• สรุปข่าวราคาทองคำ ประจำวันที่ 26 กันยายน 2565

    26 กันยายน 2565 | Gold News

ข่าวเกี่ยวกับทองคำ



  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันศุกร์ แตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี โดยถูกกดดันจากการที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่าง ๆ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตระยะสั้นพุ่งขึ้น ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และอาจทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย


  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -27.95 เหรียญ หรือ -1.67% มาอยู่ที่ระดับ 1,643.29 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 25.5 เหรียญ หรือ 1.52% ปิดที่ 1,655.6 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย. 2563 และร่วงลง 1.7% ในรอบสัปดาห์นี้
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 70.7 เซนต์ หรือ 3.6% ปิดที่ 18.91 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.9 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 947.23 ตันภาพรวมเดือนกันยายน ขายสุทธิ 26.14 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - ปัจจุบัน ขายสุทธิ 28.43 ตัน


  • หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์สินค้าโภคภัณฑ์ของ Saxo กล่าวว่า ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นใหม่กดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง และภาพรวมของตลาดทองคำในระยะสั้นยังคงเผชิญความท้าทาย เนื่องจากตลาดกำลังจับตาการทำจุดสูงสุดของค่าเงินดอลลาร์ โดยเฉพาะในเรื่องผลตอบแทน 


  • นักวิเคราะห์ของ ANZ กล่าวว่า ตลาดกลับมาถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในสงครามรัสเซียและยูเครน ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ

 


ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง


  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 1.78 จุด หรือ 1.58% มาอยู่ที่ระดับ 113.02 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวขึ้น 0.023% มาอยู่ที่ระดับ 3.739% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี  อยู่ที่ระดับ 4.258% และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ อยู่ที่ระดับ -0.519%


  • เงินปอนด์อ่อนสุดรอบ 37 ปี หลังจากรัฐมนตรีคลังคนใหม่ในรัฐบาลริซ ทรัสส์ อังกฤษ ประกาศแผนลดภาษีชุดใหญ่ เพื่อสอดรับกับแผนการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะกลางปักธงโต 2.5% 


  • บรรดาธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50%-1.00% ซึ่งอาจกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นดอกเบี้ยสูง ทั้งนี้ มีการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางในภูมิภาคดังนี้
    • ธนาคารกลางเวียดนามประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ 1% สู่ระดับ 5% และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount Rate)  1% สู่ระดับ 3.5% โดยมีผลบังคับใช้ 23 กันยายนที่ผ่านมา
    • ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 4.25% โดยเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 5 ในปีนี้
    • ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase rate) ระยะเวลา 7 วันในอัตรา 0.50% สู่ระดับ 4.25% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2561 และปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ปรับขึ้นเพียง 0.25%


  • ธนาคารกลางบางแห่งเริ่มดำเนินการแทรกแซงค่าเงิน จากค่าเงินที่อ่อนค่าร่วงลงอย่างหนัก
    • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ประกาศกำลังจะทำข้อตกลงสว็อปสกุลเงินกับสำนักงานเงินบำนาญแห่งชาติของเกาหลีใต้ (NPS) เพื่อเปลี่ยนเส้นทางการซื้อสกุลเงินต่างชาติของ NPS โดยการทำข้อตกลงนี้มีจุดประสงค์เพื่อสกัดกั้นการดิ่งลงอย่างรุนแรงของค่าเงินวอนของเกาหลีใต้
    • ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา (FX) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2541 เพื่อแก้ปัญหาเงินเยนร่วงหนัก หลังจากทางการญี่ปุ่นได้ยกระดับการเข้าแทรกแซงโดยวาจาตลอดช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา


  • นางอิซาเบล ชนาเบล สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อไป และภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปเป็นเวลานานกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ โดยเธอได้กล่าวปกป้องแผนการของอีซีบีในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปด้วย ทั้งนี้ อีซีบีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วรวมกัน 1.25% ในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา เพื่อรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ใกล้ 10% และนักลงทุนก็ได้ปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า อีซีบีจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทุกครั้งในการประชุมแต่ละครั้งต่อจากนี้จนถึงช่วงสิ้นสุดฤดูใบไม้ผลิปี 2023


  • นักเศรษฐศาสตร์ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เนื่องจากเชื่อว่าการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนออสเตรเลียจะแข็งแกร่งขึ้น ท่ามกลางภาวะตลาดแรงงานตึงตัวและระดับการออมที่ปรับตัวสูงขึ้น


  • โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนพ.ย.และธ.ค. หลังจากกรรมการ 3 คนของ BoE ได้แสดงความต้องการที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวในการประชุมวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

 


ข่าวเกี่ยวกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ


  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นออกมาท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันที่จะคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐที่หดตัวลงเป็นเดือนที่ 3 นั้น ถ่วงตลาดลงด้วย


  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 29,590.41 จุด ร่วงลง 486.27 จุด หรือ -1.62%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,693.23 จุด ร่วงลง 64.76 จุด หรือ -1.72%
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,867.93 จุด ร่วงลง 198.88 จุด หรือ -1.80%


  • นางอิซาเบล ชนาเบล สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวถึงเศรษฐกิจยุโรปว่า มีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะส่งผลให้อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น บริษัทหลายแห่งก็ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน ดังนั้นบริษัทเหล่านี้อาจจะยังคงรักษาลูกจ้างรายเดิมไว้ต่อไป เพราะการจ้างลูกจ้างใหม่ในภายหลังอาจจะต้องใช้ต้นทุนสูงกว่า


  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เตือนว่าเศรษฐกิจของอังกฤษกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งอาจยาวนานมากกว่า 1 ปี ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดย BOE ได้ให้คำมั่นว่าพร้อมที่จะใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดในอนาคต หากเงินเฟ้อของอังกฤษสูงกว่าเป้าหมายที่ได้วางไว้ 
    • ทั้งนี้ ฺBOE คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 13.3% ในเดือนตุลาคม เนื่องจากราคาก๊าซที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเตือนว่าราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นตลอดปี 2023


  • โนมูระปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2566 ลงเหลือ 4.3% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 5.1% โดยระบุถึงผลกระทบจากการที่จีนใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-COVID Policy) มาเป็นเวลานาน และจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นในประเทศหลังจากที่จีนเริ่มเปิดประเทศในเดือนมี.ค.

 

  • สิงคโปร์แซงหน้าฮ่องกงขึ้นเป็นศูนย์กลางการเงินอันดับหนึ่งของเอเชียแล้วในขณะนี้ และผงาดขึ้นเป็นศูนย์กลางการเงินอันดับ 3 ของโลก


  • กระทรวงการค้าและอุตสาหรรมสิงคโปร์ (MTI) และธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) เดือนส.ค.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.1% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ที่ 5% และสูงกว่าตัวเลขเดือนก.ค.ที่ 4.80%


  • นางเจเนต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐแสดงความเชื่อมั่นว่า ธนาคารกลางสหรัฐสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานสหรัฐ โดยตลาดแรงงานจะยังคงแข็งแกร่ง และอัตราว่างงานจะอยู่ใกล้ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ต่อไป แม้มีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นว่า เฟดจะทำให้เศรษฐกิจเผชิญกับภาวะถดถอยจากการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย

 


ข่าวเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงาน


  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างรุนแรงในวันศุกร์ โดยถูกกดดันจากความวิตกที่เพิ่มขึ้นว่าการคุมเข้มนโยบายการเงินเชิงรุกของธนาคารกลางอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และจะกระทบต่อความต้องการพลังงาน


  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. ร่วงลง 4.75 ดอลลาร์ หรือ 5.7% ปิดที่ 78.74 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย. ร่วงลง 4.31 ดอลลาร์ หรือ 4.8% ปิดที่ 86.15 ดอลลาร์/บาร์เรล


  • นางเจเนต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐระบุว่า แผนการจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียของชาติตะวันตกเริ่มก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว โดยยอมรับว่าขณะนี้รัสเซียได้เสนอลดราคาน้ำมันครั้งใหญ่ให้กับจีนและอินเดีย เนื่องจากต้องการหาช่องทางระบายน้ำมันใหม่

 


ข่าวเกี่ยวกับการเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ

 


  • รศ.ดร.อักษรศรี อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการทำการตรวจสอบข่าวลือประเด้น "สี จิ้นผิงถูกกักบริเวณไปยังภายในของทางจีนแล้ว ยืนยันว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง 


