• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 22 พฤษภาคม 2562

    22 พฤษภาคม 2562 | Economic News


· ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ จากแรงหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังสหรัฐฯประกาศผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร Huawei และบริษัทที่เกี่ยวข้องออกไป 90 วัน

· นักวิเคราะห์จาก Sumitomo Mitsui Trust Bank ระบุว่า ประเด็นความขัดแย้งทางการค้าไม่มีท่าทีที่จะสามารถคลี่คลายลงได้ง่ายๆ แต่เชื่อว่าความเชื่อมั่นของตลาดจะสามารถกลับมาดีขึ้นได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 98.031 จุด หลังขึ้นไปทำระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ครึ่งที่ 98.134 จุด ในภาพรวมรายปี ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นมาแล้ว 1.9%

เมื่อเทียบกับเงินเยน ค่าเงินค่อนข้างทรงตัวแถว 110.49 เยน/ดอลลาร์ หลังขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 110.675 เยน/ดอลลาร์ในช่วงก่อนหน้า และค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนสามารถฟื้นตัวมาได้ 1.4% นับตั้งแต่ลงไปทำระดับต่ำสุดที่ 109.02 เยน/ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมา

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่บริเวณ 2.428% ขึ้นมาจากระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 2.354%

· ทางด้านค่าเงินยูโรทรงตัวที่บริเวณ 1.1162 ดอลลาร์/ยูโร โดยในภาพรวมรายเดือน ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.9% จากระดับสูงสุดของวันที่ 1 พ.ค. ท่ามกลางแรงกดดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และความกังวลเกี่ยวกับการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปที่อาจเห็นฝ่ายที่ต่อต้านการรวมตัวเป็นสหภาพมีที่นั่งในสภามากขึ้น




· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ค่าเงินเยนมีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ท่ามกลางบีโอเจที่ดูมีสัญญาณยังผ่อนคลายการเงินอยู่ตามถ้อยแถลงของนายฮาราดะ หนึ่งในสมาชิกบีโอเจ ท่ามกลางยอดส่งออกของญี่ปุ่นที่อ่อนตัว ขณะที่ตลาดก็ยังให้ความสำคัญกับรายงานประชุมเฟดคืนนี้

จากกราฟราย 4 ชั่วโมง จะเห็นว่า ค่าเงินเยนยังเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 20 ขณะที่ราคามีการ Break เหนือ SMA ราย 100 ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในเดือนนี้ ส่งผลให้ภาพทางเทคนิคของค่าเงินเยนดูจะสูญเสียภาวะแข็งค่าไปบ้าง หลังจากที่เผชิญกับภาวะ Overbought ขณะที่แนวรับ ณ ขณะนี้ของค่าเงินเยนอยู่ที่ 110.2 เยน/ดอลลาร์

แนวรับ: 110.20 109.75 109.40

แนวต้าน: 110.95 111.25 111.60

· ในรายการ Squawk Box ของ CNBC นายราฟาเอล บอสติค ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า แสดงความคิดเห็นว่าไม่คิดว่าจะเห็นเฟดตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ โดยเขายังคงเชื่อมั่นต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯและแนวทางการดำเนินนโยบายของเฟด

· เครื่องมือ Fed Funds Futures สะท้อนว่า ตลาดมีมุมมองว่า โอกาส 48% จะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยในช่วงเดือนก.ย. ขณะที่ 73% มองว่าจะเกิดขึ้นในช่วงสิ้นปี ท่ามกลางเทรดเดอร์ที่มองโอกาส 31% สำรหับการปรับลดดอกเบี้ยจำนวน 2 ครั้งก่อนสิ้นปีนี้

· Market Watchระบุว่า ทุกสายตากำลังเกิดคำถามว่าเฟดจะทำการปรับลดดอกเบี้ยหรือไม่? และเฟดจะเดินหน้าจัดการกับเงินเฟ้อระดับต่ำยาวนานแค่ไหน? และตลาดก็ต่างรอคอยรายงานการตัดสินใจของเฟดซึ่งจะเปิดเผยเป็นรายงานประชุมประจำวาระ 30 เม.ยจ. - 1 พ.ค. ในคืนวันนี้ โดยที่การประชุมดังกล่าวเฟดมีการคงดอกเบี้ยไว้

