• น้ำมันดิบปรับตัวลงยาวนานที่สุดตั้งแต่ก.พ. 2020 - ANZ คาดปลายปีอาจเห็นราคาฟื้น

    19 สิงหาคม 2564 | Economic News



·         น้ำมันดิบปรับตัวลงยาวนานที่สุดตั้งแต่ก.พ. 2020 - ANZ คาดปลายปีอาจเห็นราคาฟื้น

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 6 วันทำการในวันนี้ ซึ่งถือเป็นการเคลื่อนไหวแดนลบต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2020 อันเป็นผลจาก

จำนวนยอดติดเชื้อ Covid-19 ทั่วโลกเพิ่มขึ้น

ตลาดกังวล Covid-19 กดดัน "อุปสงค์น้ำมัน" ดิ่ง

สต็อกแก๊สโซลีนสหรัฐฯพุ่งขึ้นเกินคาด โดย EIA ระบุว่ามีปริมาณเพิ่ม 696,000 บาร์เรล สู่ระดับ 228.2 ล้านบาร์เรล

การแข็งค่าของดอลลาร์

 

·         น้ำมันดิบ WTI ลงต่อ 1.35 เหรียญ หรือ -2.1% ที่ระดับ 64.11 เหรียญ/บาร์เรล

ระหว่างวันร่วงลงทำต่ำสุดตั้งแต่ 24 พ.ค. บริเวณ 64.02 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ Brent ปรับลงอีก 1.11 เหรียญ หรือ -1.6% บริเวณ 67.12 เหรียญ/บาร์เรล

ช่วงต้นตลาดวันนี้ทำต่ำสุดตั้งแต่ 24 พ.ค. ที่ระดับ 67.06 เหรียญ/บาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบ WTI ตลอด 6 วันนี้ ทรุดตัวแล้วกว่า 7% - Brent ดิ่งกว่า 6% ถือเป็นการปรับตัวลงต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดของทั้ง 2 สัญญาน้ำมัน นับตั้งแต่ที่ปิดตลาดเมื่อ 28 ก.พ. ปี 2020

ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบ เป็นผลสะท้อนหลักจาก Delta Covid-19 ประกอบกับจำนวนยอดติดเชื้อ-เสียชีวิตใหม่ในสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนที่แล้ว

นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ถือเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่อีกแห่งเผชิญมาตรการเข้มงวดครั้งใหม่ เพื่อรับมือกับจำนวนยอดติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอบางส่วน ที่เป็นผลกดดันราคาน้ำมันในตลาด

 

·         ANZ วิเคราะห์น้ำมันดิบกับโอกาสรีบาวน์แตะ 75 - 78 เหรียญ/บาร์เรล ช่วงสิ้นปีนี้ หากอัตราการฉีดวัคซีนพุ่งสูงขึ้น

การระบาดของสายพันธุ์ Delta Covid-19 ดูจะสร้างผลกระทบต่อตลาดน้ำมัน แม้ว่าอุปสงค์น้ำมันจะชะลอตัวตามคาดแต่ก็ไม่อาจลดมุมมองการกลับสู่สภาวะปกติได้

นักกลยุทธ์จาก ANZ Bank คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบอาจปรับขึ้นไปแถว 75 - 78 เหรียญ/บาร์เรลช่วงไตรมาสที่ 4/2021

 

·         ยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นในเอเชียกำลังกดดัน "อุปสงค์น้ำมัน"

แม้ว่าการระบาดของสายพันธุ์ Delta จะสร้างความผันผวน แต่ก็คาดว่า "อัตราการฉีดวัคซีน" จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย และจะกลายมาเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกได้

จึงคาดการณ์ว่า  อุปสงค์น้ำมันดิบในช่วงไตรมาสที่ 4/2021 จะเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3/2021 สู่ระดับ 98.63 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งถือเป็นระดับการเพิ่มที่มากขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2019

ดังนั้น ภาพรวมยังคาดว่าตลาดน้ำมันดิบจะอยู่ในสภาวะตึงตัว  ประกอบกับการเห็นสต็อกน้ำมันดิบช่วงไตรมาสที่ 3 ลดลงอีกราว 800,000 บาร์เรล/วัน และไตรมาสที่ 4 อาจเห็นลดลงไป 1.6 ล้านบาร์เรล/วัน

ราคาน้ำมันดิบอาจเผชิญแรงกดดัน "ขาลง" ในอีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ อันเป็นผลจากสถานการณ์ที่ผันผวนวุ่นวายในเอเชีย เนื่องจากตลาดจะมีปัจจัยชี้นำเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะเห็นปัจจัยหนุนนำจากสถานการณ์ฉีดวัคซีน ที่จะมาช่วยฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุนในช่วงที่เหลือของปี ควบคู่กับผลักดันให้อุปสงค์ฟื้นตัว ทำให้ทาง ANZ จึงวิเคราะห์ว่า ราคาน้ำมันดิบจะสามารถกลับมาที่  75-78 เหรียญ/บาร์เรลได้นั่นเอง

 

ที่มา: Channel News Asia, FXStreet


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com