• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2562

    24 พฤษภาคม 2562 | Economic News



· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าทำระดับสูงสุดรอบ 2 ปีเมื่อวานนี้ที่ 98.371 จุด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดตั้งแต่ พ.ค. ปี 2017 ขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.5% จากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียและยุโรป ที่เป็นตัวกดดันค่าเงินยูโรและค่าเงินหยวนด้วย

ความกังวลต่อกิจกรรมภาคการผลิตเยอรมนี และผลกระทบของ Trade War ที่จะบั่นทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชีย ประกอบกับความกังวลเรื่อง Brexit และการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป ทั้งหมดนี้ดูเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้กลุ่มนักลงทุนมีการเพิ่มการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย



นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสจาก Western Union Business Solutions มองว่า สินทรัพย์ Safe-Haven ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีในเวลาที่ความมั่นใจด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจดูจะลดน้อยลง



ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนดูจะยังเป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ดูจะมีสภาพคล่องได้ดีกว่าจากสภาวะเศรษฐกิจโลกในเวลานี้ ประกอบกับการที่ธนาคารกลางต่างๆเริ่มมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปในช่วงครึ่งปีแรกนี้



ค่าเงินยูโรร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดรอบเดือนที่ 1.111 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนจะทรงตัวบริเวณ 1.114 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่ากลับมา 0.57% ไปแถว 109.71 เยน/ดอลลาร์ หลังไปทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 2 สัปดาห์เมื่อวันอังคารที่ 110.675 เยน/ดอลลาร์




อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวลงไปทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2017 ท่ามกลางประเด็นสงครามการค้าที่ดูจะยืดเยื้อยาวนานกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับลงมาทำต่ำสุดตั้งแต่ 8 พ.ย. ปี 2017 ที่ 2.308%



ด้านผลตอบแทนระยะยาว 30 ปีปรับลงแตะต่ำสุดตั้งแต่ธ.ค. ปี 2017 ที่ 2.742% ขณะที่ผลตอบแทนอายุ 2 ปี และ 5 ปี ร่วงลงมาประมาณ 0.10%



นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯยังร่วงลงหลังผลสำรวจของ IHS Markit เผยว่าดัชนี PMI ของสหรัฐฯร่วงลงแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่ ก.ย. ปี 2009 ที่ 50.6 จุด ในเดือนพ.ค. และการร่วงลงของข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์บางรายเริ่มกังวลว่า การขยายตัวที่ลดลงของกิจกรรมภาคธุรกิจในสหรัฐฯนั้นจะได้รับผลกระทบจากสงครามทางการค้าและความไม่แน่นอนที่มากขึ้น จึงฉุดรั้งการเติบโตและความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจ



· อ้างอิงภาพประกอบจากสำนักข่าว The Standard



· กรณีความขัดแย้งทางการค้าล่าสุดระหว่างสหรัฐฯและจีนดูจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ หลังจากที่บริษัท Arm Holdings ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสถาปัตยกรรมชิพ CPU ประกาศยกเลิกใบอนุญาตทางเทคโนโลยีกับทาง Huawei และบริษัทในเครือ ตามกรณีที่สหรัฐฯขึ้นบัญชีดำบริษัท Huawei ขณะที่ Panasonic, Vodafone และ BT Group ก็มีการปรับนโยบายการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของทางสหรัฐฯ

· ทีมศึกษาผลกระทบของ IMF ระบุว่า การที่สหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนกำลังสร้างผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจในเรื่องของสงครามการค้า ขณะที่ความเป็นไปได้ที่นายทรัมป์ จ่อจะขึ้นภาษีสินค้าจีนอีกกว่า 3 แสนล้านเหรียญนั้น IMF มองว่า กลุ่มผู้บริโภคและภาคบริษัทมีแนวโมจะเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคของสหรัฐฯและจีนจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างชัดเจนจากสงครามการค้าครั้งนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกก็ดูจะเริ่มเป็นไประดับปานกลางในเวลานี้ แต่ความตึงเครียดที่ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นก็อาจเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจและความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน รวมทั้งขัดขวางห่วงโซ่อุปทานโลก และยังจะบั่นทอนการฟื้นตัวที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจโลกในปีนี้ตามมา

· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า เขายินดีที่จะเจรจากับตัวแทนของประเทศจีน เกี่ยวกับการคว่ำบาตร Huawei ภายใต้การเจรจาหาข้อตกลงทางการค้า ซึ่งหมายความว่านายทรัมป์อาจรวมประเด็น Huawei ลงไปในการเจรจาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรอง แต่แนวคิดดังกล่าวอาจสร้างความขัดแย้งระหว่างนายทรัมป์และเจ้าหน้าที่ในทีมบริหารของเขา

· โฆษกประจำกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวถึงท่าทีของสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมา ว่าเป็นสาเหตุที่กีดกันไม่ให้ทั้งสองฝ่ายสามารถกลับมาเจรจาร่วมกันได้ โดยหากทางสหรัฐฯต้องการที่จะกลับมาเจรจา สหรัฐฯต้องเปลี่ยนพฤติกรรมและแก้ไขในสิ่งที่พวกเขาทำผิดพลาดไป ทางการจีนถึงจะยอมกลับมาเจรจาการค้าด้วย 
 
 · ราคาน้ำมันดิบปิดดิ่งลงไปเกือบ 6% จากตลาดที่กังวลต่อภาวะสงครามการค้าที่ยืดเยื้อระหว่างสหรัฐฯและจีน ประกอบกับข้อมูลการผลิตที่น่าผิดหวัง ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนให้ความสนใจไปยังภาวะตึงเครียดในตะวันออกกลาง

น้ำมันดิบ Brent ปิด -4.7% หรือ 3.35 เหรียญ ที่ระดับ 67.64 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ช่วงต้นดิ่งลงไปทำระดับต่ำสุดรอบ 2 เดือน และทำให้ภาพสัปดาห์นี้ดูจะออกมาแย่ที่สุดตั้งแต่เดือนธ.ค. ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดลงไปกว่า 5.7% หรือ 3.51 เหรียญ ที่ระดับ 57.91 เหรียญ/บาร์เรล โดยถือเป็นระดับปิดต่ำสุดตั้งแต่ 12 มี.ค. ส่งผลให้ภาพรวมสัปดาห์นี้ดูจะอ่อนตัวลงไปแล้วกว่า 7.7% และเป็นการร่วงลงรายสัปดาห์ที่มากท่ี่สุดในรอบ 5 เดือน

· ราคาน้ำมันเริ่มทรงตัวในช่วงเปิดตลาดวันศุกร์ท่ามกลางแรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังจากที่ราคาน้ำมันปรับร่วงลงต่อเนื่องตลอดสัปดาห์และด้วยอัตราที่มากที่สุดในรอบปี เนื่องจากแรงกดดันของการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณอุปทานน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยราคาสัญญาน้ำมันปิด Brent ปิด +0.4% ที่ระดับ 68.05 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันปิด WTI ปิด +0.6% ที่ระดับ 58.27 เหรียญ/บาร์เรล



· นักวิเคราะห์จาก ANZ ระบุว่า ภาวะความเสี่ยงต่อปริมาณอุปทานยังคงมีอยู่ในตลาด โดยต้องจับตาไปยังสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน ที่อาจขยายตัวความรุนแรงได้ 

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com