• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2564

    2 สิงหาคม 2564 | Gold News





ดอลลาร์แข็งค่า กดดันทองปิดลบ แต่ภาพรายสัปดาห์ +1.4%

· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.8% ที่ 1,814.00 เหรียญ

· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด -1% ที่ 1,817.20 เหรียญ


· นักกลยุทธ์การตลาดอาวุโสจาก RJO Futures กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของข้อมูล Core PCE Price Index ที่น้อยกว่าที่คาดในเดือนที่แล้ว ควบคู่กับค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ถือเป็นปัจจัยที่เข้ากดดันราคาทองคำ แต่ทองคำก็ยังดูมีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งต่อ จากข้อเท็จจริงที่ว่าเฟดไม่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆในอนาคตเรื่องการเข้าซื้อสินทรัพย์ หรือแม้แต่เรื่องดอกเบี้ย จึงยิ่งเพิ่มโอกาสแข็งแกร่งให้แก่ตลาด


· ทองคำปิดสัปดาห์ที่ผ่านมา +1.4%


· กองทุนทองคำ SPDR ถือครองทองคำเท่าเดิม 1,031.46 ตัน


· กรรมการผู้จัดการจาก CPM Group คาดว่า ราคาทองคำมีโอกาสหลุดลงต่ำกว่า 1,770 เหรียญ และซิลเวอร์มีโอกาสหลุดต่ำกว่า 25 เหรียญ ในเดือนส.ค.นี้ และอาจไม่สามารถกลับมาเคลื่อนไหวแถวระดับปัจจุบันได้ แม้จะยังไม่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น แต่เขาก็เป็นหนึ่งในคนที่ย้ายเม็ดเงินลงทุนออกจากตลาด


· ซิลเวอร์ปิด -0.3% ที่ 25.45 เหรียญ แต่ปิดสัปดาห์นี้ในแดนบวกครั้งแรกในรอบ 4 สัปดาห์


· พลาเดียมปิด +0.5% ที่ 2,659.19 เหรียญ


· แพลทินัมปิด -1.1% ที่ 1,048.81 เหรียญ


· ดอลลาร์แข็งค่า แต่ยังปิดสัปดาห์ในทิศทางอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่เดือนพ.ค.

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในฐานะ Safe-Haven ท่ามกลางการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะช่วยหนุนให้ดอลลาร์รีบาวน์กลับจากที่อ่อนค่าไปในช่วงต้นสัปดาห์นี้ จากการที่เฟดยังคงย้ำเน้นถึงท่าที Dovish


ดัชนีดอลลาร์ปิด +0.32% ที่ระดับ 92.181 จุด


ภาพรวมสัปดาห์นี้ดอลลาร์อ่อนค่า -0.77% เป็นสัปดาห์ที่ปิดอ่อนค่าแย่ที่สุดตั้งแต่สัปดาห์แรกของเดือนพ.ค.


ค่าเงินดอลลาร์ได้รับอานิสงส์จาก
- การร่วงลงของตลาดหุ้นที่ตอบรับกับรายงานผลประกอบการ Amazon ที่ออกมาน่าผิดหวัง
- ความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของ Delta Covid-19
- จีนปราบปรามบริษัทเทคโนโลยี และบริษัทด้านการศึกษาที่แสวงหาผลประโยชน์
- ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ หนุนโอกาสเฟดควรเริ่มต้นลดการซื้อพันธบัตรรายเดือน 1.2 แสนล้านเหรียญ รวมทั้งปรับลดโครงการดังกล่าว เพื่อให้จบเร็วที่สุดภายในเดือนแรกของปี 2022 เพื่อปูทางไปสู่การขึ้นดอกเบี้ย หากจำเป็น


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี อ่อนตัวลง 0.04% แตะ 1.231% จาก “ข้อมูลเงินเฟ้อ” – “สภาวะ Risk-Off”


· ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ แนะ เฟดควรลด QE ให้สิ้นสุดภายในช่วงต้นปี 2022

นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า เฟดควรเริ่มต้นลดการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนเดือนละ 1.2 แสล้านเหรียญและควรปรับลดการเข้าซื้อเพื่อให้จบโครงการเร็วสุดภายในเดือนแรกของปี 2022 และเพื่อเป็นการปูทางไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยตามมา “หากจำเป็น”


ขณะที่การประชุมรอบล่าสุดเฟดค่อนข้างมีการส่งสัญญาณ Dovish มากเกินไป จึงเรียกร้องให้เฟดตัดสินใจดำเนินการในการประชุมเดือนก.ย.นี้ เพื่อเผยแผนการถอน QE ให้สิ้นสุดภายในมี.ค. ปี 2022 เนื่องจากเรามีการผ่อนคลายทางการเงินมาเป็นเวลานาน และหากข้อมูลเศรษบกิจเปลี่ยนแปลงก็อาจต้องเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว


ทั้งนี้ นายบุลลาร์ถือเป็น “คนแรกของเฟด” ที่กล่าวต่อสาธารณชนหลังจากที่จบประชุมเฟดในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่สมาชิกเฟดคนอื่นๆคาดหวังว่าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง แม้ว่าจะเห็นยอดติดเชื้อไวรัสระบาดเพิ่มมากขึ้น


· “นายนีล คาร์ชคาริ” ประธานเฟดสาขามินนีแดโพลิส ระบุว่า Delta Covid-19 อาจเป็นปัจจัยชะลอการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน

ขณะที่ปัจจุบันประชาชนสหรัฐฯ 7 – 9 ล้านรายยังคงตกงาน และนี่เป็นสิ่งที่น่าวิตกกังวลหากการระบาดยังอยู่ในระดับสู


· “นางลาเอล เบรนาร์ด” หนึ่งในสมาชิกบอร์ดบริหารของเฟด เผย การกำหนดกรอบเวลาลด QE จะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าของภาคแรงงาน

โดยจำเป็นต้องเห็นการฟื้นตัวเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่เผชิญการระบาดของไวรัส ก่อนที่เฟดจะทำการถอนการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ


นอกจากนี้ เฟดต้องมีความมั่นใจมากกว่านี้ในการพิจารณาถึงความคืบหน้ามากขึ้นและข้อมูลต่างๆในการประชุมเดือนก.ย.


ขณะเดียวกัน ยังไม่อาจสรุปได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะไม่มีการออกค่าเงินดิจิทัล


· ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค. ปรับตัวลงทำต่ำสุดรอบ 5 เดือนแตะ 81.2 จุด (ต่ำสุดตั้งแต่ก.พ.) จากความวิตกกังวลในเรื่อง “เงินเฟ้อ”

ขณะที่ผลสำรวจชี้วัดเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ลดลงแตะ 84.5 จุด เป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ส.ค. ปี 2020


· ภาคบริการสหรัฐฯ ได้รับอานิสงส์จาก “ค่าใช้จ่ายผู้บริโภค” หนุนเงินเฟ้อให้ปรับขึ้น

ค่าใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคในสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นในเดืนอมิ.ย. ท่ามกลางการฉีดวัควีนต้าน Covid-19 ที่ช่วยหนุนอุปสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการบริการ แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ดูจะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างผลสะท้อนต่อเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และจะเห็นได้ถึงข้อมูลเงินเฟ้อรายปีที่อยู่เหนือเป้าหมาย 2% ของเฟด


- รายได้ผู้บริโภคเดือนมิ.ย. ปรับขึ้นแตะ 0.1%
จากค่าแรงในช่วงไตรมาสที่ 2/2021 ที่ขยายตัวเร็วสุดรอบ 13 ปี เมื่อเทียบรายปี

