• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 6 กันยายน 2564

    6 กันยายน 2564 | Gold News



ทองคำขยับขึ้นทำสูงสุดเหนือ 1,830 เหรียญ จากจ้างงานสหรัฐฯ ฉุดโอกาสเฟดทำ Tapering QE

· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นกว่า 1% ทำสูงสุดรอบ 2 เดือนครึ่งเมื่อวันศุกร์ ท่ามกลางการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ออกมาแย่กว่าคาดในเดือนส.ค. ที่กดดันให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง ท่ามกลางความไม่มั่นใจเกี่ยวกับกรอบเวลาการทำ Tapering QE ของเฟด


· ราคาทองคำตลาดโลกปิดปรับขึ้น +1.2% ที่ 1,830.71 เหรียญ หลังจากไปทำสูงสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิ.ย. ที่ 1,833.80 เหรีญญ และนับเป็นการปิดสัปดาห์แดนบวกต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ติด

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +1.2% ที่ 1,833.7 เหรียญ


· ปัจจัยบวกต่อตลาดทองคำ



- ข้อมูลรายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ ประจำเดือนส.ค. ออกมาแย่กว่าคาดอย่างมากแตะ 235,000 ตำแหน่ง จากที่คาดจะออกมาราว 720,000 ตำแหน่ง ถือว่าแย่ที่สุดตั้งแต่ม.ค. ตอกย้ำความกังวลของ Delta Covid-19 กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ปรับลงรับข้อมูลแรงงานรัฐบาลสหรัฐฯ โดยปิดลงมาแถว 1.322%


- ดอลลาร์อ่อนค่าลงทำต่ำสุด 91.941 จุด ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ 4 ส.ค. ก่อนปิด -0.2% ที่ 92.03 จุด


- “เดนนิส ล็อกฮาร์ท” อดีตประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า ประเมินโอกาส เฟดมีแนวโน้มประกาศทำ Tapering QE พ.ย.นี้ และจะทำการเริ่มลด QE ในเดือนธ.ค. เพื่อรับข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมทั้งการขยายตัวของตลาดแรงงาน


- รายงานจาก Reuters ชี้ ข้อมูลการจ้างงานที่ลดลงของชาวผิวสีในสหรัฐฯ กำลังสร้างความท้าทายในการกำหนดเป้าหมายการเติบโตของภาคแรงงานให้เป็นไปในวงกว้างและครอบคลุม


- ทีมบริหารไบเดน เผย แผนงบสู้ Covid ฉบับใหม่ 6.5 หมื่นล้านเหรียญ ในการช่วยเหลือประเทศต่อสู้ Covid-19


นายอีริต แลนเดอร์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของทีมบริหารของไบเดน ระบุว่า การระบาดครั้งนี้มีแนวโน้มจะเห็นความยั่งยืนที่แตกต่างมากกว่า Covid รอบก่อน และรัฐบาลสหรัฐฯต้องเตรียมพร้อมในการจัดการกับการคุกคามในอนาคต


- ยูโรแข็งค่าขึ้นทำสูงสุด 1.1909 ดอลลาร์/ยูโร (แข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 30 ก.ค.) จากจ้างงานสหรัฐฯแย่กดดันดอลลาร์ และข้อมูลเงินเฟ้อยูโรโซนที่ทำสูงสุดรอบ 10 ปี ส่งผลให้สมาชิกอีซีบีมีท่าทีหนุน Hawkish ก่อนประชุม 9 ก.ย.


- ซิลเวอร์ปิดขึ้น +3.4% ที่ 24.70 เหรียญ

- แพลทินัมปิด +2.6% ที่ 1,024.41 เหรียญ

- พลาเดียมปิด +1.1% ที่ 2,425.70 เหรียญ



- หุ้นสหรัฐฯร่วง หลังจากตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯออกมาแย่ - หุ้นเทคโนโลยีช่วยพยุงแรงตก!


· กองทุนทองคำ SPDR ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม ปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 998.52 ตัน


· นักวิเคราะห์จาก Saxo Bank มองว่า ราคาทองคำกำลังเคลื่อนไหวได้ดีเพราะได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯเป็นสำคัญ แต่ราคาก็ยังไม่สามารถฝ่าแนวต้าน 1,835 เหรียญได้ เนื่องจากตลาดน่าจะไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงขยายตัวได้ และจะเกิดการเลื่อนทำ Tapering QE หรือไม่


· นักวิเคราะห์อาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ตลาดเกิดสภาวะ Knee-Jerk รับผลกระทบเชิงบวกของราคาทองคำ จากข้อมูลจ้างงานที่ออกมาผิดหวัง อาจส่งผลให้เกิดการเลื่อนทำ Tapering ของเฟดออกไปในการประชุมเดือนก.ย. ดังนั้น จึงมีลุ้นโอกาสเห็นทองคำทะลุ 1,850 เหรียญ


