· เยนถูกกดดันจากความหวังวัคซีนหนุน "สินทรัพย์เสี่ยง"
ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์ หลังความต้องการค่าเงินที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยลดน้อยลง จากความคืบหน้าในการทดลองวัคซีน ที่เพิ่มแนวโน้มเชิงบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก
ค่าเงินเยนอ่อนค่า 105.07 เยน/ดอลลาร์ โดยอ่อนค่าหนักตั้งแต่เมื่อคืนโดยไปทำอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่เดือนมี.ค.
ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1819 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ปิด -0.4% เมื่อคืนนี้
โอกาสที่นายไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯจะผลักดันนโยบาย ดูจะช่วยหนุนความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยง และหลายๆฝ่ายเชื่อว่าอาจช่วยหนุนความสัมพันธ์การค้ากับนานาประเทศได้ รวมถึงการดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างง่าย
ดอลลาร์ทรงตัวที่ 92.75 จุด หลชังจากที่เมื่อวานไปทำอ่อนค่ามากสุดรอบ 10 สัปดาห์ที่ 92.12 จุด
· รายงาน ระบุว่า วัคซีน Covid-19 อาจส่งผลให้ร้านค้าของชำชะลอการขยายตัว จากที่ได้รับอานิสงส์จากการปิดทำการของร้านอาหารต่างๆ
· วัคซีนช่วยหนุนแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างมาก
โดยการเกิดวัคซีนดูจะยิ่งเพิ่มความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะโตได้อย่างแข็งแกร่ง
หัวหน้านักกลยุทธ์ด้านการลงทุนจาก Leuthold Group กล่าวว่า ข่าวการมีวัคซีนถือเป็นข่าวใหญ่ที่จะสะท้อนถึงความพร้อมในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่การปราศจากนโยบายที่เกื้อหนุน ประกอบกับการใช้เวลาการผลิตวัคซีนที่ค่อนข้างานเป็นปีหรือนานกว่านั้น ก็อาจกระทบต่อการเติบโตได้
ทั้งนี้ เป็นที่ทราบดีว่า "วัคซีน" เพียงอย่างเดียวไม่ช่วยอะไร แต่การที่จะมี "มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่นั้น" ดูจะช่วยหนุนทิศทางเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้มากกว่า
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก TS Lombard กล่าวว่า การมีวัคซีนจะส่งผลให้เฟดเริ่มคิดถึงเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี เขาไม่คิดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มใหญ่ใดๆกับนโยบายเฟดไปอย่างน้อยถึงปี 2022 แต่คาดว่าน่าจะเห็นการค่อยๆฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเฟดทยอยถอนมาตรการออกเมื่อเล็งเห็นว่าตลาดแรงงานมีความตึงตัว ขณะที่แนวโน้มทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งควบคู่ไป
ดังนั้น ไม่คิดว่าช่วง Q4/2020 หรือ Q1/2021 จะเห็นแนวโน้มเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป จนกว่าจะเห็นการกลับมารวมกลุ่มกันของเพื่อนฝูงตามสถานที่ต่างๆ ที่คาดว่าอาจจะเริ่มเห็นเหตุการณ์นี้ได้ประมาณช่วงเดือนมิ.ย. และหากเป็นเช่นนั้นก็น่าจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจโลกเติบโตได้อย่างมาก เพราะเป็นตัวชี้วัดถึงความเสียหายที่ลดน้อยลงไปมากกว่าคาด
· Pfizer, BioNTech เผยผลทดสอบวัคซีนมีประสิทธิภาพ แต่บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังเตือนให้ระวัง
บรรดานักเศรษฐศาสตร์หลายรายยังคงกล่าวเตือนให้ระมัดระวังต่อผลการทดสอบวัคซีน Covid-19 ขั้นต้นจากบริษัท Pfizer และ BioNTech ที่กล่าวอ้างถึงประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ เพราะอีกหลายๆคำถามก็ยังไม่มีคำตอบใดๆจากบริษัทยาดังกล่าว
โดยเมื่อวานนี้ บริษัท Pfizer มีการเปิดเผยผลทดสอบวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 90% ที่สามารถยับยั้ง Covid-19 ได้จากกลุ่มผู้ทดสอบกลุ่มแรกจำนวน 94 ราย ที่มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
รองประธานอาวุโสจาก Pfizer กล่าวว่า ความคืบหน้าของผลการทดสบอวัคซีนมีกาปรับปรับเปลี่ยนแผนการศึกษาหลังจากที่มีการหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางสหรัฐฯ และในที่สุดก็ได้ผลการทดสอบ 94 รายดังกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา กล่าวว่า ถึงแม้จะดูเป็นผลที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นได้ แต่หากคุณเห็นตัวเลขที่เพิ่มมากกว่านี้เป็น 3 เท่าตัวก็น่าจะได้ข้อแตกต่างที่เพิ่มมากขึ้นครั้งใหม่ และ ดูมีแนวโน้มจะเป็นจริงมากกว่านี้
สำหรับรายอื่นๆที่ยังคงแนะนำให้ระมัดระวังต่อหลายๆคำถามที่ยังมีความสงสัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ
- วัคซีนสามารถบรรเทาอาการที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วยได้หรือไม่?
