• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 13 กรกฎาคม 2564

    13 กรกฎาคม 2564 | Gold News

ทองปิดลบจากดอลลาร์แข็ง นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังก่อนทราบข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรื่องการลด QE ของเฟด

 

ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.2% ที่ 1,804.80 เหรียญ

สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด -0.3% ที่ 1,805.90 เหรียญ

 

ทั้งนี้  ข้อมูลดัชนี CPI สหรัฐฯจะประกาศคืนนี้ กับถ้อยแถลงของประธานเฟดในวันพุธและพฤหัสบดี ถือเป็นสิ่งที่ตลาดสนใจและเฝ้ารอ

 

·         ผู้อำนวยการฝ่ายการซื้อขายจาก High Ridge Futures อ้างถึงข้อมูล CPI และผลกระทบต่อนโยบายเฟด ซึ่งหากออกมาเป็นข่าวดีจะเป็นข่าวร้ายต่อทอง แต่หากเป็นข่าวร้าย ก็จะเป็นข่าวดีต่อทองคำ เพราะหากเฟดรู้สึกว่าเงินเฟ้อไม่ได้เพิ่มขึ้นมากไป ก็อาจมีท่าทีลด QE น้อยลง ซึ่งจะดีต่อ ทอง” แต่หากเฟดกังวลต่อข้อมูลเงินเฟ้อ ก็อาจทำให้เฟดต้องใช้เครื่องมือมาเบรคการปรับขึ้น ซึ่งอาจจะกดดันราคาทองคำได้

 

·         ผลสำรวจ Reuters คาด ดัชนี CPI สหรัฐฯเดือนมิ.ย. จะมีอัตราการขยายตัวเพียง 0.4% เมื่อเทียบเดือนก่อน

 

·         กองทุนทองคำ SPDR ขายทองต่อเนื่อง ล่าสุดขายอีก 2.91 ตัน ปัจจุบันลดการถือครองมาที่ 1,037.28 ตัน


 


·         นักวิเคราะห์จาก JP Morgan แนะให้นักลงทุนมีท่าทีระมัดระวัง จากโอกาสอัตราผลตอบแทนพันธบัตรทรงตัวและดอลลาร์แข็งค่า เพราะอาจทำให้ทองเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับระดับปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี และคาดราคาเฉลี่ยทองปีนี้อยู่ที่ 1,686 เหรียญ

 

·         ตลาดทองให้ความสนใจกับการระบาดของ Delta Covid-19 ที่จะมีผลโดยนัยต่อเศรษฐกิจ รวมไปถึงอุปสงค์ทองคำในฐานะ Safe-Haven ด้วยแต่ไม่น่าช่วยหนุนให้ซิลเวอร์ขึ้นต่อในระยะสั้น

 

·         ซิลเวอร์ปิด +0.3% ที่ 26.15 เหรียญ

·         พลาเดียมปิด +1.6% ที่ 2,852.81 เหรียญ

·         แพลทินัมปิด +1.2% ที่ 1,116.91 เหรียญ

 

·         ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากความกังวลเรื่อง Delta และตลาดสนใจเงินเฟ้อสหรัฐฯ

ดัชนีดอลลาร์ ปิด +0.1% ที่ 92.267 จุด หลังสัปดาห์ที่แล้วปิดแข็งค่ามากสุดรอบ 3 เดือนที่ 92.844 จุด

ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสหลังรายงานทั่วโลกพบการติดเชื้อ Delta Covid เพิ่ม ดูจะส่งผลให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย?เสี่ยง และเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยแทน

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกอย่างไร

พร้อมกันนี้ นักลงทุนยังรอคอยข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ หรือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่จะเปิดเผยในคืนนี้ และถ้อยแถลงต่อสภาคองเกรสของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ว่าจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับการลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร

ทั้งนี้ สัญญาณใดๆจากภาวะเงินเฟ้ออาจมีผลต่อเฟด ซึ่งหากยังเห็นเงินเฟ้อสูงขึ้นก็อาจทำให้เฟดก้าวออกจากการสนับสนุนทางการเงินเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ ดอลลาร์” เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

