• 5 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับประเด็นทรัมป์โจมตีเฟด

    26 ตุลาคม 2561 | Economic News


ท่ามกลางภาวะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับร่วงลงอย่างหนักเป็นประวัติการณ์ และการเลือกตั้งครั้งสำคัญที่ใกล้เข้ามาในอีกไม่ถึง 2 สัปดห์ข้างหน้า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ยกระดับการกล่าวโจมตีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ซึ่งเป็นผู้ที่นายทรัมป์เลือกให้ดำรงตำแหน่งด้วยตัวเอง   

บทความต่อไปนี้ คือ 5 สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการกล่าวโจมตีเฟดของนายทรัมป์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :


1.ทรัมป์กล่าวโจมตีเฟดอย่างไร

นายทรัมป์อ้างว่าเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป จึงทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯที่ควรจะขยายตัวได้อย่างรวดเร็วภายใต้นโยบายปรับลดภาษี กลับไม่สามารถขยายตัวได้ตามที่คาดหวัง และสร้างความยากลำบากให้กับทีมบริหารของเขา ในขณะที่นโยบายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนและคู่ค้าอื่นๆ เริ่มที่จะส่งผลกระทบกลับมายังสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Wall Street Journal ในช่วงสัปดาห์นี้ นายทรัมป์ได้แสดงความไม่พึงพอใจ ว่าเฟดได้เริ่มต้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงวาระของเขา แตกต่างกับในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่เฟดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ใกล้ระดับ 0มาโดยตลอด จึงเป็นการสร้างความยากลำบวกให้กับสหรัฐฯในการที่จะสามารถชำระหนี้สินได้


2.การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจจริงหรือไม่?

เป็นความจริงที่อัตราดอกเบี้ยในระดับสูงจะทำให้เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 2/2018 สามารถขยายตัวได้ด้วยอัตรา 4.2มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เกือบเท่าตัว ซึ่งบรรดาสมาชิกเฟดต่างคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเริ่มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด หากเฟดทำการขึ้นดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้ง ขณะที่สภาพตลาดในปัจจุบันถือว่าภาคการเงินมีความคล่องตัวสูง และมีอัตราว่างงานอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 49 ปี แม้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้วถึง 3 ครั้งภายใต้การบริหารของนายโพเวลล์ก็ตาม


3.หากทรัมป์ต้องการแทรกแซงเฟด เขาจะทำได้อย่างไร?

นายทรัมป์จะไม่สามารถแทรกแซงการดำเนินงานของเฟดได้โดยตรง เว้นเสียแต่จะแทรกแซงในทางอ้อม ซึ่งสามารถทำได้โดยการเลือกผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งสมาชิกบอร์ดบริหารเฟดด้วยตัวเอง โดยเลือกผู้ที่มีแนวคิดสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม สมาชิกบอร์ดบริหารของเฟดในปัจจุบันที่ทรัมป์เป็นผู้เลือกเข้ารับตำแหน่ง กลับมีแนวคิดสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงหรือเห็นด้วยกับนายโพเวลล์เป็นส่วนใหญ่ โดยนายทรัมป์ได้เคยเลือกผู้เข้ารับตำแหน่งในบอร์ดบริหารเฟดมาแล้ว 3 ตำแหน่ง ซึ่ง 2 ในนั้นคือนางมิชเชล บาวแมน และนางเนลลี เหลียง ที่เป็นผู้สนับสนุนอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ ขณะที่อีก 1 ตำแหน่งคือนายมาวิน กู้ดเฟรนด์ ที่เป็นผู้สนับสนุนอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง

นอกเหนือจากนี้ นายทรัมป์อาจพยายามสั่งปลดนายโพเวล โดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถเป็นไปได้ ขณะที่อีกตัวเลือกหนึ่งซึ่งเป็นตัวเลือกในระยะยาว โดยนายทรัมป์อาจพยายามโน้มน้าวให้สภาคองเกรสพิจารณาปรับร่างกฏหมายให้เป็นการง่ายต่อการใช้อำนาจประธานาธิบดีในการสั่งปลดประธานเฟด


4. ในอดีต เคยมีประธานาธิบดีโจมตีเฟดหรือไม่?

ในช่วงทตศวรรตที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนก่อนๆต่างหลีกเลี่ยงที่จะไม่เข้าแทรกแซงการดำเนินงานของเฟดมาโดยตลอด ถ้าจะมีก็คงเป็นในอดีตที่นานมาแล้ว อย่างกรณีของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่กล่าวโจมตีนายอลัน กรีนสแปน ประธานเฟดในสมัยนั้น ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เข้าพ่ายแพ้การเลือกตั้งในปี 1992 และในสมัยประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน ที่มีความขัดแย้งกับนายวิลเลีย แมคเชสนี ประธานในสมัยนั้น เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปี 1965


5. เฟดตอบโต้ทรัมป์กลับเช่นไร และความเสี่ยงจากการโจมตีของทรัมป์รุนแรงแค่ไหน?

จนถึงปัจจุบัน การโจมตีของนายทรัมป์แทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินของเฟดแม้แต่น้อย โดยเฟดยังคงดำเนินการตามแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่พวกเขาเชื่อมั่นว่าเหมาะสมที่สุดกับเศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป ส่วนปัจจัยที่เสี่ยงที่สุดจากการโจมตีของนายทรัมป์ คือการที่นายทรัมป์ยังคงกล่าวโจมตีอย่างต่อเนื่อง เพราะอาจทำให้นักลงทุนเริ่มไม่แน่ใจในการดำเนินการตามแผนของเฟด จึงอาจทำให้ตลาดสุญเสียความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐฯทั้งหมด เพราะไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางต่อไปของนโยบายทางการเงิ


ที่มา: Reuters

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com