- วัคซีนจะสามารถป้องกันอาการที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนได้หรือไม่?
- วัคซีนสามารถใช้ได้ผลกับผู้สูงอายุอย่างไร?
แต่ทางบริษัทก็ดูจะยังไม่ให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยใดๆในเวลานี้จนกว่าจะถึงช่วงปลายเดือนนี้ และทาง Pfizer และ BioNTech เองก็ไม่ได้ส่งข้อมูลให้นักวิทยาศาสตร์ที่อื่นๆได้ร่วมตรวจสอบ ซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดคุณภาพผลลัพธ์ของวัคซีนได้
· ไบเดน ระบุว่า "วัคซีนจะได้รับการอนุมัติ" ต้องผ่านการเห็นชอบจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของตัวยา และกล่าวเตือนถึงการที่สหรัฐฯจะเผชิญกับช่วงเวลาที่เลวร้ายมากขึ้นในฤดูหนาวนี้ หากวัคซีนยังไม่สามารถใช้งานได้อีกหลายเดือน
· องค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) แสดงความชัดเจนว่า ตัวยาของ "Eli Lilly" จะถูกใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น ท่ามกลางยอดติดเชื้อในสหรัฐฯที่พุ่งทะลุ 10 ล้านราย
· รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของสเปนเผย "สเปนจะเป็นผู้ใช้วัคซีน Pfizer รายแรกในช่วงต้นปี 2021 ซึ่งทางสเปนจะได้รับวัคซีนจำนวน 20 ล้านโดสและเพียงพอต่อประชากรจำนวน 10 ล้านราย
· ไบเดนจะทำการพิจารณาใช้กฎหมายสนับสนุนพลังงานทดแทน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียน และประเด็นนี้อาจได้รับการเห็นชอบจากทั้้งสองพรรค
· ทีมบริหารของนายไบเดน พิจารณาที่จะดำเนินการตามกฎหมายหากเกิดการเลื่อนการถ่ายโอนอำนาจให้แก่นายไบเดน ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
· อดีตผอ.ไอเอ็มเอฟจากจีน ระบุว่า ทีมบริหาร “ไบเดน” อาจเผชิญกับกับจีนใน 2 สิ่ง
อดีตเจ้าหน้าที่ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟด้านการจัดการจีน ประเทศสหรัฐฯภายใต้การบริหารของนายทรัมป์ อาจต้องมีการร่วมมือกับจีนในด้านสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ แม้ว่าทั้งสองประเทศจะยังมีปัญหาระหว่างกัน
โดยทั้งสองฝ่ายน่าจะมีการเผชิญหน้ากัน และหวังว่าจะเห็นการเตรียมตัวที่ดีสำหรับการเจรจาเพื่อจัดการกับข้อแตกต่างทางด้านพื้นที่ระหว่างกันได้ โดยเฉพาะอาจรวมถึงเรื่องเศรษฐกิจและการค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์ระหว่างสองประเทศที่ย่ำแย่ลงในยุคที่นายทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯจะกลับมาดีขึ้น
แต่ทีมบริหารของนายไบเดนน่าจะมีการใช้ข้อแตกต่างระหว่างกัน รวมทั้งกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดำเนินการกับจีน เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินการร่วมกัน
แต่ทีมบริหารของนายไบเดนน่าจะมีการใช้ข้อแตกต่างระหว่างกัน รวมทั้งกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดำเนินการกับจีน
· ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ชี้ ไบเดน มีแนวโน้มจะตรึงสัมพันธ์ที่ดีกับอินเดียต่อ
· สหรัฐฯ-อินเดีย ในยุค "ทรัมป์"
ภายใต้ทีมบริหารของนายทรัมป์ จะเห็นว่ามีผลลัพธ์ทางด้านความสัมพันธ์กับอินเดียที่ค่อนข้างหลากหลาย
ทั้ง ประเด็นการค้า และความตึงเครียด โดยปีที่แล้วหลังจากที่สหรัฐฯมีการถอนอินเดียออกจากโปรแกรมข้อตกลงระยะยาวสำหรับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อส่งออกหลายๆสินค้าโไปยังสหรัฐฯ ส่งผลให้อินเดียมีการเรียกเก็บภาษีสหรัฐฯเป็นการตอบโต้
แต่ในแง่ทางการทหาร สหรัฐฯ-อินเดีย ค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น จากการที่อินเดียมีความตึงเครียดกับจีนเพิ่มมากขึ้น โดยในเดือนที่แล้วสหรัฐฯก็มีการอนุญาตให้อินเดียสามารถเข้าถึงข้อมูลดาวเทีมของสหรํฐฯเพื่อกำหนดเป้าขีปนาวุธ และทางทหารต่างๆ