· นักลงทุนบางส่วนยังเลือกถือครองทำในฐานะ Safe-Haven จากเงินเฟ้อ และการที่เฟดยังคงดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นประวัติการณ์


· นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered Bank กล่าวว่า ตลาดกำลังให้ความสำคัญกับการประชุมเฟดในเดือนส.ค. ที่จะเกิดขึ้น 21-22 ก.ย.นี้ โดยภาพรวมยังมีความเสี่ยงที่จะเห็นราคาทองคำขยับขึ้น และดอลลาร์อ่อน ควบคู่กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริงที่ยังเคลื่อนไหวในแดนลบ


· Reuters รายงานผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ชี้ บรรดานักลงทุนมีความวิตกกังวลมากขึ้น แม้ว่าตลาดหุ้นจะทำ New Highs

หลังทรงตัวในแนดบวกต่อเนื่องมายาวนาน 7 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากมองโอกาสเห็นความเป็นไปได้ที่จะเห็นตลาดหุ้นเคลื่อนไหวอย่างผันผวน


· Ether ทะยานเหนือ 4,000 เหรียญเป็นครั้งแรกตั้งแต่ 15 พ.ค. ขณะที่Bitcoin ฟื้นกลับมาทรงตัวเหนือ 50,000 เหรียญ


· COVID-19 UPDATES:



· หน่วยงาน PTSD ระบุว่า จำนวนยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละประเทศ กำลังสร้าง “ความเสี่ยง” ต่อบุคคลากรทางการแพทย์


· ดร.แอนโธนี ฟาวซี ที่ปรึกษาด้านโรคระบาดระดับสูงประจำทำเนียบขาวเผย การฉีดบูสวัคซีนเข็ม 3 ของบริษัท Pfizer ในสหรัฐฯมีแนวโน้มจะเริ่มต้น 20 ก.ย. ขณะที่ของ Moderna อาจเลื่อนออกไปก่อน


· ยอดติดทั่วโลกสะสมทะลุ 221.51 ล้านราย โดยที่ยอดเสียชีวิตสะสมแตะ 4.58 ล้านราย

สำหรับสถานการณ์ระบาดเมื่อวานนี้พบว่าอินเดียมียอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของโลกเกือบ 40,000 ราย แซงสหรัฐฯ ที่กลับมาครองอันดับยอดติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 3 ของโลก โดยมียอดติดเชื้อใหม่ประมาณ 34,786 ราย



· สำหรับประเทศไทย ครอบอันดับที่ 12 ของโลก และครองอันดับที่ 7 สำหรับทางฝั่งเอเชีย



ยอดติดเชื้อไทยในช่วงระหว่าง 4 – 5 ก.ย. ยังค่อนข้างทรงตัวบริเวณ 15,000 ราย ต่อวัน

โดยศบค.พบผู้ติดเชื้อ 4 ก.ย. เพิ่ม 15,942 ราย ตายอีก 257 คน และ 5 ก.ย. เพิ่ม 15,452 ราย เสียชีวิต 224 ราย

ซึ่ง 10 อันดับจังหวัดติดโควิดรายวัน'กทม.'เกือบแตะ4พันราย




ขณะที่รายงานยอดติดเชื้อ Covid-19 ในวันนี้ พบติดเชื้อเพิ่ม 13,988 ราย เสียชีวิต 187 ราย ไม่รวม ATK อีก 2,404 ราย



· เงินบาทอ่อนค่า จับตาสัปดาห์หน้า เงินทุนเคลื่อนย้ายต่างชาติ-เงินเฟ้อ ส.ค.


  

เงินบาทกลับมาอ่อนค่าปลายสัปดาห์ ขณะที่หุ้นไทยยังยืนเหนือ 1,600 จุด ได้อย่างแข็งแกร่ง จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า สถานการณ์โควิด ทั้งในและต่างประเทศ กระแสเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เงินเฟ้อเดือนสิงหาคม การเมืองในประเทศ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินเงินบาทสัปดาห์นี้ (6-10 ก.ย.) จะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.20 – 33.00 บาท/ดอลลาร์ โดยต้องจับตาปัจจัยสำคัญ ดังนี้
1) กระแสเงินลงทุนของนักลงทุนต่าง่ชาติ
2) สถานการณ์ Covid-19
3) ตัวเลขเงินเฟ้อไทยประจำเดือนส.ค.
4) ผลการประชุมของอีซีบี 9 ก.ย. นี้


