• แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ "ไบเดน" 1.9 ล้านล้านเหรียญอาจมากเกินไป และให้ผลกระทบมากกว่า ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ

    25 มกราคม 2564 | Economic News
    

ข้อเสนอแพ็คเกจเยียวยา Covid-19 ของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ณ ขณะนี้ ยังเป็นสิ่งที่สมาชิกรีพับลิกันส่วนใหญ่ไม่ต้องการและมองว่าเศรษฐกิจไม่ได้มีความจำเป็นกับวงเงินจำนวนมากขนาดนั้น


ทั้งนี้ แผนดังกล่าว ประกอบไปด้วย

- การจ่ายเช็คโดยตรงแก่ประชาชนสหรัฐฯนับล้านราย

- สนับสนุนสวัสดิการคนว่างงาน

- การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ

- การช่วยเหลือรัฐและหน่วยงานท้องถิ่น

- การใช้เงินสำหรับวัคซีน Covid-19 และการตรวจหาเชื้อ

- มาตรการอื่นๆ


ทั้งนี้ สมาชิกรีพับลิกันส่วนใหญ่ยังค้านแผนการดังกล่าว โดยเฉพาะวงเงิน 3.5 แสนล้านเหรียญ ที่มองว่าเป็นเงินช่วยเหลือสำหรับภาครัฐบาลท้องถิ่นนั้นยังจัดการได้ไม่ดี แต่อันที่จริงแล้ว ภาพรวมดูเหมือนปัญหาจะเป็นไปในเชิงลึกกว่านั้น


นายจิม พอลเซน หัวหน้าฝ่ายการลงทุนจาก Leuthold Group มองว่า การลงทุนในตลาดหุ้นอาจได้รับผลกระทบระยะยาวจากการดำเนินนโยบายของนายไบเดน แม้ว่าจะมีมุมมองเชิงบวกอย่างมากต่อเศษฐกิจและตลาดการเงิน แต่สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือ การอัดฉีดเม็เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อเนื่องในระยะยาวที่จะกลายมาเป็นผลเชิงลบ และนำมาซึ่งการปรับตัวลงของตลาดหุ้น


ความกังวลครั้งนี้มาจาก การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากเกินไป และผลที่ตามมาจะยิ่งก่อให้ เงินเฟ้อขยายตัวอย่างรวดเร็วและ “ไม่สามารถควบคุมได้” จึงจะกลายเป็ฯความกังวลในการรับมือต่อไป นับตั้งแต่ที่เคยหานโยบายทางการเงินมารับมือกับวิกฤตทางการเงินเมื่อปี 2008


แต่สถานการณ์ในเวลานี้แตกต่างกันและปัญหาก็ดูจะน้อยลงยิ่งกว่า เพราะผลเสียที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่เป็นผลในวันนี้


แต่หากเงินเฟ้อมีความร้อนแรงมากเกินไป ก็อาจเห็น “การคุมเข้มทางการเงินเร็วยิ่งขึ้น”


นอกจากนี้ จะสูญเสียความเชื่อมั่นทางการเงินของรัฐบาลภายในประเทศจาก “ระดับหนี้สินที่สูงขึ้น” และใกล้แตะ 28 ล้านล้านเหรียญ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะโดยรวมกับจีดีพีก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น


สิ่งที่จะตามมาต่อจากนั้น คือ “ภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นอีกครั้งอย่างรวดเร็ว” ที่ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในปีนี้ แต่อาจลุกลามไปถึงปี 2022 – 2023 และหากไม่สามารถยุติความเสียหายในเวลานี้ไว้ได้ ก็จะส่งผลให้ทุกวันนี้โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบเชิงลบทั้งหมด


เศรษฐกิจสหรัฐฯยังไม่สามารถแบกรับทั้งหมดได้จนกว่าจะค่อยๆรักษาสภาวะผันผวนที่เกิดขึ้นโดยมากได้


ภาพรวมค่าใช้จ่ายต่างๆจำเป็นต้องถูกำกำหนดด้วยผลกระทบของทุกสิ่งที่เกิดขึ้น โดยในช่วงเดือนธ.ค. จะเห็นได้ว่าแรงงานในโรงพยาบาลต่างๆกว่า 500,000 ตำแหน่งต้องตกงาน และอีกเกือบ 16 ล้านคนต้องลงทะเบียนขอรับสวัสดิการคนว่างงาน แต่ถึงแม้ตัวเลขจะมีการลดลงไปอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งหมดก็ยังต้องการ “ความช่วยเหลือ”


