• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2564

    17 สิงหาคม 2564 | Gold News


ทองคำรีบาวน์จากความต้องการ Safe-Haven – U.S. 10 Yield อ่อนตัว


· ราคาทองคำตลาดโลกปรับขึ้นต่อ 0.5% แตะ 1,787.76 เหรียญ หลังจากที่ช่วงต้นตลาดแกว่งตัวลดลง ขณะที่สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปรับขึ้นได้กว่า +0.6%

ทั้งนี้ สัญญาทองคำ Gold Comex ปิด +11.6 เหรียญ ที่ระดับ 1,789.8 เหรียญ


· ราคาทองคำยังคงปรับขึ้นต่อหลังจากที่วันศุกร์ปรับขึ้นมากว่า 1% จากข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯที่ปรับตัวลง ขณะที่วานนี้ได้รับอานิสงส์จาก


- แรง Technical Rebound
- การปรับตัวลดลงต่อของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี
โดยเมื่อวานนี้ทำต่ำสุด 1.223% ก่อนปิด 1.256% และยังเคลื่อนไหวใกล้ต่ำสุดรอบกว่า 1 สัปดาห์ จากข้อมูลเศรษฐกิจจีนอ่อนแอวานนี้ ทั้งยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ประกอบกตลาดกังวลสถานการณ์ในอัฟกานิสถาน และ Covid-19
- ผลสำรวจข้อมูลกิจกรรมการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก พบว่าออกมาแย่กว่าคาดในเดือนส.ค. แตะ 18.3 จุด อันเนื่องจากการขนส่งชะลอตัว และยอดคำสั่งซื้อใหม่ขยายตัวได้น้อยกว่าเดือนก่อนหน้า
- ความกังวลจาก Covid-19 หนุนความต้องการ Safe-Haven
- สถานการณ์ความวุ่นวายในอัฟกานิสถาน

ขณะเดียวกันนักลงทุนก็มีการปรับพอร์ตเพื่อรอดูทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายของเฟด


· นักวิเคราะห์จาก TD Securities กล่าวว่า สถานการณ์ระบาดของ Covid-19 ดูจะมีความเกี่ยวเนื่องกับการซื้อทองคำในฐานะ Safe-Haven ในยุโรป ขณะที่ตลาดสหรัฐฯดูจะไม่ได้ให้ความสนใจทองคำมากนัก แต่การเข้าซื้อทองคำมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นได้จากบรรดาธนาคารกลางต่างๆ และนี่จะกลายเป็นปัจจัยที่สนับสนุนราคาทองคำต่อ


นอกจากนี้ ทองคำยังมีการเผชิญแรงทำ Short ครั้งใหญ่ในตลาดจากเฟดที่มองโอกาสลด QE ได้มากขึ้น ขณะที่ตอนนี้แรงทำ Short-Covering ดูจะกลายมาเป็นปัจจัยหนนุราคาเช่นกัน


· นักวิเคราะห์การตลาดจาก Kinesis (ไคเนซิส) กล่าวว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนและวุ่นวายในอัฟกานิสถานก็ดูจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและราคาทองคำบางส่วน แต่คาดว่าผลดังกล่าวน่าจะหายไปในอีกช่วง 2-3 วันนี้


· นักลงทุนขณะนี้กำลังรอถ้อยแถลงของ “นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด” คืนนี้เวลาเที่ยงคืนครึ่ง ขณะที่วันพรุ่งนี้จะมีรายงานประชุมเฟดเดือนก.ค. เวลาตี 1 (ตามเวลาไทย)


· คืนนี้ 19.30น. นักลงทุนก็จับตาข้อมูล “ค้าปลีกสหรัฐฯ” ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากการซื้อของกลุ่มผู้บริโภคลดลงท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์ Covid-19




· OCBC คาดการณ์ ราคาทองคำจะเผชิญต้านสำคัญ 1,800 เหรียญ

นักกลยุทธ์จาก OCBC Bank ค่ด หลังจากที่ทองคำปิดสัปดาห์ปรับขึ้นไปราว 1% ก็มีลุ้นทดสอบ 1,800 เหรียญได้ในสัปดาห์นี้ หากสัญญาณต่างๆยังบ่งชี้สภาวะขาขึ้นต่อไป


“รายงานประชุมเฟด ปัจจัยสำคัญบ่งชี้ทิศทางทอง”


