• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 28 พฤษภาคม 2562

    28 พฤษภาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางตลาดที่กำลังรอความคืบหน้าหลังการเลือกตั้งรัฐสภาอียู ที่มีผลการเลือกตั้งออกมาในลักษณะสภาสองขั้ว


ดัชนีดอลลาร์แข็งค่า 0.2% บริเวณ 97.804 จุด อ่อนค่าลงมาประมาณ 0.6% จากระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 98.371 จุด ซึ่งขึ้นไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สำหรับภาพรวมรายปี ดัชนีปรับขึ้นได้ 1.7%

· ค่าเงินส่วนใหญ่ต่างเคลื่อนไหวอย่างทรงตัวในวันนี้ ท่ามกลางปริมาณซื้อขายที่เบาบางเนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐฯและอังกฤษปิดทำการในคืนที่ผ่านมา


· ค่าเงินเยนทรงตัวในกรอบการเคลื่อนไหวเดิม ท่ามกลางการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งตลาดมองว่าสหรัฐฯกำลังกดดันญี่ปุ่นให้เร่งลดยอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ


ค่าเงินดอลลาร์เมื่อทเยบกับเงินเยน ปรับลดลง 0.1% บริเวณ 109.46 เยน/ดอลลาร์ สูงขึ้นมาประมาณ 0.4% จากระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 109.02 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งลงไปเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อนหน้า

· ขณะที่ค่าเงินยูโรดูจะเผชิญแรงกดดัน หลังมีรายงานว่าอียูจะเริ่มกระบวนการพิจารณาบทลงโทษอิตาลีจากกรณีที่อิตาลีมีหนี้สินและยอดเกินดุลสูงกว่าเพดานที่อียูกำหนด ภายในวันที่ 5 มิ.ย. นี้



ค่าเงินยูโรอ่อนค่า 0.1% บริเวณ 1.1182 ดอลลาร์ยูโร หลังจากอ่อนค่าลงมาจากระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ครึ่งที่ 1.1215 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งถูกกดดันจากผลการเลือกตั้งรัฐสภาอียู



· ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าแถว 109.64 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ไปทำระดับแข็งค่าของวันใกล้ 109.4 เยน/ดอลลาร์ อันเป็นผลจากที่กลุ่มนักลงทุนเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น หลังแนวโฯ้มการคุยกันระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่นอาจจะเห็นข้อตกลงร่วมกันได้
ทั้งนี้ ค่าเงินเยนเปิดตลาดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย Fibonacci Retracement 61.8% ก่อนจะปรับขึ้นไปใกล้แนวต้านแถว 109.65 เยน/ดอลลาร์ สำหรับภาพราย 4 ชม เส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 20 และ 100 ยังสะท้อนถึงภาวะแข็งค่าอยู่ ทางด้านสัญญาณบ่งชี้ทางเทคนิคส่วนใหญ่ก็ปรับหาแนวลบ ซึ่งหากค่าเงินเยนฝ่าแนวต้านเส้น Fibonacci ไปได้ ก็มีโอกาสจะเห็นเยนอ่อนค่าไปแถว 109.9 เยน/ดอลลาร์

แนวรับ: 109.00 108.65 108.30

แนวต้าน: 109.65 109.90 110.20

· นายลูอิส อเล็กซานเดอร์ นักวิเคราะห์จาก Nomura ประเมินว่า หากสหรัฐฯเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25% สำหรับสินค้านำเข้าจากจีนทุกรายการ เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเป็นฝ่ายได้รับผลกระทบเสียเอง แต่ผลกระทบดังกล่าว อาจไม่เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากต้นทุนการผลิตในสหรัฐฯจะเพิ่มสูงขึ้น และอาจผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นได้ถึง 0.5% ในระยะเวลา 12 เดือน

ขณะที่ศาสตราจารย์คาร์เมน ไรน์ฮาร์ท ประจำ Harvard Kennedy School ก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นของนายลูอิส โดยระบุว่า เฟดตัดสินใจถูกแล้วที่อดทนต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดูท่าทีของเศรษฐกิจ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯถือว่ามีการจ้างงานอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง เห็นได้จากการที่อัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ยุค 60

· นายมัตเตโอ ซัลวินี รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี ระบุว่า อียูมีแนวโน้มที่จะเรียกเก็บค่าปรับจากรัฐบาลอิตาลีเป็นเงินมูลค่า 3 พันล้านยูโร จากกรณีที่อิตาลีมีปริมาณหนี้สินและยอดเกินดุลสูงกว่าเพดานที่ทางอียูกำหนด ขณะที่กระบวนการพิจารณาบทลงโทษในกรณีดังกล่าวกับอิตาลีจะเริ่มต้นในวันที่ 5 มิ.ย. ที่จะถึงนี้


· การเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ช่วยให้ตลาดญี่ปุ่นผ่อนคลายความกังวลจากการถูกสหรัฐฯกดดันทางการค้าลงไปได้ อย่างไรก็ตาม นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะเผชิญกับแรงกดดันจากภายในประเทศให้เร่งหาข้อตกลงกับสหรัฐฯ ก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งในช่วงซัมเมอร์นี้

ขณะที่นายทรัมป์ระบุว่า เขาคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะมี “การประกาศบางอย่าง” ในช่วงเดือน ส.ค. และมันจะเป็นสิ่งที่ดีต่อการค้าขายของทั้ง 2 ประเทศ

· ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวผสมผสานกัน เนื่องจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก รวมทั้งการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซูเว่ล่าของสหรัฐฯ ขณะที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษบกิจยังคงกดดันตลาด

โดยน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 0.2% ที่ระดับ 69.99 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.7% ที่ะรดับ 59.03 เหรียญ

ทั้งนี้ โอเปกและประเทศพันธมิตร รวมทั้งรัสเซียมีกำหนดจะประชุมกันในวันที่ 25 และ 26 มิ.ย.นี้เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการส่งออกน้ำมัน


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com