อย่างไรก็ตาม ในทุกพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศที่เหลือก็ได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน


ในส่วนของภาคครัวเรือนสหรัฐฯ ก็ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหญ่กว่า 2 รอบ ด้วยมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านเหรียญ ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายการเงินของเฟด รวมทั้งการที่เฟดใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำ ประกอบกับการเข้าซื้อพันธบัตรด้วยวงเงินนับล้านล้านเหรียญ ซึ่งโครงการกู้ยืมต่างๆของเฟดมีขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเติบโตได้ดีก่อนช่วง Covid-19 ระบาด ซึ่งปัจจุบันเฟดมีการเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งสิ้นเกือบ 1.5 ล้านล้านเหรียญต่อปี


จำนวน 2 ใน 3 สิ่งที่เห็นได้ชัดในเวลานี้:

- การฝากเงินของภาคธนาคารที่เพิ่มขึ้นเกือบ 16.2 ล้านล้านเหรียญ คิดเป็น +21.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่มียอดรับฝากเงินในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

- การฝากเงินทั้งหมดในปัจจุบันอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านเหรียญ ซึ่ง BofA มองว่าแนวโน้มของการออมเงินมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นราว 1.6 ล้านล้านเหรียญในเดือนม.ค. ท่ามกลางเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯภายใต้แพ็คกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านเหรียญที่ผ่านความเห็นชอบจากทางสภาคองเกรส

- ค่าใช้จ่ายต่างๆที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการใช้บัตรเดบิต และเครดิตการ์ดที่เพิ่มขึ้นกว่า 22% เมื่อเทียบรายปี


หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Pantheon Macroeconomics กล่าวว่า ภาคครัวเรือนไม่เคยมีเงินสดจำนวนมากเท่าปัจจุบันนี้ และผลจากการแก่งแย่งด้านการกักตุน ก็ได้ส่งผลให้ประชาชนมีการใช้จ่ายมากขึ้นและคาดว่าอาจเห็นคนใช้เงินมากขึ้นหากความกังวลเรื่อง Covid-19 หายไป


ภาพรวมเงินเฟ้ออาจขยายตัวได้อย่างรวดเร็วก่อนจบปีนี้ และจะทำให้เฟดต้องกลับมาคิดถึงการผ่อนคลายทางการเงินพิเศษใหม่ ที่อาจเห็นการกลับมาเริ่มวัฎจักรคุมเข้มทางการเงินได้มากกว่าที่ตลาดคิดไว้


ไวรัสโคโรนาคือ “ปัจจัยสำคัญ” สำหรับทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น


นายไบเดนดูจะผลักดันให้มีวัคซีนจำนวน 100 ล้านโดสให้ได้ภายในระยะเวลา 100 วัน และในเวลาเดียวกัน ก็น่าจะต้องมีการใช้เงินนับล้านล้านเหรียญเพื่อให้ประเทศได้รับสิ่งนั้น แม้ว่าอาจจะไม่จำเป็นก็ตาม


อย่างไรก็ดี สิ่งที่เศรษฐกิจต้องการจริงๆในเวลานี้ ไม่ใช่เพียงแค่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม แต่เป็นสิ่งที่จะป้องกันหรือรู้สึกว่าสร้างความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นได้ด้วย นั่นคือ “การที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องได้รับวัคซีน” และนี่เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องทำให้เกิดการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยการอัดฉีดทางการเงิน


แต่ทั้งหมดนี้ ก็อาจช่วยสิ้นสุดผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยมากแก่ประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้นได้ และจะเห็นจุดเริ่มต้นทั้งหมดในปี 2009 (ช่วงวิกฤตทางการเงิน) ที่ทำให้เกิดการใช้กลยุทธ์ใหม่สำหรับด้านเงินสด และผลักดันมันกลับเข้าไป และสิ่งที่ตามมาก็คือ “สถานการณ์ต่างๆก็แย่ลงตามมาเรื่อยๆ นั่นเอง”



ที่มา: CNBC


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com