้ระดับ 1,800 เหรียญ อาจเป็นอีกปัจจัยในระยะสั้นที่ช่วยหนุนแรงซื้อเงินดอลลาร์ ทำให้เงินบาทยังสามารถทรงตัวเหนือระดับ 32.00 บาท/ดอลลาร์ ในระยะนี้ได้

 

·         อ้างอิงจากอินโฟเควสท์

- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทย เผยแนวโน้มการระบาดของไวรัสสายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภาพรวมทั่วประเทศไทย พบว่าเพิ่มขึ้นจาก 16.36% มาเป็น 32.2% ขณะที่ในกรุงเทพฯ พบสายพันธุ์เดลตา คิดเป็นสัดส่วน 52% รองลงมาเป็นสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) คิดเป็นสัดส่วน 47.8% และสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (เบตา) คิดเป็นสัดส่วน 0.2%

 

- ราเมศ เผยเตรียมประชุมวิป 4 ฝ่ายใน 6 ก.ค. ประเมินสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 เวลา 10.30 น.

ซึ่งจะประกอบด้วยฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายวุฒิสภา และฝ่ายตัวแทนคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อหารือในเรื่องพิจารณาแนวทางการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด 19 ว่าจะดำเนินการประชุมต่อหรือไม่อย่างไร ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องดำเนินการประชุม จะมีมาตรการการป้องกันเพื่อความปลอดภัย อย่างไร ขณะนี้ต้องรอการพิจารณาของที่ประชุม 4 ฝ่ายก่อน ว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร

 

- กระทรวงพาณิชย์ไทย เปิดเผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนมิ.ย.64 เพิ่มขึ้น 1.25% เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อช่วงครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 0.89% ส่วนไตรมาส 3 คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.13% และไตรมาส 4 ที่ 2.37% ทำให้โดยรวมทั้งปีนี้ เงินเฟ้อยังเป็นไปตามกรอบเป้าหมายเดิมที่ 0.7 - 1.7%


- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เผยผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ "ยิ่งใช้ยิ่งได้" บนวอลเล็ต สบม.(สะสมบอนด์มั่งคั่ง) รุ่นอายุ 3 ปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท หมดภายในไม่ถึง 3 ชม. ซึ่งพบว่ามีผู้สนใจลงทุนมากถึงกว่า 11,000 ราย วงเงินซื้อเฉลี่ยต่อราย 842,176 บาท โดยผู้ลงทุนมีอายุระหว่าง 15-94 ปี ถือเป็นการปรับแนวคิดที่มีต่อพันธบัตรออมทรัพย์จากผลิตภัณฑ์เพื่อการออมเงิน เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุน และกระจายความเสี่ยงกับคนทุกกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มรายได้

 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- เปิดข้อมูลโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ รายได้ 1,200 ล้าน ผู้ถือหุ้นจดทะเบียนเกาะเวอร์จิ้

“หมิงตี้ เคมีคอล” โรงงานย่านกิ่งแก้วที่เกิดเหตุไฟไหม้สร้างความเสียหายและผลกระทบวงกว้าง เผยปี 2563 มีรายได้กว่า 1,200 ล้านบาท กำไรสุทธิ 25 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัทจดทะเบียนในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น


- เซ็นทรัลพัฒนา ทุ่ม 7.7 พันล้านบาท เข้าซื้อกิจการ SF จาก Major

 

·         อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

'กสิกรไทยชี้เทรนด์ลงทุนครึ่งปีหลัง ถึงเวลาซื้อหุ้นน้ำดี-ปันผลสูง

"บล.กสิกรไทย" ขนทัพ 35 หุ้นเด่นน่าลงทุนปี 2564 ชี้เทรนด์นักลงทุนย้ายเงินเข้าซื้อหุ้นขนาดใหญ่คุณภาพดี-ปันผลสูง พร้อมกลยุทธ์จัดพอร์ตรับมือกรณีโควิดเดลต้าระบาด

นายสรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 คาดว่าจะเห็นการย้ายกลุ่มลงทุน ได้แก่ การย้ายเข้ามาลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ จากเดิมกระจุกในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก การย้ายเข้ามาลงทุนในหุ้นคุณภาพดี จากเดิมจะเห็นการปรับขึ้นของหุ้นที่ไม่มีพื้นฐานรองรับ หรือหุ้นปั่น และสุดท้าย การย้ายกลับมาลงทุนในหุ้นปันผล




โดยคุณภาพหุ้นพิจารณาจากค่า Z-Score (Altman, 1968) ซึ่งเป็นดัชนีใช้วัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของบริษัทในภาวะวิกฤต เช่น เงินทุนหมุนเวียน มูลค่าตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) หนี้สิน ฯลฯ สำหรับหุ้นไทยที่มีคะแนนสูง ได้แก่ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องดื่ม และกลุ่มโรงพยาบาล รวมถึงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ฐานะการเงินของบริษัทมีความแข็งแกร่ง



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com