• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 22 กันยายน 2563

    22 กันยายน 2563 | Gold News

ราคาทองคำปรับลงกว่า 3% จากดอลลาร์แข็ง กังวลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และซิลเวอร์ร่วง

· ราคาทองคำปรับตัวลงไปกว่า 3% ทำระดับต่ำสุดรอบกว่า 1 เดือนแถว 1,882 เหรียญ โดยตลาดทองคำเผชิญแรงขายทำกำไรจากความไม่แน่นอนเรื่องการเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ประกอบกับการแข็งค่าของดอลลาร์

นอกจากนี้ ราคาซิลเวอร์ทรุดตัวกว่า -8.3% ที่ 24.53 เหรียญ ทำต่ำสุดในรอบกว่า 1 เดือน

· ราคทองคำตลาดโลกปรับลง -2.1% ที่ 1,909.05 เหรียญ โดยระหว่างวันปรับลงมากกว่า 3.4% ทำต่ำสุดตั้งแต่ 12 ส.ค.

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด -2.6% ที่ 1,910.6 เหรียญ

· กองทุนทองคำ SPDR เข้าซื้อทองคำในระดับรายวันที่มากที่สุดกว่า 31.84 ตันเมื่อวานนี้ ทำให้ปัจจุบันมีการถือครองทองคำมากขึ้นมาที่ 1,278.82 ตัน จากเดิมเมื่อวันศุกร์ถือครองที่ 1,246.98 ตัน

· นักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดจาก RJO Futures กล่าวว่า ราคาทองคำควรปรับตัวขึ้นได้ในฐานะ Safe-Haven แต่ก็เผชิญแรงเทขายเข้ามาในตลาดก่อน เช่นเดียวกับตลาดหุ้นที่เผชิญภาวะเทขาย ในขณะที่นักลงทุนถือดอลลาร์ในฐานะ Safe-Havenมากขึ้น ทั้งหมดนี้จึงกดดันทองคำให้ปรับตัวลฝ

· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 7 สัปดาห์ ท่ามกลางดอลลาร์ ระหว่างวันปรับขึ้นได้กว่า 0.8% ถือเป็นอัตราการแข็งค่ารายวันที่มากที่สุดตั้งแต่ 19 มี.ค.

· หัวหน้าฝ่ายการซื้อขายสินค้าอนุพันธ์จาก BMO มองว่า โอกาสที่สภาคองเกรสจะบรรลุข้อตกลงใดๆ ได้ก่อนม.ค. นี้มีโอกาสแทบจะเป็นศูนย์ และถึงแม้ทองคำจะปิดได้เหนือ 1,900 เหรียญ แต่ระยะสั้นๆก็มีโอกาสที่ราคาทองคำจะกลับทดสอบจุดต่ำสุดที่เคยปรับฐานไว้บริเวณ 1,863 เหรียญภายในเร็วๆนี้

· ราคาทองคำปรับตัวลงมาแล้วเกือบ 10% จากที่ทำ All-Time High ในข่วงต้นเดือนส.ค. จากความหวังเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการเศรษฐกิจที่ลดลง

· สภาคองเกรสยังไม่สามารถตกลงกันได้สำหรับมาตรการช่วยเหลือรอบใหม่ หรือครั้งที่ 5 หลังจากที่มีการอัดฉีดมาตรการที่ผ่านมาทั้งหมดไปแล้วประมาณ 3 ล้านล้านเหรียญ

· นักวิเคราะห์จาก ED&F Man กล่าวว่า ทองคำถูกกดดันจากโอกาสเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลดลง

· นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงเฟดต่อคณะกรรมาธิการสภาคองเกรส และถ้อยแถลงสมาชิกเฟดในสัปดาห์นี้

· ราคาแพลทินัมปิด -5.2% ที่ 879.48 เหรียญ โดยระหว่างวันร่วงลงมากถึง 8% และพลาเดียมปิด -3.9% ที่ 2,265.10 เหรียญ

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกใกล้ 31.5 ล้าน โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.47 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่า 968,865 ราย ขณะที่สหรัฐฯทะลุ 7.04 ล้านราย ด้านอินเดียยอดติดเชื้อรายวันยังพุ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกแม้จะชะลอลงบ้างแต่ล่าสุดก็ยังเพิ่ม 74,493 ราย สู่ระดับ 5.56 ล้านราย

