• ทุกสายตาจับต้องไปที่บีโอเจที่ถูกคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดลบจะกลับมาอีกครั้ง!

    19 กันยายน 2559 | Economic News

การตัดสินใจนโยบายการเงินจากเฟด โดยเฉพาะการประชุมบีโอเจที่คาดว่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคสัปดาห์นี้


ขณะเดียวกัน กระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ได้ลดน้อยลงไป จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีนัก ขณะที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสิ่งที่บีโอเจจะตัดสินใจ ได้สร้างความวิตกกังวลต่อกลุ่มนักลงทุน


ทั้งนี้ เฟดและบีโอเจจะเริ่มต้นการประชุมเกี่ยวกับนโยบายการเงินเป็นเวลา 2 วัน เริ่มตั้งแต่ 20 กันยายนนี้


นักวิเคราะห์จาก JPMorgan Securities Japan แสดงความคิดเห็นว่า บีโอเจมีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบ 30 basis points (-0.3%) จากระดับ -0.1% ในปัจจุบัน พร้อมคาดการณ์ว่า อาจมีการเพิ่มวงเงิน QE สู่ระดับ 90 ล้านล้านเยน (8.79 แสนล้านเหรียญ) จากระดับเป้าหมายในปัจจุบันที่ 80 ล้านล้านเยน และเพิ่มการเข้าซื้อ J-REIT สู่ระดับ 2 แสนล้านเยน


นักวิเคราะห์บางส่วน ระบุว่า การลดการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว อาจเป็นความพยามเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้สูงขึ้นเพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากการตัดลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยติดลบโดยปกติจะส่งผลเสียต่ออัตรากำไร (Profit Margins) ของภาคธนาคาร แต่การเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้สูงขึ้นอาจช่วยจำกัดความเสียหายโดยอนุญาตให้ภาคธนาคารสามารถกู้ยืมได้ในอัตราที่ถูกลง และปล่อยกู้ในอัตราสูงขึ้น


ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนระยะยาว หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) อายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นในคืนวันศุกร์สู่ระดับ 0.569% จากระดับ 0.429% ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 20 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 0.456% จากระดับ 0.339% ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมเช่นกัน


นักวิเคราะห์จาก DBS Bank กล่าวว่า หากบีโอเจลดการเข้าซื้อพันธบัตร JGB ระยะยาว มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้พันธบัตรปรับตัวขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการภาคธนาคาร, กองทุนบำนาญ และบริษัทประกันภัย ดังนั้น บีโอเจจึงไม่น่าจะลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด นั่นหมายถึง การลดการเข้าซื้อพันธบัตร JGB ระยะยาว อาจเป็นไปได้ที่จะขยายการเข้าซื้อ JGB, พันธบัตรเอกชน (Corporate Bond) ที่มีอายุระยะสั้น รวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ


อย่างไรก็ดี JPMorgan ก็แสดงความคิดเห็นทำนองเดียวกัน โดยคาดว่า บีโอเจน่าจะยังคงการเข้าซื้อ JGB ที่ระดับ 80 ล้านล้านเยน แต่อาจเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรภาคเอกชน รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น และพันธบัตรกลุ่มสถาบันการกู้ยืมเพื่อการลงทุน เพื่อให้บรรลุการเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อที่ระดับ 90 ล้านล้านเยน


ขณะเดียวกัน Morgan Stanley กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนอาจส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง ขณะที่ผลลัพธ์จากอัตราดอกเบี้ยติดลบ และการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทน JGB จะส่งผลกับภาคการเงิน รวมทั้งบอกเป็นนัยยะสำหรับความรวดเร็วในการดำเนินนโยบายของบีโอเจในการผลักดันให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้น


ที่มา: CNBC


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com