- ค่าใช้จ่ายผู้บริโภคที่คิดเป็น 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ รีบาวน์แรงแตะ 1% ในเดือนมิ.ย. หลังพ.ค. ปรับลงไป -0.1%

- ค่าใช้จ่ายภาคบริการเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนมิ.ย. นำโดยการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายในร้านอาหารและโรงแรม


· การขาดแคลนชิปทั่วโลก และการระบาดของ Covid-19 กำลังเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ฝรั่งเศส


· จีนเผยกิจกรรมภาคการผลิตจีนเดือนก.ค. ชะลอตัวมากสุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2020 หรือขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวมากที่สุดรอบ 17 เดือน

ดัชนี PMI ของจีนเดือนก.ค. อ่อนตัวลงแตะ 50.4 จุด จากเดือนมิ.ย.ที่แตะ 50.9 จุด


· ผลสำรวจภาคเอกชนจีน ชี้ ราคายอดขายบ้านใหม่ในจีนขยายตัวด้วยอัตราชะลอตัวในเดือนก.ค. แตะ 0.35% จากเดือนก่อนหน้า 0.36%


· ดัชนี PMI สะท้อน กิจกรรมภาคการผลิตญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่แข็งแกร่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่เงินเฟ้อปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว

ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นเดือนก.ค. แตะ 53 จุด จาก 52.4 จุดในเดือนก่อนหน้า


· ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ปรับขึ้นทำสูงสุดประวัติการณ์ แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะชลอตัวลง

ยอดส่งออกเดือนก.ค. แตะ 26.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แตะระดับ 5.543 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งเป็นยอดรวมที่เพิ่มขึ้นมากสุดตั้งแต่ที่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในปี 1956


แต่ข้อมูลล่าสุดก็ยังน้อยกว่าการส่งออกเดือนมิ.ย. ที่เพิ่มขึ้น 39.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน


ยอดนำเข้า ณ เดือน ก.ค. ปรับขึ้น 38.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ก็นำเข้าน้อยกว่าช่วงเดือนมิ.ย. ที่เพิ่มขึ้นแตะ 40.7%


· กลต. จีน ออกข้อกำหนด เผยว่า วันศุกร์นี้จะมีการเผยข้อกำหนดใหม่ต่อหุ้น IPOs ของจีน และมีการร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัทต่างๆที่ขึ้นทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ท่ามกลางการปราบปรามบริษัทที่เพิ่มมากขึ้นของจีน


· น้องสาวคิม จอง อึน เตือน การฝึกซ้อมรบระหว่างสหรัฐฯและเกาหลีใต้จะเป็นตัวจุดชนวนความตึงเครียด


· ประธานจาก Rosenberg Research ชี้ Delta Covid ที่ระบาดเพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงหุ้นกลุ่ม Reopening และอาจกดดันให้ตลาดอยู่ในภาวะตลาดหมียาวนาน

ดังนั้น จึงแนะนำให้นักลงทุนในตลาดหุ้น ทำการลดการถือสถานะในช่วงการเปิดทำการในช่วงเริ่มต้นเดือนส.ค.นี้


· CORONAVIRUS UPDATES:



ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกพุ่งสูงใกล้ทะลุ 200 ล้านราย ล่าสุดแตะ 198.96 ล้านราย

เสียชีวิตสะสมทั่วโลกทะยานแตะ 4.23 ล้านราย


อินเดียถือเป็นประเทศที่มียอดติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอันดับที่ 1 ของโลกเมื่อวานนี้กว่า 40,000 ราย ทางด้านสหรัฐฯขยับมาอยุ่ลำดับที่ 6 โดยมีผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 21,000 ราย ขณะที่ยอดติดเชื้อใหม่ในไทยติดอันดับ 11 ของโลก




อินโดนีเซียมียอดเสียชีวิตใหม่เพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 1 ของโลกแตะ 1,604 ราย ขณะที่ไทยรั้งอันดับ 13 ของโลก




