• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2562

    21 พฤษภาคม 2562 | Economic News


· ค่าเงินดอลลาร์ปรับสูงขึ้นท่ามกลางสัญญาณว่าเศรษฐกิจเอเชียกำลังได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ทำให้เกิดแรงเข้าซื้อค่าเงินดอลลาร์ในฐานะ Safe-haven มากขึ้น ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับสูงขึ้น จึงยิ่งหนุนค่าเงินดอลลาร์

ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์และไทยที่ประกาศออกมาอ่อนแอกว่าคาด ทำให้ตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชียกำลังได้รับผลกระทบในเชิงลบจากความขัดแย้งทางการค้าสหรัฐฯ-จีน

ดัชนีดอลลาร์ปรับสูงขึ้น 0.2% ทำระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ครึ่งที่ 98.11 จุด ในช่วงเปิดตลาดยุโรป

อีกปัจจัยที่หนุนค่าเงินดอลลาร์ น่าจะมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่ปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 2.428% หลังได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในเชิงบวก และการที่สหรัฐฯประกาศผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร Huawei เป็นการชั่วคราว


ในทางกลับกัน ค่าเงินยูโรกลับอ่อนค่าลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ครึ่ง ที่ 1.1144 ดอลลาร์/ยูโร



· นักวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่า ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าลงหลังจากที่ไปทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดในช่วง 2 สัปดาห์ที่ระดับ 110.32 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางความเชื่อมั่นในสินทร้พย์เสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น และจะเห็นถึงการปรับตัวขึ้นของดัชนี S&P500 ท่ามากลางแรงหนุนของการที่สหรัฐฯจะผ่อนปรานต่อการขึ้นบัญชีดำบริษัทหัวเว่ยออกไปก่อน

หลังจากที่ล่าสุดค่าเงินเยนเคลื่อนไหวใกล้ 110.32 เยน/ดอลลาร์ และเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 100 วันอยู่ที่ 110.5 เยน/ดอลลาร์ ก็ดูเหมือนจะจำกัดภาวะอ่อนค่าของค่าเงินเยนได้ แต่หากเยน Break ไปได้ก็มีโอกาสเห็นค่าเงินเยนอ่อนค่าไปแตะ SMA ราย 50 วันที่ 111.1 เยน/ดอลลาร์

ในทางกลับกัน หากเงินเยนกลับแข็งค่าลงมาแถวแนว 109.7 และ 109 เยน/ดอลลาร์ก็อาจจำกัดภาวะอ่อนค่าได้และมีโอกาสเห็นเงินเยนแข็งค่ากลับมาแถวระดับแข็งค่ามากที่สุดในช่วงปลายเดือนม.ค. บริเวณ 108.5 เยน/ดอลลาร์ได้

แนวรับ: 109.45 109.10 108.80

แนวต้าน: 110.10 110.50 110.85




· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ค่าเงินยูโรปรับอ่อนค่าลงจากภาพกราฟราย 4 ชม. โดยมีระดับการซื้อขายที่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย SMA 50, 100 และ 200 ขณะที่เส้น RSI ยืนเหนือ 30 จุด และยังไม่บ่งชี้ว่าเข้าเขต Oversold ซึ่งภาพรวมของค่าเงินยูโรเป็นขาลงอยู่

แนวรับแรกจะอยู่แถว 1.1150 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่แนวรับถัดไปจะเป็นบริเวณจุดต่ำสุดเดิมของปีที่ 1.1110 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งหากหลุดลงมามีโอกาสเห็นราคากลับไปแถวต่ำสุดเดิมของปี 2017 ที่ 1.1025 และ 1.0900 ดอลลาร์/ยูโรได้

ในทางกลับกันหากค่าเงินยูโรสามารถผ่าน 1.1175 ดอลลาร์/ยูโรไปได้ ก็มีโอกาสเห็นแถวระดับ 1.1225 ดอลลาร์/ยูโร และหากทรงตัวแถวระดับดังกล่าวได้ 2 สัปดาห์ก็มีโอกาสเห็นค่าเงินยูโรกลับทดสอบแนวต้าน 1.1265 ดอลลาร์/ยูโรอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นระดับแนวต้านสำคัญที่มีการพยายามทดสอบมาแล้ว 3 ครั้งในเือนพ.ค. นี้

