สถาบัน CSIS เผยมุมมองนักวิเคราะห์ว่า การที่สหรัฐฯเข้าร่วมกับชาติเอเชียในการจัดการอาจเป็นบทพิสูจน์แห่งความท้าทาย โดยที่สหรัฐฯจะไม่ต้องสร้างแรงกดดันใครแต่เพียงผู้เดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ, แคนาดา หรือแม้แต่ออสเตรเลีย เป็นต้น ก็น่าจะเข้าร่วมกับสหรัฐฯด้วยการใช้วิธี “คว่ำบาตร” กองทัพทหารในประเทศพม่า
แต่การตอบโต้ของภูมิภาคเอเชีย อาจเป็นเพียงการกดดันด้วย “การวิจารณ์” ซึ่งจะสร้างความยากลำบากมากขึ้นให้แก่สหรัฐฯ เนื่องด้วยนักลงทุนส่วนใหญ่ในประเทศมาจากพม่า เช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์
โดยทั่วไปประเทศเพื่อนบ้านของพม่าก็ดูจะให้ถ้อยแถลงไปในเชิงเดียวกันด้วยการใช้วิธีทางการทูต เมื่อเทียบกับชาติตะวันตกที่ดูจะวิจารณ์การกระทำดังกล่าวอย่างหนัก รวมไปถึงสหประชาชาติ (UN)
.png)
ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ แสดงความเป็นกังวลต่อสถานการณ์ในพม่า โดยทางญี่ปุ่น ระบุถึงการคัดค้านการกระทำใดๆที่ขัดต่อประชาธิปไตยในพม่า
ขณะที่ไทยและกัมพูชา กล่าวว่าเป็นเรื่องภายใน แต่เพื่อนบ้านบางประเทศของพม่าก็มีอำนาจทางการทหารและอาจเข้าขวางการดำเนินการดังกล่าวของพม่าได้ ทางด้านประเทศไทยจะเห็นได้ว่ารัฐบาลก็ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพทหาร จึงน่าจะไม่ต้องการแทรกแซงเรื่องดังกล่าว
จีนมีการกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีกับพม่า และหวังที่จะเห็นถึงการจัดการภายใต้รัฐธรรมนูญและกรอบของกฎหมาย รวมทั้งการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและทางสังคม
สำหรับจีนเองนักลงทุนส่วนใหญ่ก็มาจากประเทศพม่า ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย มองว่า เร็วๆนี้จีนน่าจะเริ่มผูกสัมพันธ์ทางทหารกับพม่า ซึ่งทั้งพม่าและจีนเองก็ถือเป็นประเทศที่มีนักลงทุนรายใหญ่ ดังนั้น ข้อเท็จจริงนี้จึงจะทำให้ท่าทีคว่ำบาตรของสหรัฐฯไม่แข็งกร้าวมากนัก
อย่างไรก็ดี นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน น่าจะมีท่าทีระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นและจับตากองทัพพม่าอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางนานาประเทศที่มีท่าทีแข็งกร้าวต่อการทำรัฐประหารของพม่าเวลานี้
"ทางเลือกของไบเดน"

บรรดานักวิเคราะห์มองว่า การคว่ำบาตรของนายไบเดนอาจเกิดขึ้นอย่างจำกัด
นักวิเคราะห์ของ CSIS ผู้นำทัพพม่าหลายคนถูกคว่ำบาตรอยู่ก่อนแล้วจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮิงญา
ทั้งนี้ สหรัฐฯอาจขยายรายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ แต่ไม่มีแนวโน้มจะเกิดผลกระทบในแบบทันทีทันใดต่อผู้นำเหล่าทัพทั้งหลาย และน่าจะมีบางส่วนที่โดนพุ่งเป้าแบนด้านการเดินทางหรือทำธุรกิจใดๆในสหรัฐฯ
กลุ่มนักวิเคราะห์ กล่าวว่า บริษัทสัญชาติอเมริกันโดยส่วนใหญ่มักมีความเกี่ยวข้องระดับปานกลางกับเศรษฐกิจในประเทศพม่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่ภาคบริการตลาดในประเทศพม่า ดังนั้น การถอนตัวออกจากประเทศพม่าอาจจะกระทบต่อกลุ่มพลเมืองของประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องในทางกาาเมือง
อย่างไรก็ตาม วิกฤตในพม่าที่เกิดขึ้นอาจเป็นการสร้างโอกาสที่ดีแก่สหรัฐฯในการเป็นผู้นำนานาชาติในการลงโทษการก่อรัฐประหารและต่อต้านความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในพม่า
ที่มา: CNBC