ภาพรวมทองคำดูจะเคลื่อนไหวมากรอบ 1,735 - 1,845 เหรียญ โดยภาพรวมแกว่งในกรอบกลาง ซึ่งจะมีรายงานประชุมเฟดเดือน ก.ค. ที่จะเปิดเผยพุธนี้ มากำหนด ทิศทาง “ระยะสั้น” ต่อไปของทองคำ

และยิ่งหากรายงานสะท้อนโอกาสเฟด Hawkish จะยิ่งกดดันให้ทองร่วงลงหนักอีกครั้ง แต่จนกว่าจะมีการเผยรายงานประชุมเฟด ก็ดูจะมีลุ้นเห็นทองทดสอบแนวต้าน 1,800 เหรียญ


· กองทุนทองคำ SPDR ขายต่อเนื่อง 2 วันทำการ เมื่อวานนี้ขายออกอีก 1.16 ตัน ปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,020.63 ตัน



การขายต่อเนื่องในเดือนส.ค. ส่งผลให้มีปริมาณการขายสุทธิ 10.83 ตัน

รวมตั้งแต่ ม.ค. – 13 ส.ค. กองทุน SPDR ขายทองคำแล้ว 150.11 ตัน


· “นายอีริค โรเซ็นเกร็น” ประธานเฟดสาขาบอสตัน ยังคงกล่าวสนับสนุน Tapering QE แต่จะยังไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าตลาดแรงงานจะฟื้นตัว


· CNBC รายงานว่า เฟดมีแนวโน้มจะทำการประกาศเรื่อง Tapering QE ในการประชุมเดือนก.ย. นี้


· นายจิม เครเมอร์ จาก CNBC ชี้ นโยบายคุมเข้มของเฟดยังมีแนวโน้มเกิดขึ้นในระดับต่ำ ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนที่ส่งผลให้เฟดมีการเคลื่อนไหวเลี่ยงการซื้อและขายตามคาดการณ์โอกาสการดำเนินการของเฟดในเวลานี้


ทั้งนี้ เขามองว่าการกระชับนโยบายของเฟดไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ควรรอดูผลกระทบในระยะสั้นจากการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการโยกย้ายเม็ดเงินในตลาด เช่น ความแข็งแกร่งของผู้บริโภคสหรัฐฯดูจะเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับการตัดสินใจ ดังนัน้ จึงควรติดตามรายงานผลประกอบการของบริษัทค้าปลีกของบริษัทรายใหญ่ อาทิ Walmart และ Home Depot รวมทั้ง Target ที่จะประกาศในคืนนี้


นอกจากนี้ สถานการณ์ที่เลวร้ายในอัฟกานิสถาน รวมทั้งนโยบายการต่างประเทศที่ถือเป็นนัยยะสำคัญต่อประเทศอื่นๆในโลก อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ก็ดูจะกระทบต่อการลงทุนด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี การระบาดของไวรัสโคโรนาที่อยู่ในระดับสูงก็ดูจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เข้ามากระทบ กับกิจกรรมการลงทุนในระยะสั้นๆด้วย


· IAEA รายงานความคืบหน้าอิหร่านในการเพิ่มกำลังการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ด้วยแร่ยูเรเนียมมากถึง 20% แม้ว่าจะได้รับคำเตือนจากชาติตะวันตก ที่มองว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อการเจรจาฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับปี 2015


· ไบเดน ย้ำการตัดสินใจเรื่องอัฟกานิสถาน และกล่าวโทษกองทัพอัฟกานิสถานที่ไม่เต็มใจจะต่อสู้ และมองว่า “สงครามในอัฟกานิสถาน” เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ก็ให้คำมั่นว่า “จะให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งแนวทางทางการทูตต่อไป”


· COVID-19 UPDATES:



สถานการณ์ระบาดทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูง โดยที่มียอดติดเชื้อใหม่รวมกันสูงกว่า 500,000 ราย ส่งผลให้ยอดสะสมทั่วโลกแตะ 208.63 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมใกล้ 4.4 ล้านราย

สหรัฐฯพบรายงานติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 94,751 ราย ยังคงเป็นอันดับติดเชื้อใหม่มากที่สุดของโลก ส่งผลให้ยอดรวมสะสมสูงถึง 37,72 ล้านราย ทางด้านยอดเสียชีวิตสะสมในสหรัฐฯอยู่ที่ 638,736 ราย