GBP/USD RATE DAILY CHART



· ภาพรวมทางเทคนิคของค่าปอนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ไม่ถือว่ามีสัญญาณของทิศทางขาขึ้นอีกต่อไป เนื่องจากค่าเงินได้หลุดต่ำกว่าระดับ Fibonacci overlap ที่ 1.3310 ดอลลาร์/ปอนด์ ถึง 1.3370 ดอลลาร์/ปอนด์
ดังนั้น ค่าเงินมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนตัวในทิศทางขาลงต่อจากระดับต่ำสุดของปี 2019 ที่ 1.2373 ดอลลาร์/ปอนด์ โดยมีการยืนยันถึงแนวโน้มขาลงจากการเคลื่อนไหวของเส้น RSI และ Oscillator

หากค่าเงินปิดตลาดหรือ Break ต่ำกว่าระดับ 1.2760 – 1.2800 ดอลลาร์/ปอนด์ จะมีเป้าหมายถัดไปที่ 1.2610 – 1.2640 ดอลลาร์/ปอนด์ แต่ต้องจับตาเส้น RSI ให้ดี เนื่องจากเริ่มเข้าใกล้ Oversold โดยหากไม่สามารถคงระดับต่ำกว่า 30 จุดได้ ค่าเงินจะมีโอกาสเกิดการรีบาวน์

· รัฐบาลสหรัฐฯประกาศผ่อนคลายมาตรการจำกัดธุรกรรมกับหัวเว่ยแล้ว โดยอนุญาตให้สามารถดำเนินการค้ากับผู้ประกอบการสหรัฐฯเพื่อรักษาการบริการด้านเครือข่ายให้คงอยู่ต่อไป แต่ยังคงไม่สามารถเข้าซื้อสินค้าเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดหรือใช้เป็นส่วนประกอบอุปกรณ์อื่นๆได้แต่อย่างใด เป็น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาลเท่านั้น

โดยมาตรการผ่อนคลายครั้งนี้มีกำหนดระยะเวลาอยู่ที่ 90 วัน จึงเป็นสัญญาณว่าผลกระทบที่เกิดหลังจากสหรัฐฯประกาศขึ้นบัญชีดำหัวเหว่ย มีมากเกินกว่าที่รัฐบาลประเมินเอาไว้

· Google ได้ตอบรับกับคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐฯที่ประกาศขึ้นบัญชีดำ Huawei ด้วยการระงับการดำเนินธุรกิจร่วมกับ Huawei ซึ่งเป็นผู้บริษัทสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก หากกรณีนี้ไม่ได้รับการเจรจาคลี่คลายโดยเร็ว อาจกลายเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายทางธุรกิจให้กับตลาดสมาร์ทโฟน ตลอดจนบริษัทคู่แข่งอย่าง Apple

· ผลกระทบต่อผู้ใช้ Huawei เนื่องจากบริษัทรายใหญ่อย่าง Google, Qualcomm, Intel, Microsoft, Corning หรือแม้กระทั่งบริษัทเล็กๆอย่าง Dolby และอีกมากมาย ต่างอยู่ภายใต้กฏหมายของสหรัฐฯ จึงจำเป็นต้องระงับการดำเนินธุรกิจร่วม ตั้งแต่การซื้อขายกระจกหน้าจอสมาร์ทโฟน ชิฟประมวลผล ตลอดจนระงับการใช้งานแอพพลิเคชั่น อย่าง YouTube และ Gmail

· นักวิเคราะห์กล่าวว่า เปรียบเสมือนกับการผลักไส Huawei ออกจากตลาดสมาร์ทโฟนไปโดยสิ้นเชิง โดย Huawei จะไม่สามารถขายสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android นอกตลาดจีนได้ รวมถึงผู้ใช้ก็จะไม่สามารถอัพเดตระบบ หรือใช้งาน Google PLAY store ได้ ขณะที่ในประเทศจีน ระบบปฏิบัติการ Android อาจยังสามารถใช้งานเฉพาะในส่วนที่เป็น Open Source หรือ App Store ของจีนเองเท่านั้น