ด้านตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
- ตัวเลขการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานใหม่สหรัฐฯ
- ข้อมูลอัตราการหมุนเวียนตลาดแรงงานสหรัฐฯ
- ข้อมูลสต็อกสินค้าคงคลังสหรัฐฯ เดือน ก.ค.
- ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนส.ค. ของสหรัฐฯ
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
- ตัวเลขส่งออกจีน
- ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน
- ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน
- จีดีพี Q2/2021 ของยูโรโซนและญี่ปุ่น


สำหรับตลาดหุ้นไทย
หุ้นไทยปรับตัวขึ้นท่ามกลางแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์บางส่วน (มีผลตั้งแต่ 1 ก.ย.) การส่งสัญญาณยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด สถานการณ์โควิดในประเทศซึ่งอยู่ในทิศทางทรงตัว ตลอดจนแรงซื้อจากกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ จึงคาดว่าสัปดาห์นี้ ดัชนีหุ้นไทยจะมีแนวรับ 1,635 จุด และ 1,620 จุดตามลำดับ ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,665 จุด และ 1,680 จุด ตามลำดับ


· อ้างอิงจาก TNN24
- ส่งออกเฮลั่น! บาทไทยแชมป์นำโด่งอ่อนสุด 8.06% จากพิษโควิดส่งผลให้ไทยขาดดุลบริการ มองแนวโน้มสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.80 บาท/ดอลลาร์


อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- 'แบงก์ชาติ' ชี้ 3 ปัจจัยหนุน 'เงินบาท' พลิกกลับมาแข็งค่าในช่วงนี้

แบงก์ชาติ' ชี้ 3 ปัจจัยที่ส่งผลให้ 'ค่าเงินบาท' พลิกกลับมาแข็งค่าในช่วงนี้ ตอบรับประธานเฟดส่งสัญญาณไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย หนุนนักลงทุนแห่ซื้อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก รวมทั้งตลาดหุ้นไทย และยังได้ปัจจัยบวกจากการคลายล็อกดาวน์


ค่าเงินบาทปีนี้ผันผวนหนัก หลังอ่อนค่าแรงกว่า 10% แตะระดับ 33.48 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา จากนั้นช่วงปลายเดือน ส.ค. เงินบาทเริ่มเปลี่ยนทิศ พลิกกลับมาแข็งค่าเกือบหลุด 32 บาทต่อดอลลาร์ โดยปิดการซื้อขายล่าสุด 3 ก.ย. ที่ระดับ 32.58 บาทต่อดอลลาร์


โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า 3 ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าในช่วงนี้ ได้แก่

1. นักลงทุนเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดการเงินโลก หลังจากประธาน Fed กล่าวในสัมมนาวิชาการที่ Jackson Hole ว่า การทำ QE tapering จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่เร่งรีบในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

2. การผ่อนคลายมาตรการ lockdown หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มปรับลดลงและมีการเร่งฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยการผ่อนคลายให้มีกิจกรรมเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป

3. นักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อหลักทรัพย์ไทย โดยเดือนส.ค. นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในหุ้นไทย 5.4 พันล้านบาท และพันธบัตรไทย 4.5 หมื่นล้านบาท


อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวนไม่แน่นอนของปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ผู้ประกอบการจึงควรบริหารความเสี่ยงค่าเงินอย่างสม่ำเสมอ


· อ้างอิงจากประชาชาติ

- คลายล็อกดาวน์ หนุนจ้างงาน 8.2 ล้านคน “คลัง” คาดปีนี้จีดีพีไทยโต 1.3% จากที่หดตัว -6.3%

นอกจากนี้ ยังประเมินว่า โควิดคลี่คลายไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คาดทั้งปีมีวัคซีน 140 ล้านโดส ผลักดันเศรษฐกิจเดินหน้า


· อ้างอิงจากมติชน
- ปลุก ‘ส่งออก’ เดินเต็มสูบ ฝ่าโควิด-ฟื้นศก.

อย่างไรก็ดี ยังมีหลายประเด็นที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และแก้ปัญหาต่อไป เช่น การผลักดันเปิดด่านชายแดน ยังปิดชั่วคราวจากเกิด โควิด-19 ระบาด หรือกระแสกังวลเจอปนเปื้อนในสินค้าส่งออก ปัญหาขนส่งชะงักบางช่วง และการเจาะตลาดใหม่ๆ กำลังสร้างเรื่องมินิเอฟทีเอ เจาะเข้าเมืองใหม่ในประเทศเป้าหมาย เหล่านี้ต้องทำอีกมาก


· อ้างอิงจากไทยรัฐ

- คลังไฟเขียวลาวออกหุ้นกู้สกุลเงินบาท ไร้ผลกระทบตลาดเงิน-ตราสารหนี้ไทย


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com