• IMF ชี้ เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยง 3 ปัจจัย

    7 ธันวาคม 2560 | Economic News



- องค์กรกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานการประเมินเศรษฐกิจจีน

- รายงานดังกล่าวระบุถึงปัจจัย 3 อย่างที่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจจีน

- นอกจากนี้ IMF ยังได้แนะนำแนวทางสำหรับป้องกันปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอีกด้วย


องค์กรกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยรายงานการประเมินสภาวะของเศรษฐกิจจีน ที่ใช้เวลาในการวิจัยมากกว่า 2 ปี โดยรายงานดังกล่าวได้ระบุถึงปัจจัย 3 อย่างที่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจจีน ดังต่อไปนี้


1. ความเสี่ยงในภาคการเงิน

เศรษฐกิจจีนได้มีการเพิ่มระดับหนี้ของภาคธนาคารสั่งสมขึ้นมาเรื่อยๆ จากนโยบายของรัฐบาลที่ให้ธนาคารเข้ามาช่วยประครองบรรดาธุรกิจที่มีผลประกอบการไม่ค่อยดีนักเอาไว้ แทนที่จะปล่อยให้ล้มละลายไป โดยรัฐบาลหวังว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ระดับหนี้สินต่อ GDP ประจำเศรษฐกิจจีน ขยายตัวขึ้นจากระดับ 180% ในปี 2011 ขึ้นมาสู่ระดับ 255.9% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2017 ขณะที่รายงานอัตราการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว รวมถึงคุณภาพของสินทรัพย์ภาคธนาคารที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมานี้ จึงบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนกำลังได้รับแรงกดดันจากระดับหนี้สินภายในประเทศ


2. Shadow banking

รายงานจาก IMF ได้ระบุว่าการขยายตัวของ Shadow banking (ธนาคารเงา) ในตลาดจีน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากจะส่งผลให้ภาครัฐไม่สามารถควบคุมในส่วนนี้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจเป็นปัญหาได้ยามเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงิน

3. การรับความเสี่ยงของภาคธุรกิจ

เกิดความเชื่อในภาคธุรกิจที่ว่า ภาคธนาคารจะเข้ามาช่วยอุ้มและประครองธุรกิจไว้ หากเกิดความผิดพลาดขึ้น ตามที่ได้กล่าวไว้ตามความเสี่ยงข้อที่ 1 จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจมีความกล้าที่จะรับความเสี่ยงมากเกินไป และทำให้ภาคธนาคารสูญเสียสินทรัพย์ของตัวเองออกไปมากเกินจำเป็น

อย่างไรก็ดี รัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจถึงปัจจัยความเสี่ยงในประเทศของตน โดยนายสี จิ้งผิง ประธานาธิบดีจีน ก็ได้ออกมาแสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวที่จะเดินหน้าขจัดปัญหาในตลาด ซึ่ง IMF ก็ชื่มชมการดำเนินงานดังกล่าวของรัฐบาล พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

1. รัฐบาลจีนควรจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะทาง เพื่อเข้ามาดูแลเสถียรภาพของตลาดรวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพของภาคการเงิน

2. องค์กรที่ดูแลด้านการเงินควรจะสามารถดำเนินงานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกกีดกันโดยรัฐบาล รวมถึงมีทรัพยากรและการประสานงานที่ดีขึ้น เพื่อที่จะสามารถดูแลตลาดจีนที่มีความซับซ้อนได้อย่างทั่วถึง

3. ภาคธนาคารควรมีการถือครองสินทรัพย์มากขึ้น เพื่อรับมือความเสี่ยงจากภาวะวิกฤติทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะธนาคารรายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถกระจายความเสี่ยงไปให้ตลาดภาคอื่นๆได้

4. ภาคธนาคารควรมีการถือครองสินทรัพย์สภาพคล่องมากขึ้น และผ่อนคลายกฎการกู้ยืมเพื่อส่งผลต่อการกู้ยืมในระยะยาว

5. เศรษฐกิจจีนไม่ควรพึ่งพากองทุนสาธารณะเพื่อประครองสถาบันการเงินที่อ่อนแอ และสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันดังกล่าวว่าพวกเขาจะไม่ได้ผลกระทบที่ร้ายแรงมากนักหากพวกเขาประสบความล้มเหลว


ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com