ส่วน นายไบเดน ดูจะมีสัมพันธ์กับอินเดียที่ยาวนานมาตั้งแต่ทีมบริหารของนายโอามา ซึ่งในวันนี้อาจจะแตกต่างไปจากยุคของนายโอบามาเพราะน่าจะได้รับการต้อนรับที่ยิ่งใหญ่จากอินเดีย
เพราะการสหรัฐฯมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับอินเดียจะเป็นตัวจัดการจีนได้อย่างดี และลดการคุกคามบริเวณเทือกเขาหิมาลัย
· ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเงิน 1.2 แสนล้านหยวนมุ่งรักษาสภาพคล่อง
ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเงินสด 1.2 แสนล้านหยวน (1.821 หมื่นล้านเหรียญ) เข้าสู่ระบบธนาคารผ่านทางข้อตกลง reverse repos ในวันนี้ประเภทอายุ 7 วัน ที่อัตราดอกเบี้ย 2.2% โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาสภาพคล่องในระบบให้เพียงพอ
ทั้งนี้ ฃการดำเนินการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะรักษาสภาพคล่องในระบบธนาคารให้เพียงพอและอยู่ในระดับที่เหมาะสม
· เงินเฟ้อจีนลดลงจากราคาเนื้อหมูที่พุ่งสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้ผลิตจีนปรับตัวลงกว่าที่คาดในเดือนนี้ เพราะได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์พลังงานที่เบาบาง แม้ว่าข้อมูลการค้าและภาคการผลิตของจีนจะฟื้นตัวได้จากจำนวนยอดติดเชื้อ Covid-19 ภายในประเทศที่ลดน้อยลง
โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี เนื่องจากราคาเนื้อหมูพุ่งสูงขึ้นในช่วงครึ่งปี ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนเนื้อสัตว์
ด้านดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนสินค้าที่หน้าประตูโรงงาน ปรับตัวลง 2.1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นอัตราการปรับตัวลงในระดับเดียวกับเดือนก.ย.
· รายงานผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใหม่ 40 ล้านคนในปีนี้ ท่ามกลางการระบาดไวรัสโคโรนา
Google, Temasek Holdings และ Bain & Company เปิดเผยว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการใช้บริการระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น เช่น อีคอมเมิร์ซ การจัดส่งอาหาร และการชำระเงินออนไลน์ เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกจำนวนมากถึง 40 ล้านรายในปีนี้ ใน 6 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และไทย ซึ่งส่งผลให้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดในอาเซียนเพิ่มขึ้นแตะ 400 ล้านราย โดยผู้ใช้งานใหม่จำนวนมากมาจากพื้นที่นอกเขตเมืองในมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
· น้ำมันดิบปรับลดลงจากการ Lockdown รอบใหม่ ลดความหวังของวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา
ราคาน้ำมันร่วงลงเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการเชื้อเพลิงในระยะสั้นในยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาและสหรัฐฯ หลังจากที่เกิดกระแสในชั่วข้ามคืนจากข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา
โดยน้ำมันดิบ WTI ลดลง 55 เซนต์ หรือประมาณ 1.4% ที่ระดับ 39.74 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ น้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 44 เซนต์ หรือ 1% ที่ระดับ 41.96 เหรียญ/บาร์เรล
ทั้งนี้ น้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิด ปรับขึ้น 8% ในเมื่อวาน เพิ่มขึ้นรายวันมากที่ลุดในรอบ 5 เดือน หลังจากบริษัท Pfizer กล่าวว่า วัคซีนที่บริษัทได้พัฒนาร่วมกับบริษัท BioNTech จากเยอรมันนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า 90% ในการป้องกันไวรัสโคโรนาได้