ขณะที่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเฟดมีการชะลอแผนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ระดับต่ำและเศรษฐกิจมีสัญญาณชะลอตัวหลังจากที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งในช่วงปลายปีที่แล้ว

· นักลงทุนหลายราย เริ่มคาดหวังว่าจะเห็นเฟดตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ ไม่เพียงแต่เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอ แต่ยังเป็นผลกระทบจากภาวะสงครามทางการค้าของทางสหรัฐฯและจีนด้วย ที่ดูจะเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเ


· ประธานฝ่ายการลงทุนจาก UBS Global Wealth Management กล่าวว่า รายงานประชุมเฟดอาจจะมีสัญญาณสะท้อนถึงภาวะความไม่แน่นอนของสงครามการค้า และการอ่อนตัวของข้อมูลทางเศรษฐกิจที่จะเป็นปัจจัยกดดันให้เฟดจำต้องลดดอกเบี้ย

ขณะที่สมาชิกเฟดบางรายก็มีการสนับสนุนแนวทางการปรับลดดอกเบี้ยเช่นกัน

· นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐฯส่งสัญญาณของความอ่อนแอเพิ่มเติม เฟดก็มีแนวโน้มที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อรักษาทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ปัจจัยที่เฟดมองว่าเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุดคือ อัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่สามารถขยายถึงเป้าหมายของเฟดที่ 2% และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน

นอกจากนายบูลลาร์ดแล้ว นายชาลส์ อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก ทั้ง 2 คนเป็นสมาชิกเฟดที่ออกมาส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงไม่กี่วันมานี้ พร้อมระบุว่า อัตราเงินเฟ้อปีนี้ยังมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้า

· Jyrki Katainen รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า ผู้นำสหรัฐฯและรัสเซียดูมีความต้องการที่จะสร้างความแตกแยกภายในสหภาพยุโรป ก่อนหน้าการเลือกตั้งรัฐสภาของสหภาพยุโรปในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางสัญญาณคุกคามจากภายนอกสหภาพที่ดูจะรุนแรงที่สุดเป็นครั้งประวัติศาสตร์

ทั้งนี้ รองประธานคณะกรรมธิการระบุว่า บรรดาประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซีย จีน และสหรัฐฯ ต่างมุ่งหวังให้สหภาพยุโรปอ่อนแอลง เพื่อที่พวกเขาจะเป็นฝ่ายได้ผลประโยชน์มากขึ้นแทน

สำหรับการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปที่จะเกิดขึ้นสัปดาห์นี้ โพลสำรวจเชื่อว่า พรรคฝ่ายชาตินิยมจะสามารถครอบครองที่นั่งในสภาในมากถึง 30% ทำให้รองประธานฯแสดงความโล่งใจ เพราะว่า รัฐบาลของประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปยังคงให้การสนับสนุนการรวมตัวกันเป็นสหภาพอยู่ แม้การเมืองทั่วภูมิภาคจะขยายตัวยิ่งใหญ่ขึ้นก็ตาม

· รายงานจาก New York Times ระบุว่า ทีมบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังพิจารณาจำกัดสิทธิในการเข้าซื้อสินค้าสหรัฐฯของบริษัท Hikvision ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดของจีน ส่งผลให้ตลาดกังวลว่า หากสหรัฐฯดำเนินการเช่นนั้นจริง จะทำให้ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนยิ่งย่ำแย่ลง

ขณะที่หุ้นของ Hikvision ปรับร่วงลงไป 10% ในช่วงต้นตลาด แม้ทางทำเนียบขาวจะยังไม่มีการออกมายืนยันถึงแนวคิดดังกล่าวก็ตาม

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากที่ข้อมูลสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) เปิดเผยว่า ปริมาณสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้วแตะ 480.2 ล้านบาร์เรลเมื่อเทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 599,000 บาร์เรล รวมทั้งประเด็นที่ซาอุดีอาระเบียให้คำมั่นที่จะรักษาสมดุลของตลาด

อย่างไรก็ดี เหล่านักลงทุน ระบุว่า ตลาดน้ำมันยังคงตึงตัวท่ามกลางการปรับลดภาวะอุปทานจากกลุ่มโอเปกและสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในตะวันออกกลางที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.5% ที่ระดับ 71.79 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.9% ที่ระดับ 62.54 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com