· ยุโรปมีแนวโน้มจะกลับมาใช้มาตรการคุมเข้มมากขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้จากยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น

บรรดานักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ กล่าวเตือนเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเทศในแถบยุโรปมีแนวโน้มจะเพิ่มมาตรการคุ้มเข้มเพื่อจำกัดการใช้ชีวิตของประชาชนในอีกไม่กี่วันข้างหน้าจากยอดติดเชื้อไวรัสในแถบยุโรปที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

นักวิเคราะห์จาก Deutsch Bank คาดว่า จะมีหลายประเทศกลับมาใช้มาตรการ Lockdown โดยเฉพาะในแถบยุโรป ซึ่งการระบาดที่ค่อนข้างรวดเร็วถือเป็นความกังวลครั้งใหญ่


UK warning

เจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ระดับสูงของรัฐบาลอังกฤษ กล่าวเตือนว่า อังกฤษอาจเผชิญกับยอดติดเชื้อใหม่รายวันที่สูงกว่า 50,000 รายได้ในช่วงกลางเดือนต.ค. หากไม่รีบดำเนินมาตรการป้องกันใดๆ


· รัฐวิคทอเรียของประเทศออสเตรเลียพบผู้ติดเชื้อรายวันกลับมาเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ทำต่ำสุดรายวันไปเมื่อไม่นานนี้


· ยอดติดเชื้อในเม็กซิโกสะสมเพิ่มขึ้นมาเกือบ 700,000 ราย อยู่ลำดับที่ 6 ของโลก


· CBO คาด ไวรัสโคโรนาจะผลักดันให้หนี้ของสหรัฐฯพุ่งขึ้นเป็น 2 เท่าของจีดีพีภายในปี 2050

สำนักงานงบประมาณของสหรัฐฯ (CBO) คาดว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาจะส่งผลเชิงลบต่อแนวโน้มการเงินของสหรัฐฯในระยะยาวในรอบกว่า 10 ปี และคาดว่าหนี้รัฐบาลจะพุ่งขึ้นเกืบอ 2 เท่าของจีดีพีภายในปี 2050 หรือแตะ 195% ได้โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้านภาษีและค่าใช้จ่าย ซึ่งถือว่าระดับหนี้ระยะยาวดังกล่าวจะสูงเทียบเท่ากับ Ratio ของญี่ปุ่นกับกรีซในเวลานี้

ทั้งนี้ CBO คาดว่า ในปี 2049 ระดับหนี้ของสหรัฐฯจะคิดเป็น 144% ของจีดีพี แต่สำหรับปีนี้คาดว่าจะมีระดับหนี้อยู่ที่ 98% ในช่วงสิ้นปี เมื่อเทียบกับระดับ 79% ในปี 2019 และ 35% ในปี 2007 ก่อนเกิดวิกฤตทางการเงิน


· จิม เครเมอร์ ชี้ Lockdown ทางการค้ามีแนวโน้มจะกลับมาอีกครั้งจากความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนา

พิธีกรด้านการลงทุนชื่อดังของ CNBC กล่าวว่า นักลงทุนอาจมีการเข้าซื้อหุ้นภาคบริษัทที่ดูจะตอบรับได้ดีกับภาวะเศรษฐกิจในรูปแบบ Stay-at-Home และบ่งชี้ว่าความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯนั้นสื่อถึงการที่ภาวะLockdown ทางการค้าจะกลับมานั่นเอง นำโดยยอดติดเชื้อในยุโรปที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะกลับมา Lockdown และทั้งหมดนี้จะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ


· ประธานเฟด ย้ำ สมาชิกเฟดจะใช้ทุกเครื่องมือที่มีในการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ

นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าว่า เฟดยังคงให้คำมั่นที่จะใช้ทุกเครื่องมือทางการเงินที่มีตราบเท่าที่จะดำเนินการได้ในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา

ขณะที่คืนนี้นายโพเวลล์ มีกำหนดการจะกล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการกำกับดูแลการบริการทางการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเป็นวันแรก ในช่วง 3 วันที่ต้องพบหน่วยงานทางการเงินของสภาคองเกรส

อย่างไรก็ดี บรรดาสมาชิกเฟดส่วนใหญ่ยังคงเรียกร้องให้สภาคองเกรสเร่งอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือประเทศและรัฐบาลท้องถิ่น


