บขึ้น 0.4% ขณะที่หุ้นกลุ่มสุขภาพปรับลดลง 1.1%
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปีนี้มาที่ 2.7% จากเดิมที่คาดไว้ 3.5% เนื่องมาจากหลายปัจจัยที่สำคัญ เช่น การส่งออกที่ลดลงมากกว่าคาดการณ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 62, ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษ, อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ต่ำและมีผลเหนี่ยวรั้งตัวเลขการลงทุนภาครัฐ พร้อมทั้งปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 63 มาที่เติบโต 2.9% จากเดิม 3.6% ก่อนจะขยายตัวเป็น 3.0% ในปี 64 ขณะที่ปรับลดคาดการณ์การส่งออกในปีนี้มาเป็นหดตัว -5.3% จากครั้งก่อนคาดว่าจะขยายตัว 2.2% ส่วนในปี 63 คาดว่าการส่งออกจะฟื้นกลับมาขยายตัวได้ 0.2%
- นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.อยู่ระหว่างเตรียมออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากในขณะนี้ ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะประกาศใช้ในช่วง 1-2 เดือนนี้
"มีหลายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน ส่วนสำคัญมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ นี่เป็นสิ่งที่ ธปท. และกนง.ไม่สบายใจ เพราะเราตระหนักดีว่ามีผลต่อผู้ส่งออก และผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยว เราได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง และดูมาตรการต่างๆ ที่อาจจะต้องทำเพิ่มเติม โดยจะมีมาตรการที่ต้องทำเพิ่มเติมใน 2-3 กลุ่ม" ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว
- ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประเมินว่า ค่าเงินบาทสิ้นปี 63 จะแข็งค่าต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 29.25 บาท/ดอลลาร์ จากความเสี่ยงของโลกที่ยังสูง โดยเฉพาะจากประเด็นสงครามการค้า ทำให้นักลงทุนยังคงต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ค่าเงินบาท เนื่องจากประเทศไทยมีเสถียรภาพต่างประเทศแข็งแกร่ง โดยเฉพาะดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และแนวโน้มที่จะได้รับการปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะยังเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง
KBANK คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้งในเดือนธันวาคม และคงดอกเบี้ ยนโยบายตลอดทั้งปี 63 ที่ 1.25% แนวโน้มการลดดอกเบี้ยที่ช้ากว่าธนาคารกลางอื่นๆ อาจไม่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงมากนัก
สำหรับสาเหตุที่คาดว่า ธปท.จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง คือ เศรษฐกิจไทยชะลอลงมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกที่หดตัวลงมากจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนและเริ่มส่งผ่านมายังการลงทุนในประเทศทั้งการซื้อเครื่องจักรและการนำเข้าสินค้าทุนที่ชะลอตัวลง อีกทั้งการบริโภคมีแนวโน้มอ่อนแอลงจากการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลงอย่างรวดเร็ว, อัตราเงินเฟ้ออาจไม่สามารถ
- นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ บมจ.ถิรไทย (TRT) เปิดเผยว่า บริษัทร่วมงานลงนามกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)ในการสั่งซื้อหม้อแปลงจำหน่าย ชนิดซีเอสพี (Completely Self Protected Type) 3 เฟส 4 สาย 50 เฮิรตช์ 225 กิโลโวลต์แอมแอร์ เป็นราคาทั้งสิ้น 448 ล้านบาท เพื่อติดตั้ง ณ อาคารศูนย์จ่ายหม้อแปลงฝ่ายอุปกรณ์งานจำหน่ายของ กฟน.ในสถานีย่อยไฟฟ้าต่าง ๆ โดยจะเริ่มทะยอยส่งมอบงานช่วงไตรมาส 4/62 และไตรมาส 1/63