• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2561

    31 ตุลาคม 2561 | Economic News

• ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากที่บีโอเจยังคงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับพิเศษ ขณะที่ค่าเงินดอลลาณ์ปรับขึ้นทำระดับสูงสุดรอบ 16 เดือน จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 113.24 เยน/ดอลลาร์ โดยยังถูกกดันในตลาดเอเชีย หลังจากที่ปรับอ่อนค่าไปมากที่สุดในช่วง 3 สัปดาห์ที่ 113.32 เยน/ดอลลาร์ หรือปรับอ่อนค่าประมาณ 0.6% เมื่อเทียบวันก่อนหน้า

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับขึ้นต่อเนื่อง 3 วันทำการ ทรงตัวที่ 3.13% ขณะที่ภาพรวมพันธบัตรญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ปรับขึ้น 0.12% โดยยังมีการเคลื่อนไหวกรอบกว้างที่ห่างกันเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์

ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นทำระดับสุงสุดใหม่รอบ 16 เดือนที่ระดับ 97.06 จุด เพราะได้รับอานิสงส์จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯจะยังแข็งแกร่ง

• ขณะที่ทางยูโรโซนดูจะสวนทาง โดยนักวิเคราะห์ยังคงมองว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวได้น้อยกว่าที่คาด ขณะที่วันนี้ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1343 ดอลลาร์/ยูโร ภาพรวมเดือนนี้อ่อนค่าลงไปประมาณ 2.3% ในเดือนนี้

ความไม่แน่นอนทางการเมืองในเยอรมนี หลังจากที่ นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีตัดสินใจที่จะลงจากตำแหน่งในปี 2021 จึงยิ่งกดดันค่าเงินยูโร รวมไปถึงการที่อิตาลีและอียูยังมีความขัดแย้งเรื่องปัญหางบประมาณ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยกดดันค่าเงินยูโร

นักกลยุทธ์ค่าเงินจาก DBS กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินยูโรไม่สดใสและมีโอกาสเห็นค่าเงินยูโรปรับลงแตะ 1.12 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งหากหลุดลงมามีโอกาสเห็น 1.105 - 1.10 ดอลลาร์/ยูโรในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2019

ค่าเงินปอนด์ปิดอ่อนค่าแถวระดับเดิมในช่วงกลางเดือนส.ค. โดยวันนี้ทรงตัวที่ 1.2705 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากที่สถาบันจัดอันดับ Standard & Poor ระบุว่า ข้อตกลงแบบ No-Deal ของBrexit อาจฉุดให้เศรษฐกิจอังกฤษเข้าสู่ภาวะชะลอตัวได้

• ค่าเงินเหยวนทรงตัวที่ 6.9663 หยวน/ดอลลาร์ โดยยังคงอยู่ในทิศทางอ่อนค่าหลังไปทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบกว่าทศวรรษในสัปดาห์นี้

ยังไม่มีสัญญาณว่า Trade War ระหว่างสหรัฐฯและจีนจะยุติลง และนักลงทุนจึงคาดว่าอาจเห็นค่าเงินหยวนถูกปรับขึ้นมาแตะระดับสำคัญ 7 หยวน/ดอลลาร์ได้ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินทั่วโลก

• ค่าเงินหยวนถูกดดันจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนและความตึงเครียดที่อาจรุนแรงมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีน หลังข้อมูลภาคการผลิตจีนยังคงอ่อนตัวมากที่สุดในรอบ 2 ปีในเดือนต.ค. อันเป็นผลกระทบมาจากการทรุดตัวของยอดส่งออก

• วิเคราะห์ EUR/USD : ค่าเงินกำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 เดือน

นักวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่า ทิศทางขาลงของค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ (EUR/USD) มีแนวโน้มที่จะทรงกำลังมากขึ้น หากค่าเงินปิดตลาดวันนี้ต่ำกว่าระดับ $1.1396 ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 เดือน และตอนนี้ค่าเงินก็กำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับดังกล่าว

สำหรับปัจจัยที่ตลาดจะจับตาในวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน และตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯที่จะเปิดเผยในคืนนี้ เวลา 17.00 น. และ 19.15 น. ตามลำดับ