· ผลสำรวจล่าสุดจาก Reuters (Ipsos Poll) สะท้อนถึงความนิยมในไบเดนนำทรัมป์ ในรัฐวินคอนซินและเพนซิลเวเนีย

รัฐวินคอนซิน:
นายไบเดน ยังคงนำ นายทรัมป์ ที่ 48% ต่อ 43% เนื่องจากส่วนใหญ่มองว่านายไบเดนน่าจะจัดการกับการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ดีกว่านายทรัมป์ แต่มุมมองบางส่วนก็เชื่อว่านายทรัมป์จะจัดการกับทิศทางเศรษฐกิจได้ดีกว่า

รัฐเพนซิลเวเนีย:

นายไบเดน นำ นายทรัมป์เช่นกันที่ 49% ต่อ 46% แต่ภาพรวมด้านการจัดการกับเศรษฐกิจส่วนใหญ่เชื่อว่านายทรัมป์จัดการได้ดีกว่า แต่หากเป็นการรับมือกับไวรัสโคโรนาก็ยังมีคนมองว่านายไบเดนน่าจะรับมือได้ดีกว่า


· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจจะไม่ทำข้อตกลง TikTok หากมีความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ชาวอเมริกา แต่หากข้อตกลงออกมาดีก็มีความเป็นไปได้

น้ำมันดิบร่วงลงเกือบ 5% ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านอุปสงค์จากการระบาดที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น
ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดลง 4.6% ที่ระดับ 41.15 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดลง 4.38% ที่ระดับ 39.31 เหรียญ/บาร์เรล

ผู้อำนวยการตลาดจาก Tradition Energy กล่าวว่า ข่าวเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสดูจะจุดประกายความกังวลในเรื่องอุปสงค์น้ำมัน และทำให้แนวโน้มตลาดค่อนข้างเปราะบาง ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจดูจะไม่สามารถฟื้นตัวได้เหมือนช่วงก่อนหน้า


· นักบริหารเงิน คาดว่าวันนี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 31.20-31.45 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทอ่อนเป็นผลจาก Flow ในประเทศ มีแรงซื้อค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างเยอะ ประกอบกับพอช่วงบ่ายตลาดฝั่งยุโรปเปิดเงินปอนด์และเงินยูโรก็อ่อนค่าลงไปเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์

นอกจากนี้ ยังต้องจับตาการประชุมกนง. ในวันที่ 23 ก.ย. นี้ ที่ตลาดยังคาดว่าจะเห็นกนง.เลือกคงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญในการกระจายสภาพคล่องสู่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนา และการประสานความร่วมมือด้านมาตรการทางการคลังและสินเชื่อให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนในระดับสูงทั้งจากประเด็นในประเทศและต่างประเทศ


· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดตัวโครงการปฏิรูปการรายงานข้อมูลของสถาบันการเงิน เพื่อสนับสนุนการออกนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของ ธปท.ที่ตรงจุดและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจการเงินในยุคโลกการเงินดิจิทัล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเศรษฐกิจไทยและช่วยลดภาระของสถาบันการเงินในการรายงานข้อมูล โดย ธปท.นับเป็นธนาคารกลางแรกในเอเชีย ที่ดำเนินการโครงการในลักษณะเช่นนี้

- กระทรวงการคลัง จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ประกอบด้วย

1.โครงการคนละครึ่ง โดยแจกเงิน 3,000 บาทให้ประชาชนทั่วไปจำนวน 10 ล้านคน

2.โครงการเพิ่มวงเงินซื้อของกินของใช้ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 14 ล้านคน อีกคนละ 500

บาท/เดือน เป็นคนละ 700-800 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ต.ค.-ธ.ค.63 หรือเท่ากับเพิ่มให้รวมคนละ 1,500 บาท

- ธนาคารออมสิน เตรียมออกพันธบัตรเพื่อสังคม (Social Bond) วงเงินราว 1 หมื่นล้านบาท ในปี 2564 เพื่อเป็นการสร้างตลาดตราสารหนี้เพื่อสังคมให้ใหญ่ขึ้นและให้นักลงทุนสถาบันรายเล็กสามารถเข้าถึงการลงทุนได้มากขึ้น โดยไม่ต้องให้กระทรวงการคลังเข้ามาค้ำประกัน เนื่องจากธนาคารออมสินมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะมีการพิจารณาให้เหมาะสมตามช่วงเวลาในขณะนั้น


อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่: www.mtsgold.co.th


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com