  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกล่าวขณะเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) ที่นครนิวยอร์กเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ทุกดินแดนที่ผนวกรวมเข้ากับรัสเซียจะได้รับการปกป้องอย่างเต็มที่ หลังจากรัสเซียเริ่มทำประชามติเพื่อผนวกบางพื้นที่ของยูเครนตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความวิตกกังวลว่า รัสเซียอาจโหมกระพือความขัดแย้ง รวมถึงใช้อาวุธนิวเคลียร์


  • แคว้นโดเนตสก์, ลูฮันสก์, เคอร์ซอน และซาปอริซเซีย ซึ่งเป็น 4 แคว้นในยูเครนที่ถูกยึดครองโดยรัสเซียและกองกำลังสนับสนุนรัสเซีย ได้เริ่มจัดทำประชามติในวันศุกร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการผนวกรวมดินแดนเข้ากับรัสเซีย ขณะที่ชาติตะวันตกได้ประณามการทำประชามติดังกล่าวว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และเป็นการนำร่องไปสู่การผนวกดินแดนที่ผิดกฎหมาย


  • กระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียประกาศห้ามพลเมืองแคนาดาเดินทางเข้ารัสเซียอย่างไม่มีกำหนดเพิ่มอีก 87 คน เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของแคนาดา


  • เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐเดินทางถึงเกาหลีใต้แล้วในวันศุกร์ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี และจะเข้าร่วมซ้อมรบกับกองเรือเกาหลีใต้ในการแสดงแสนยานุภาพทางทหารโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งสาส์นเตือนถึงเกาหลีเหนือ

         


ข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด


  • สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 319 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,455,236 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 8 ราย และเสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 11,028 ราย 


  • องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนอีกครั้งว่าอย่าชะล่าใจในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 โดยเรียกร้องให้มีการประสานงานกัน และมีความมุ่งมั่นทางการเมืองในการปกป้องชีวิตประชาชน รวมถึงป้องกันความเสียหายทางเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19


  • บริษัทไฟเซอร์เปิดเผยว่า สหรัฐปรับลดการสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์/ไบออนเทคเพื่อนำไปบริจาคให้แก่ประเทศยากจนในปีนี้ โดยระบุว่าความต้องการวัคซีนในประเทศเหล่านั้นลดลง


  • นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นจะยกเลิกมาตรการควบคุมชายแดนสกัดโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.เป็นต้นไป โดยนักท่องเที่ยวรายบุคคลจะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า และญี่ปุ่นจะยุติมาตรการจำกัดจำนวนผู้โดยสารขาเข้าในแต่ละวันด้วยเช่นกัน


  • นายจอห์น ลี ผู้บริหารเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เตรียมประกาศยกเลิกมาตรการกักตัวในโรงแรมสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าสู่ฮ่องกง 

 


ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาท


  • นักบริหารการเงิน เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ที่ระดับ 37.55 บาทต่อดอลลาร์ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 37.20-37.80 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 37.45-37.65 บาทต่อดอลลาร์


  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ระบุ ได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยในการหารือกับ ธปท.ได้ให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัยหลักในการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยหรือไม่ ได้แก่ 
    • 1.อัตราเงินเฟ้อ โดยจะต้องดูว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะมีผลต่อเงินเฟ้อ และมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน 
    • 2.การขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่ง ธปท.จะต้องมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้แบบปกติ 
    • 3.เงินทุนเคลื่อนย้าย โดยช่วงที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกบ้าง แต่ยังไม่ถือว่าผิดปกติ ธปท.ก็ติดตามอย่างใกล้ชิด 


  • ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 16 ปี โดยแตะทะลุ 37 บาทกว่า/ดอลลาร์ สะท้อนว่ามีเงินทุนไหลออก เพียงแต่เป็นการไหลออกจากการลงทุน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากสหรัฐมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อต้องการสกัดเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกัน ความต่างของดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนี้ ยังดึงดูดเม็ดเงินจากประเทศต่างๆ ให้ไหลเข้าสหรัฐ ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น


  • ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 16 ปี โดยแตะทะลุ 37 บาทกว่า/ดอลลาร์ สะท้อนว่ามีเงินทุนไหลออก เพียงแต่เป็นการไหลออกจากการลงทุน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากสหรัฐมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อต้องการสกัดเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกัน ความต่างของดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนี้ ยังดึงดูดเม็ดเงินจากประเทศต่างๆ ให้ไหลเข้าสหรัฐ ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

 


ที่มาจาก : Reuters, Infoquest, BangkokBizNews, The Standard, Prachachat, Khaohoon

 


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com