· ผลกระทบต่อบริษัทสหรัฐฯ บริษัทส่วนใหญ่ในสหรัฐฯจะสามารถรู้สึกได้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับ Huawei ไม่ว่าจะรายใหญ่อย่าง Intel, Microsoft, Qualcomm หรือรายย่อย เช่น Corning glass และ Dolby ซึ่งจะสูญเสียรายได้และผลประกอบการไปเป็นปริมาณมาก

· หัวหน้านักวิเคราะห์จาก Continuum Economics กล่าวว่า ความไม่แน่นอนทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนนั้นดูจะสะท้อนไปยังการขยายตัวทางเศรษฐกิจสิงคโปร์ด้วยในช่วง 2 ปีนี้ และทำให้แนวโน้มนั้นค่อนข้างไม่สดใสนัก

· รายงานจาก DailyFX เผยถ้อยแถลงของ นายแพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย โดยระบุว่า ความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์เป็นสิ่งที่เขากำลังกังวล ขณะที่เขาเองมองโอกาสเฟดสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้จำนวน 1 ครั้งในปีนี้

· นักวิเคราะห์จากสถาบัน Milken Institute ประเมินว่า สถานการณ์ของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนมีแนวโน้มที่จะ “ย่ำแย่ลง ก่อนที่จะดีขึ้น”

· ผู้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย ส่งสัญญาณว่าทางธนาคารกลางจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในการประชุมเดือนหน้า ซึ่งจะเป็นการดำเนินนโยบายการเงินไปในเชิงผ่อนคลานตามแบบธนาคารกลางทั่วโลก


นอกจากนี้ ทางผู้ว่าฯยังเรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปรับลดภาษีและกระตุ้นการใช้จ่าย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าของธนาคารกลาง

ทั้งนี้ หากธนาคารกลางประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 1.50% จะถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ส.ค. ปี 2016

· สิงคโปร์เผยจีดีพีอ่อนตัวลงมากที่สุดในรอบเกือบทศวรรษในช่วงไตรมาสที่ 1/2019 ที่ระดับ 1.2% เมื่อเทียบรายปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ 1.3% จากภาคการผลิตที่หดว ประกอบกับนโยบายกีดกันทางการค้าที่ก่อให้เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน และส่งผลให้สิงคโปร์มีการปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลงด้วยในกรอบ 1.5% - 2.5% จากคาดการณ์เดิมที่ 1.5% - 3.5%

· นายฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่าน กล่าวถึงประเด็นความขัดแย้งระหว่างอิหร่าน-สหรัฐฯ โดยระบุว่าเขาต้องการแก้ไขความขัดแย้งผ่านวิธีทางการทูต แต่สถานการณ์ในปัจจุบันบีบคั้น ทำให้อิหร่านไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้


เมื่อวานนี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวข่มขู่อิหร่าน ว่าจะเจอการตอบโต้ด้วย “พละกำลังอย่างถึงที่สุด” หากมีการดำเนินการใดๆที่ขัดกับมุมมองของสหรัฐฯ พร้อมระบุว่า รัฐบาลอิหร่านมีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรกับสหรัฐฯอย่างมาก

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นรหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน


ท่ามกลางความคาดหวังว่ากลุ่มผู้ผลิตโอเปกจะยังคงปรับลดภาวะอุปทานในปีนี้

อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของราคาถูกจำกัด โดยความกังวลว่าสงครามการค้าที่ยาวนานระหว่างสหรัฐฯและจีนอาจนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ระดับ 72.18 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.5% ที่ระดับ 63.41 เหรียญ/บาร์เรล

หัวหน้าฝ่าย Research ประจำ London Capital Group ระบุว่า ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน นอกเหนือจากสัญญาณว่าโอเปกจะยังคงลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้น้ำมันพุ่งสูงขึ้น

CRUDE OIL TECHNICAL ANALYSIS



· ราคาน้ำมัน WTI ยังคงถูกกดันโดยเส้นแนวต้านที่ระดับ 63.59 – 67.03 เหรียญ ส่วนแนวรับแรกอยู่ที่ระดับ 60.39 เหรียญ หากราคาปิดตลาดวันนี้ต่ำกว่าแนวรับ จะมีแนวรับถัดไปที่ 57.24 – 88 เหรียญ ในทางกลับกัน หากราคาขึ้นเหนือแนวต้าน จะมีโอกาสขึ้นต่อไปได้ถึงระดับ 70 เหรียญ/บาร์เรล



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com