โดยค่าเงินมีแนวโน้มสูงที่จะปิดตลาดวันนี้ในแดนลบ และทิศทางขาลงอาจแข็งแกร่งยิ่งขึ้นหากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯประกาศออกมาแข็งแกร่งกว่าคาด ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซน หากประกาศออกมาแข็งแกร่งอาจช่วยให้ค่าเงินชะลอการอ่อนค่าลงได้บ้าง แต่ไม่น่าจะมากพอที่จะช่วยให้มีแรงเข้าซื้อกลับมาในค่าเงินยูโร หากจะเกิดกรณีเช่นนั้นได้ ก็จำเป็นต้องให้ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯประกาศออกมาอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

• นักวิเคราะห์ชี้ หากสหรัฐฯถอนตัวออกจากสนธิสัญญาด้านการจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์หรือIntermediate-Range Nuclear Forces Treaty ที่ร่วมลงนามกับรัสเซียนับตั้งแต่สมัยสงครามเย็น อาจทำให้ความตึงเครียดภายในทวีปเอเชียขยายตัวมากขึ้นได้

ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าสหรัฐฯจะสามารถพัฒนาและติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ให้กับฐานทัพของสหรัฐฯที่มีอยู่ทั่วทวีปเอเชีย ขณะที่ทางการจีนที่ต้องการแข่งขันความเป็นมหาอำนาจกับสหรัฐฯก็ย่อมไม่ยอมอยู่เฉยแน่นอน รวมถึงทางการอินเดียและปากีสถานที่อาจเขามามีส่วนเกี่ยวข้องหากความขัดแย้งขยายวงกว้างออกไป

• นางเจเน็ต เยลเลน อดีตประธานเฟด กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯยังจำเป็นต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ Overheat

“ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีความสมดุล และหลีกเลี่ยงภาวะ Overhear ของตลาดแรงงาน” นางเยลเลน กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC

ทั้งนี้ นางเยลเลนประเมินระดับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในอีก 10 ปีข้างหน้า ไว้ที่ 3% ดังนั้น เฟดอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยๆได้อีกอย่างน้อย 3 ครั้ง

• ในการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ บีโอเจ ที่ประชุมมีมติคงนโยบายและอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ -0.10% รวมถึงคงอระดับเป้าหมายของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ไว้ที่ 0.00% ดังเดิม

• จีนประกาศดัชนี PMI ภาคการผลิตในประเทศออกมาชะลอตัวลงสู่ระดับ 50.2 จุดในเดือน ต.ค. ติดต่อกันเป็นเดือนที่ โดยลดลงจากเดือน ก.ย. ที่ระดับ 50.8 จุด และน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 50.6 จุด เนื่องจากผลกระทบของความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ

ผลการประกาศดัชนี PMI ภาคบริการของจีนในเดือนต.ค. ชะลอตัวลงสู่ระดับ 53.9 จุด จากเดิมในเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.9 จุด แต่การยืนเหนือ 50 จุด ก็ยังเป็นสัญญาณที่ชี้ถึงการขยายตัว

• ดัชนีภาคการผลิตจีนเดือนต.ค. ขยายตัวได้น้อยที่สุดในช่วง 2 ปี เพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศและอุปสงค์ภายนอกประเทศ จึงส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนอาจได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้าที่เกิดขึ้นกับทางสหรัฐฯ

ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีน ที่มีแนวโน้มจะฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกได้สร้างความผันผวนให้แก่ตลาดการเงินเมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่ดัชนี PMI ล่าสุดของจีนยิ่งออกมาตอกย้ำ หลังออกมาชะลอตัวลงแตะ 50.2 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ก.ค. ปี 2016 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด

• สำนักข่าว Yonhap รายงานว่า ทางการเกาหลีเหนือกำลังเตรียมการเปิดสถานที่ทดสอบและพัฒนาขีปนาวุธให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศสามารถเข้าตรวจสอบได้ในเร็วๆนี้

• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 วันทำการ อย่างไรก็ดีอุปทานที่เพิ่มขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับปริมาณอุปสงค์ท่ามกลางสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กดดันตลาด

ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.7% ที่ระดับ 76.40 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 66.46 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com