• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 8 สิงหาคม 2559

    8 สิงหาคม 2559 | Economic News

ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าในช่วง 3 วันทำการเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ หลังจากที่ข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯแข็งแกร่งเกินคาด ส่งผลให้เหล่าเทรดเดอร์เพิ่มกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสที่เฟดจะทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยปีนี้


Bloomberg เผย ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้นจากความเป็นไปได้ที่เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมนี้ประมาณ 47% จากระดับ 36% ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากข้อมูลการจ้างงานออกมาดีขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2014

ขณะที่บรรดาเฮดจ์ฟันด์และกลุ่มนักเก็งกำไรอื่นๆ พากันเพิ่มการถือครองค่าเงินดอลลาร์มากที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์


ยอดนำเข้า และส่งออกของจีนในเดือนกรกฎาคมปรับตัวลงเกินคาดในช่วงเริ่มต้นไตรมาสที่ 3/2016 โดยยอดนำเข้าของจีนปรับตัวลงเกินคาดแตะระดับ 3.0%ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 4.8% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดส่งออกร่วงลง 7.0% โดยยังคงปรับตัวลดลงต่อจากเดือนมิถุนายนที่ปรับลง 8.4% จึงยังบ่งชี้ว่าปริมาณความต้องการทั่วโลกยังคงอ่อนแรง หลังจากที่อังกฤษตัดสินใจเลือกที่จะออกจากอียู


อย่างไรก็ดี จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าจีนมียอดเกินดุลเพิ่มขึ้นแตะระดับ 5.231 หมื่นล้านเหรียญในเดือนกรกฎาคม เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 4.811 หมื่นล้านเหรียญ


นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐบาลจะรวมแผนงบประมาณฉบับพิเศษ และเสนอต่อรัฐสภาเป็นกรณีพิเศษในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ โดยสัปดาห์ที่แล้ว คณะรัฐมนตรีของนายอาเบะมีการอนุมัติวงเงิน 13.5 ล้านล้านเยน (1.32 แสนล้านเหรียญฯ) ในมาตรการทางการเงินเพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอ


วันนี้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นจากรายงานที่ว่า จะมีการเจราครั้งใหม่ระหว่างระหว่างสมาชิกกลุ่มโอเปกบางรายในเรื่องการตรึงกำลังการผลิต โดยน้ำมันดิบ WTIปรับขึ้นประมาณ 0.5% บริเวณ 41.99 เหรียญ/บาร์เรล เมื่อเทียบกับวาระซื้อขายก่อนหน้า ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้น 0.34% ที่ระดับ 44.42 เหรียญ/บาร์เรล


รายงานจาก Reuters ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบกลับมาปรับตัวสูงขึ้นหลังมีข่าวว่า กลุ่มสมาชิกโอเปกบางราย (เวเนซูเอลา, เอกวาดอร์ และคูเวต) เรียกร้องให้มีการเจรจาครั้งใหม่ในเรื่องการตรึงกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อควบคุมปริมาณการผลิตร่วมกับกลุ่มสมาชิกนอกโอเปก อาทิ รัสเซีย หลังจากที่การประชุมในครั้งก่อนล้มเหลวลงไป


อย่างไรก็ดี การที่ยังไม่สามารถมีข้อตกลงร่วมกัน รวมไปถึงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและการกลั่นน้ำมันที่มากเกินไปยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันตลาด


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com