• นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า เฟดมีโอกาส “ขึ้นดอกเบี้ย”ปี 2023 แต่รายงาน Dot Plot อาจไม่แสดงในการประชุมวาระนี้

    15 มีนาคม 2564 | Economic News
   

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จาก Bloomberg News ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่มองไปในทิศทางเดียวกันว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจหลังจากทีเผชิญภาวะถดถอยของ Covid-19 มีแนวโน้มจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด และสมาชิกเฟดตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ในปี 2023


แต่ภาพรวม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็มองว่า รายงานคาดการณ์ของเฟดเองในการประชุมวาระที่จะถึงนี้ ก็อาจไม่ได้สะท้อนถึงโอกาสขึ้นดอกเบี้ย และน่าจะยังมองค่ากลางของสมาชิกเฟดคาดจะคงดอกเบี้ยใกล้ระดับศูนย์ต่อไป และผลคาดการณ์ก็จะยังสอดคล้องกับคาดการณ์ในเดือนธ.ค. แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะมีการหนุนวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่มูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญ จนถึงงบล่าสุด 1.9 ล้านล้านเหรียญภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ ร่วมกับโครงการฉีดวัคซีน ที่เป็นปัจจัยเสริมในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ


“การผสานแนวทาง 3 ส่วนสำคัญ”

นักเศรษฐศาสตร์จาก Point Loma Nazerene University กล่าวว่า
- เฟดกำลังพิสูจน์ถึงผลลัพธ์ที่ไม่อาจรู้ได้จาก 3 ส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ได้แก่
1) การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของสหรัฐฯ
2) ความต้องการของประชาชน
3) การใช้งานวัคซีนที่แพร่หลาย


- คณะกรรมาธิการเฟดในส่วนใหญ่ เชื่อว่าจะตัดสินใจ “คงดอกเบี้ย” ใกล้ระดับศูนย์
- สมาชิกเฟดน่าจะยังมีมติเดินหน้าเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ระดับปัจจุบัน 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือน


นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดเคยกล่าวย้ำถึงตลาดแรงงานสหรัฐฯที่ยังคงไม่สามารถโตได้ตามเป้าหมายการจ้างงานที่เฟดกำหนด และนี่ก็อาจเร็วเกินไปที่จะเห็นเฟดหารือกันถึงแนวทางการลดการสนับสนุนทางเศรษฐกิจกับการเผชิญการระบาดของไวรัสแล้ว 1 ปีเต็ม


บรรดานักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่า อาจเห็นเฟดตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ 0.25% ในปี 2023 ส่งผลให้กรอบดอกเบี้ยปี 2023 อยู่ระหว่าง 0.25 – 0.50%

นอกจากนี้ รายงานคาดการณ์ผลสำรวจของ Bloomberg ยังชี้ว่า เฟดน่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายจนถึงปี 2024 หรือหลังจากนั้น


มุมมองนักเศรษฐศาสตร์จาก Bloomberg

นายคาร์ล ริคคาดอนนา นักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg ระบุว่า
- คาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯของเฟดอาจ “มีการเปลี่ยนแปลง”
- ไม่คาดว่าเฟดจะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเรื่อง “ดอกเบี้ย” หรือ “แนวทางดำเนินนโยบายทั้งหมด”
- จำนวน Dot Plot อาจมีสัญญาณสะท้อนโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้มากขึ้น
- คาดว่าคณะกรรมาธิการเฟดจะยังคงนโยบาย และไม่พิจารณาถึงกรอบการเปลี่ยนแปลงหรือ “ถอน” การใช้นโยบายเชิงผ่อนคลายในเวลานี้


ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่อมุมมอง “FOMC Forecasts” (ข้อมูลการสำรวจเมื่อ 5-10 มี.ค.)


นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กว่า 41 รายมองว่า
คณะกรรมาธิการของเฟดอาจเปิดเผยข้อมูล “รายไตรมาส” เป็นครั้งแรกของปีนี้ โดยให้รายละเอียด
- อาจมีการปรับเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้
- อาจปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อสูงขึ้นในปี 2021
- อาจไม่ส่งสัญญาณลดการเข้าซื้อ QE
- อาจไม่กล่าวถึงการลดดอกเบี้ย


ดังนั้น จึงควรจับตาเกี่ยวกับคาดการณ์ของเฟดอย่างใกล้ชิด เพราะมีแนวโน้มจะเห็น จีดีพีสหรัฐฯอาจโตได้มากถึง 5.8% ในปี 2021 (คาดการณ์เดิมธ.ค. อยู่ที่ 4.2%)
เงินเฟ้อ มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้มากกว่าช่วงไตรมาสที่ 4/2020

อัตราว่างงานมีโอกาสปรับลงมาที่ 5.0% ในช่วงสิ้นปี (คงคาดการณ์เดียวกับธ.ค. ปีที่แล้ว)


ภาพรวมในการประชุมเฟดครั้งนี้ น่าจะยังคงดอกเบี้ยนโยบายใกล้ศูนย์จนถึงปี 2023

และคาดการณ์ส่วนใหญ่ของเฟดน่าจะสะท้อนถึงโอกาสเห็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้หลังจากนั้น

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก BBVA กล่าวว่า คาดการณ์เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ดูไม่มีแนวโน้มที่จะหารือ แต่น่าจะเห็นถึงการเมต้นหารือต่อแนวทางต่างๆเมื่อเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น และอัตราว่างงานมีโอกาสปรับตัวลดลง


อัตราผลตอบแทนพันธบัตร

การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯเมื่อเดือนที่แล้ว มาจา
1) คาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯโตได้เร็วกว่าคาด
2) ประธานเฟดและสมาชิกเฟด ส่งสัญญาณ “โอกาสการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ” มากขึ้น
3) ประธานเฟดและสมาชิกเฟด “ไม่มอง” เงินเฟ้อสร้างปัญหา

ในการประชุมเฟดวาระนี้ ไม่มีแนวโน้ม ที่เฟดจะกล่าวย้ำถึง “ความเสี่ยงของเงื่อนไขตึงตัวทางการเงิน” หรือ “ให้สัญญาณชี้นำที่แข็งแกร่ง” ต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือแม้แต่เรื่องการเข้าซื้อพันธบัตร (QE)

ทั้งนี้ สมาชิกเฟด เคยให้คำมั่นที่จะเดินหน้าซื้อพันธบัตรต่อจนกว่า “การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างยั่งยืน” ต่อเป้าหมายจ้างงาน และเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Bank of the West กล่าวว่า การประชุมเฟด น่าจะยังใช้กลยุทธ์ Wait-and-See และไม่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงถ้อยแถลงใดๆ ทั้งกรอบเวลาดอกเบี้ย หรือคาดการณ์เงินเฟ้อในการประชุมครั้งนี้


เมื่อไรที่จะเห็นเฟดลด QE

ประธานเฟดเคยกล่าวว่า เศรษฐกิจยังไม่เข้าใกล้เป้าหมายความคืบหน้าในการฟื้นตัว ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเข้าซื้อพันธบัตร และเขาอาจจะส่งสัญญษณใดๆเกี่ยวกับการลดหรือถอนมาตรการการดำเนินนโยบายเมื่อเห็นถึงทิศทางที่เป็นไปตามคาด แต่ในเวลานี้น่าจะยังไม่เกิดขึ้

BNN Bloomberg เผย ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ “ยังไม่คิดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของเฟดในระยะสั้นๆ” ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “การเปลี่ยนมาซื้อตราสารหนี้ระยะยาว

แต่ก็มีแนวโน้มมากขึ้นเล็กน้อยที่อาจเห็นการเลือกเข้าซื้อพันธบัตรแบบผสมผสานทั้งพันธบัตรและตราสารหนี้แบบ MBS หรือการจำกัดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เรียกกันว่า Yield-Curve Control


นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด มีกำหนดการจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนก.พ. ปีหน้า (ปี 2023) และแนวทางการดำเนินนโยบายผ่อนคลายของเขา อาจทำให้เขาได้รับ “ชัยชนะ” ในการรับเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานเฟดสมัยที่ 2 ได้

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์กว่า 3 ใน 4 ยังเชื่อว่า เขาน่าจะได้รับเลือกการดำรงตำแหน่งอีกสมัย และจะเดินหน้าใช้แนวทางการดำเนินนโยบายเหมือนในปัจจุบัน


ที่มา: BNN Bloomberg


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com