• แนวโน้มการลงทุนปี 2021: ปีที่อาจจบวิกฤต Covid-19

    8 มกราคม 2564 | Economic News
   

แนวโน้มการลงทุนปี 2021: ปีที่อาจจบวิกฤต Covid-19

 

รายงานจาก Lombradodier กล่าวว่า รายงานประจำปี 2021 จะเป็นการเริ่มปีที่จะมีการสิ้นสุดวิกฤตไวรัส Covid-19 ซึ่งขณะนี้ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าตั้งแต่ช่วงกลางปี 2021 อาจจะสามารถควบคุมการระบาดของ Covid-19 ได้

 

หนึ่งบทเรียนสำคัญในเดือนที่ผ่านมาจากการถอนมาตรการ Lockdown คือ "ทิศทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างรวดเร็ว" โดยจะเห็นได้ชัดในช่วง Q3/2020 เช่น ประเทศจีน และประเทศอื่นๆในแถบเอเชีย

 

และค่อนข้างแน่ชัดในเรื่องที่ว่าก่อนวัคซีนจะพัฒนาสมบูรณ์ การระบาดของไวรัสก็ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก และไวรััส Covid-19 ก็สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2020 และจะเป็นการดีกว่าเมื่อใช้มาตรการที่จำเป็นต่อสู้กับไวรัส และการระบาดที่เพิ่มก็จำเป็นต้องใช้มาตรการเพิ่มเช่นกัน

 

อย่างไรก็ดี ยังคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะยังมีแรงกดดันบางส่วนในช่วงไตรมาสที่ 4/2020 และไตรมาสแรกของปี 2021

 

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน แนวทางการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และวัคซีนนั้นใช้ได้เป็นวงกว้างจะสะท้อนว่า "เศรษฐกิจจะเกิดการฟื้นตัวจากผลผลิตที่สูญเสียไปในช่วง Shutdown และภาวะขาลงเชิงลึกในปี 2020" ขณะที่มาตรการต่างๆที่ประกาศออกมาให้แก่ประชาชนทั่วโลก ก็ดูจะส่งผลให้เกิดการเร่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจพลิกกลับมาได้อย่างรวดเร็วในช่วงฤดูใบไม้ผลิและช่วงฤดูร้อนจากนี้

 

การผ่อนคลายเงื่อนไขทางการเงิน และการใช้จ่ายของผู้บริโภค จะช่วยหนุนให้เกิดการลดการออมลงซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อาจจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะเร่งให้เกิดการฟื้นตัวได้ และทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจกลับมาโตได้ก่อนช่วงเกิดวิกฤตการระบาดของไวรัส ประมาณครึ่งหลังของปี 2021 ขณะที่ฝั่งยุโรปมีแนวโน้มจะต้องรอการฟื้นตัวไปจนถึงช่วงต้นปี 2022

 

Lombardodier คาดการณ์ว่า

เศรษฐกิจสหรัฐฯจะกลับมาโตได้ช่วงก่อนวิกฤต Covid-19 ประมาณครึ่งหลังของปี 2021

 

เศรษฐกิจยุโรปจะกลับมาโตได้ช่วงก่อนวิกฤต Covid-19 ประมาณต้นปี 2022

 

การค้าโลกมีโอกาสรีบาวน์

 

หากวัคซีนไม่สามารถยับยั้งการระบาดได้จริง "ภาวะเสี่ยงขาลง" จะกลับมากระทบอีกครั้ง

 

ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถือเป็นตัวที่จะมาช่วยกระตุ้นการปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อ แต่อาจเป็นการปรับขึ้นเพียงระดับปานกลางเท่านั้น

ความแข็งแกร่งของกลุ่มผู้บริโภคและภาวะอุปทานที่ลดลง อาจยิ่งเป็นตัวเพิ่มดัชนีราคา แต่ช่องว่างขนาดใหญ่ของผลผลิต และการปราศจากตลาดแรงงาน รวมทั้งอุปสงค์ในกลุ่มสินเชื่อภาคเอกชน อาจหมายถึงกระบวนการที่จะกลับสู่ภาวะปกติ และไม่มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางต่างๆในโลกจะเลือกดำเนินการแทรกแซง

 

การเปลี่ยนแปลงกรอบการดำเนินนโยบายการเงินเมื่อไม่นานมานี้ อันหมายรวมถึงเรื่องเป้าหมายค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อ (AIT) ก็อาจจะทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งยังเลือกคงดอกเบี้ยไว้ใกล้ระดับศูนย์ ท่ามกลางอัตราว่างงานที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อ

 

ความสำคัญที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไปคือ "การฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง" ต้องมาดูว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใดเมื่อบางประเทศและภาคอุตสาหกรรมบางรายขยายตัวได้เร็วมากขึ้น กิจกรรมต่างๆที่ยังจะคงไม่สดใสในกลุ่ม บริการด้านอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย และการท่องเที่ยว เพราะจะฟื้นตัวได้ต้องได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากการที่อัตราว่างงานปรับตัวลดลง และภาคส่วนต่างๆเหล่านี้ก็เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ  ที่จะโตขึ้นพร้อมๆกับเสื้อผ้า และเครื่องประดับอื่นๆ รวมไปถึงการซื้อขายในหมวดร้านชำ ซึ่งคิดว่าในส่วนต่างๆเหล่านี้จะยังเผชิญกับความท้าทายในระยะยาว

 

ที่มา: LOMBARDODIER

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com