เฟดอาจเผชิญกับปัญหาด้านแรงงานท่ามกลางการต่อสู้กับเงินเฟ้อ
รายงานจาก CNBC ระบุว่า หากมุมมองของเฟดถูกต้องในเรื่องเงินเฟ้อ ก็อาจต้องพิจารณาจาก 2-3 สิ่งสำคัญในเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประชาชนกลับมามีงานทำ
การแก้ไขปัญหา "แรงงาน" ดูจะเป็นปัญหามากที่สุดสำหรับสมาชิกเฟด ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนาที่มีประชาชนเกือบ 10 ล้านคนยังว่างงาน แม้ว่าตำแหน่งการเปิดรับสมัครงานจะเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์บริเวณ 9.3 ล้านรายในเดือนเม.ย. (อ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ)
การเคลื่อนไหวของเงินเฟ้อเกิดขึ้น ท่ามกลางการใช้เวลานานขึ้นกว่าที่จะเห็นคนกลับมาทำงาน ขณะที่นายจ้างจะเผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากการปรับขึ้นเงินเดือนที่สูงขึ้น ที่กลายมาเป็นปัจจัยหนุนให้ดัชนีราคาเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงกว่าปกติในระยะยาว ซึ่งเป็นสิ่งที่เฟดพยายามที่จะหลีกเลี่ยง
สำหรับความสำคัญด้านเงินเฟ้อดูจะเป็นผลเพียงชั่วคราวจากสภาวะทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดสภาวะการเพิ่มสูงมากขึ้นเกินไป ที่อาจบังคับให้เฟดต้องใช้ "นโยบายคุมเข้ม" ทางการเงินเร็วกว่าที่คาดารณ์ อันเนื่องจากจะสร้างผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจ ที่จะมีผลต่อระดับหนี้สิน ท่ามกลางความพยายามให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นแตะ 5% เมื่อเทียบรายปีในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เร็วที่สุดตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงิน ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็นตรงกันว่าสิ่งที่ผลักดันให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวที่จะคลี่คลายลงหากสถานการณ์ฟื้นตัวยังดำเนินต่อไปและเศรษฐกิจจะกลับสู่ภาวะปกติหลังเกิดการระบาดครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
สำหรับมาตรวัดเงินเฟ้อของเฟดสาขาฟิลาเดเฟียยังบ่งชี้ถึงสภาวะ "เงินเฟ้อ" แต่ไม่มีแนวโน้มจะผันผวนมากเท่ากับกับยุคก่อน โดยข้อมูลล่าสุดของเฟดฟิลาเดเฟียชี้ เงินเฟ้อเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปีขยายตัวได้มากถึง 2.7% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดตั้งแต่เม.ย. ปี 2009 และมองว่าข้อมูล CPI นั้นยังคง "ยืดหยุ่น" หรือเป็นแนวโน้มราคาที่ค่อนข้างเคลื่อนไหวได้ดี หลังจากที่เงินเฟ้อเคยทะยานไป 12.4% เร็วที่สุดตั้งแต่ธ.ค. ปี 1980
กระแสตลาดเกี่ยวกับ "เฟด"
ตลาดต่างๆไม่คาดว่าจะเห็นเฟดดำเนินนโยบายมากนักในการประชุมวาระนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ10 ปี ปรับตัวลงนับตั้งแต่ที่ข้อมูลดัชนี CPI ออกมาร้อนแรงกว่าที่คาด แต่ตลาดก็มองว่า เฟดจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงเดือนก.ย. ปี 2022 และคาดว่าดอกเบี้ยเฟดจะแตะ 1% ในเดือนพ.ค. ปี 2026
ข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนดูจะออกมาช่วยลดกระแสเงินเฟ้อได้ เนื่องจากมีแนวโน้มลดลงจาก 4.6% มาที่ 4% ในผลสำรวจล่าสุด
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Capital Economics กล่าวว่า ความกังวลทั้งหมดในตลาดคือ "เฟดจะทำการคุมเข้มนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเร็วขึ้น" เพื่อควบคุมเงินเฟ้อหรือไม่เนื่องจากสมาชิกเฟดดูจะเริ่มกังวลว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการชะลอตัวของการฟื้นตัวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง
ที่มา: CNBC