· 5 รัฐในสหรัฐฯที่มีรายงานยอดติดเชื้อใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางยอดรักษาตัวในโรงพยาบาลที่สูงขึ้นด้วย




· รายงานจาก Reuters พบ การระบาดของ Delta Covid-19 ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเดินทางไปยังสหรัฐฯเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19


· Pfizer ส่งข้อมูลเพิ่มเติมแก่ องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) เพื่อยื่นขออนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถได้รับการฉีดบูสวัคซีน Covid-19



· ไทยครองอันดับ 5 ติดเชื้อใหม่สูงสุดของโลก ขณะที่ยอดเสียชีวิตใหม่สูงสุดเป็นลำดับ 11 ของโลก ด้านสถานการณ์ในแถบเอเชีย ไทยมีรายงานยอดติดเชื้อใหม่มากที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากอิหร่านและอินเดีย



ในขณะที่ยอดเสียชีวิตใหม่ที่เพิ่มขึ้นไทยขยับขึ้นมาจากลำดับที่ 8 สู่ลำดับที่ 6



· นักบริหารเงินคาด เงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 33.25 – 33.60 บาท/ดอลลาร์ ภาพหลักรอรายงานประชุมเฟด หลังสมาชิกเฟดระดับสูงหลายรายแสดงความเห็นถึงทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เกิดขึ้นเร็วกว่าคาด จึงอาจเห็นเฟดชะลอโครงการ QE ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี


ขณะที่วันนี้ คาดว่าตลาดน่าจะรอดูข้อมูลค้าปลีกของสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของประธานเฟด ขณะที่วันพรุ่งนี้ติดตามรายงานประชุมเฟดเดือนก.ค. (27-28 ก.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีการเปิดเผยรายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับจังหวะเวลา และรายละเอียดการทำ Tapering QE


อย่างไรก็ดี สถานการณ์ระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงและยืดเยื้อ โดยเฉพาะในฝั่งเอเชีย ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำอาจยิ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้


กรุงศรีมองว่าแม้ปัจจัยลบถูกสะท้อนอยู่ในค่าเงินบาทมากพอสมควรแล้ว แต่ยอมรับว่าความเปราะบางของ Sentiment และความตึงเครียดของสถานการณ์ยังมีอยู่สูง




สำหรับปัจจัยภายในประเทศ

- สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับลดประมาณการจีดีพีปีนี้เป็นขยายตัว 0.7-1.2% จากเดิมคาดไว้ที่ 1.5-2.5%

- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะไม่หดตัว

- ความไม่แน่นอนได้แก่การติดเชื้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

- มาตรการควบคุมโรคซึ่งกระทบการบริโภคภายในประเทศ

- การกระจายวัคซีนที่ล่าช้า


อย่างไรก็ดี ธปท.เห็นว่าปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว โดยมีเครื่องมืออื่นๆที่น่าจะช่วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ตรงจุดมากกว่า

ขณะที่เงินบาทซึ่งอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินภูมิภาค สะท้อนพื้นฐานเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่า


· อ้างอิงจาก Brand Inside:

- ttb คาด ไทยอาจเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นครั้งแรกหลังปี 40 หากโควิดยังพุ่ง-ฉีดวัคซีนไม่ทั

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 จะเริ่มฟื้นตัวได้ในเดือนตุลาคม หลังฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรกรุงเทพฯ และปริมณฑล 70% โดยทั้งปีเศรษฐกิจจะเติบโต 0.3% ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ 0.9%


· อ้างอิงจาก Post Today:

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดเศรษฐกิจไทยปี 2564 อยู่ที่ -0.5% จากผลกระทบโควิดแพร่ระบาดที่มีมากขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2564 ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด จากตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 ที่ขยายตัว 7.5% YoY เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำ และการส่งออกที่เร่งตัวขึ้นเป็นหลัก ส่งผลให้ในครึ่งปีแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 2.0% YoY

อย่างไรก็ดี หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียง 0.4% QoQ แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมของเศรษฐกิจไทยที่ยังอ่อนแรงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19



- เศรษฐกิจไทย “ยังไม่พร้อม” จะฟื้น ขณะที่การระบาดของโรคโควิดดีขึ้น ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเป็นเมื่อไหร่ และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่ที่สำคัญคงจะหนีไม่พ้นการกระจายฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ

คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) www.econ.nida.ac.th ; Santi_nida@yahoo.com

 


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com