• บทบาทสำคัญของ “แรร์เอิร์ธ” ในสงครามการค้า

    31 พฤษภาคม 2562 | Economic News


รายงานจากหนังสือพิมพ์ที่ขึ้นตรงกับพรรคคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลจีน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีรายงานว่า รัฐบาลจีนพร้อมที่จะระงับการส่งออกแร่ “แรร์เอิร์ธ” ไปยังสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นมาตรการตอบโต้ในสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลให้ทิศทางของสงครามการค้ามีแนวโน้มที่จะเลวร้ายลง

นักวิเคราะห์จาก Goldman Sach ระบุว่า จีนมีการถือครองแรร์เอิร์ธรวมกันมากที่สุดในโลก คิดเป็น 35% ของปริมาณทั้งหมด โดยในปี 2018 จีนมีปริมาณขุดเจาะ 120,000 ตัน หรือคิดเป็น 70% ของยอดรวมทั่วโลก ขณะที่ปริมาณถือครองของสหรัฐฯถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจีน โดยสหรัฐฯมีปริมาณภือครอง 1.4 ล้านตัน เทียบกับจีนที่ 44 ล้านตัน



ดังนั้น สหรัฐฯจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าแรร์เอิร์ธเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ โดยในปี 2018 สหรัฐฯมีมูลค่านำเข้าแรร์เอิร์ธอยู่ที่ 1.60 ร้อยล้านเหรียญ และถึงแม้สหรัฐฯจะมีการนำเข้าแรร์เอิร์ธจากประเทศอื่นๆ เช่น เอสโตเนีย (6%), ฝรั่งเศส (3%), และ ญี่ปุ่น (3%) แต่ประเทศเหล่านี้ก็จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบของกระบวนการผลิตที่มาจากประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน

การที่จีนข่มขู่สหรัฐฯจะระงับการส่งออกแรร์เอิร์ธ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯหลายกลุ่มด้วยกัน ตั้งแต่ ด้านเทคโนโลยี ยานพาหนะ พลังงานสะอาด ตลอดจนด้านการรักษาความมั่นคงของประเทศ

“เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง”

สหรัฐฯมีการใช้แรร์เอิร์ธในระบบรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศหลายอย่างด้วยกัน ตั้งแต่เลเซอร์ เรดาร์ โซนาร์ ระบบมองภาพกลางคืน ระบบนำทางขีปนาวุธ เครื่องยนต์เจ็ท รวมไปถึงเกราะของรถหุ้มเกราะ ซึ่งทางกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐฯ ก็มีรายงานถึงความเสี่ยงดังกล่าวต่อสภาคองเกรสไปเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังมีสัญญาณความเสี่ยงที่จะถูกระงับการนำเข้าแรร์เอิร์ธ

แหล่งแรร์เอิร์ธอื่นๆ นอกเหนือจากจีน

นักวิเคราะห์จาก Credit Suisse ระบุว่า แม้จีนจะเป็นผู้ผลิตแรร์เอิร์ทรายใหญ่ที่สุดในโลกก็ตาม แต่ผู้ผลิตอื่นๆก็เริ่มเติบโตมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยผู้ผลิตอื่นๆนอกเหนือจากจีนมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 29% เมื่อเทียบกับในปี 2009 ที่มีปริมาณการผลิตเพียง 3%เท่านั้น

นอกจากนี้ โรงงานผลิตของสหรัฐฯก็อยู่ในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่ในปีที่ผ่านมา ขณะที่ปริมาณการผลิตอย่างเต็มที่ของออสเตรเรียและมาเลเซียก็เพียงพอต่อปริมาณอุปสงค์ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม กระบวนการกลั่นแร่บางตัวยังคงจำเป็นต้องพึ่งพาจีน

ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com