· สถานการณ์ทางฝั่งเอเชีย

เอเชียกลายเป็นภูมิภาคที่มีการติดเชื้อใหม่และเสียชีวิตรายวันเพิ่มมากสุดของโลก โดยล่าสุดวานนี้มียอดติดเชื้อรวมกันสูงกว่า 250,000 ราย นำโดยอินเดียที่มียอดติดเชื้อใหม่มากที่สุดในภูมิภาค และไทยอยู่อันดับที่ 5



ขณะที่ยอดเสียชีวิตในเอเชียวานนี้เกือบทะลุ 4,000 รายในหนึ่งวัน นำโดยอินโดนีเซียที่มียอดเสียชีวิตใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุด และไทยครองอันดับเสียชีวิตใหม่เพิ่มมากสุดอันดับที่ 7




· CDC สหรัฐฯ เตือน Delta Covid-19 ระบาดง่ายเหมือนโรคอีสุกอีใส และอาจทำให้เกิดโรครุนแรงมากขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม


· “ดร.แอนโธนี ฟาวซี” ประธานที่ปรึกษาทางการแพทย์สหรัฐฯ ไม่คิดว่าสหรัฐฯจำเป็นต้อง Lockdown แม้จะเห็นการระบาดของ Delta ที่เพิ่มมาก


· สถานการณ์ในไทยทำนิวไฮต่อเนื่อง โดยวันเสาร์ที่ผ่านมายอดติดเชื้อใหม่รายวันทะยานใกล้ 19,000 ราย

วันเสาร์พบยอดติดเชื้อใหม่ 18,912 ราย เสียชีวิตหนัก 178 ราย

เริ่มต้นเดือนส.ค.วานนี้ พบยอดติดเชื้อเพิ่ม 18,027 ราย เสียชีวิตอีก 133 ราย

รวมติดเชื้อใหม่ 2 วันสูงกว่า 36,939 ราย และเสียชีวิตช่วงสองวันมากสุด 311 ราย


โดยมี 10 จังหวัดที่ติดเชื้อเมากสุด ดังนี้





สำหรับวันนี้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 17,970 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 633,284 ราย

ขณะที่วันนี้มียอดเสียชีวิตใหม่เพิ่มอีก 178 ราย รวมผู้เสียชีวิตรวมสะสมอยู่ที่ 5,168 ราย


· ศบค. เห็นชอบขยายพื้นที่สีแดงเข้มเป็น 29 จังหวัด เตรียมล็อกดาวน์เพิ่มอีก 14 วัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. ก่อนประเมินอีกครั้ง 18 สิงหาคมนี้ ก่อนยืดถึงสิ้นเดือนหรือไม่

ทั้งนี้ มีโอกาสที่อาจจะขยายล็อกดาวน์ต่อเนื่องสูงสุด 1 เดือน





· ตั้งแต่วันนี้ มีประกาศปิด 25 ศูนย์วัคซีนไทยร่วมใจ หลังวัคซีนไม่มาตามนัด


· สำหรับเมื่อวานนี้ ยอดฉีดวัคซีนทั่วไทยวานนี้อยู่ที่ 1.9 แสนโดส เหลืออีก 74 วันเปิดประเทศ




รายงานจาก The Standard ระบุว่า ไทยฉีดวัคซีนโควิดเดือนกรกฎาคมรวมได้เพียง 7.7 ล้านโดส ต่ำกว่าเป้าหมายเดือนละ 10 ล้านโดสตามที่รัฐบาลเคยประกาศ


· นักบริหารการเงิน คาด เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง 32.20 บาท/ดอลลาร์ จับตาประชุม กนง.-ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.70-33.20 บาท/ดอลลาร์


· 4 ส.ค. จับตา กนง. มีแนวโน้มคงดอกเบี้ย ติดตามท่าทีต่อเศรษฐกิจระยะข้างหน้า


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com