ในทางตรงกันข้าม นักลงทุนบางส่วนยังเชื่อว่า ข้อมูลเงินเฟ้อจะทำให้เฟดต้องผ่อนคลายการเงินต่อไปนานขึ้น และหากผลเป็นเช่นนี้ ก็อาจเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์เสี่ยง รวมทั้งค่าเงินในกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงด้วย

  

·         ปอนด์ร่วงจากความกังวล Delta Covid-19 แม้อังกฤษจะตัดสินใจคงแนวทางการยกเลิกมาตรการแบบ Full Lockdown

ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะ 0.1% ที่ 1.3892 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังเมื่อคืนนี้ทำสูงสุดรอบ สัปดาห์

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีทรงตัวเหนือต่ำสุดรอบ 5 เดือน ที่ 1.371% หลังมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี อย่างแข็งแกร่ง โดยขายได้ 3.8 หมื่นล้านเหรียญ ก่อนทราบข้อมูล CPI สหรัฐฯคืนนี้

 

·         นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ระบุว่า การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ MBS ส่งผลสนับสนุนต่อตลาดที่อยู่อาศัย

 

·         ผลสำรวจของเฟดสาขานิวยอร์ก ชี้ คาดการณ์เงินเฟ้อสูง และจะทำ New High

แม้ว่าประชุมเฟดจะประเมินถึงภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันที่อาจปรับขึ้นเพียง “ชั่วคราว”  แต่รายงานผลสำรวจของเฟดสาขานิวยอร์กกลับไม่เป็นเช่นนั้นเมื่อ กลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นต่างออกไป

โดยผลสำรวจล่าสุดสะท้อนว่าเงินเฟ้อในช่วง 1 ปีจะปรับขึ้นแตะ 4.8% หรือมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนพ.ค. และอาจเป็นระดับสูงสุดครั้งประวัติศาสต์เมื่อย้อนกลับไปในช่วงการเริ่มเก็บข้อมูลปี 2013

อย่างไรก็ดี ผลสำรวจยยังสะท้อนว่า แนวโน้มใน 3 ปีข้างหน้าจะยังคงทรงตัวบริเวณ 3.6% อยู่เหนือระดับ 2% ที่เฟดพิจารณาว่าเป็นระดับที่ดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

·         อีซีบีจะเริ่มบทใหม่ในการดำเนินนโยบายสัปดาห์หน้า สะท้อนถึงการประชุมที่จะเกิดขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง “กลยุทธ์” และแนวทางที่จริงจังในเรื่อง “เงินเฟ้อ”

สัปดาห์ที่แล้ว อีซีบีมีการกำหนดกลยุทธ์ใหม่ที่อาจเห็นเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้สูงกว่าระดับเป้าหมาย 2% แต่ประเด็นดังกล่าวไม่ได้สะท้อนว่าเป็นการรับรองว่านักลงทุนจะเผชิญกับการใช้นโยบายคุมเข้มที่รวดเร็วขึ้น แม้ว่าจะเห็นการปรับแนวโน้มเงินเฟ้อสูงขึ้นก็ตาม เพราะการปรับขึ้นในปัจจุบันก็ยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายคาดการณ์ของอีซีบี

 

·         UBS คาด อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 1.5 แสนล้านเหรียญจะส่งผลเชิงบวกในระยะสั้นๆ

ทั้งนี้ จีนมีการปรับลดจำนวนเงินทุนในภาคธนาคารต่างๆ ที่จำเป็นต้องสำรองไว้ จึงอาจเป็นปัจจัยช่วยหนุนความเชื่อมั่นตลาดได้ และอาจเป็นข่าวดีสำหรับหุ้นในหลายๆภาคส่วนได้เช่นเดียวกัน

 

·         ธนาคารกลางรัสเซียมองแรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง แต่เชื่อว่าจะอ่อนตัวลง

 

·         ปริมาณการซื้อขาย Cryptocurrency ทรุด จากความน่าสนใจที่ลดลงหลัง Bitcoin ร่วง

Cryptocurrency มีการปรับตัวลดลงมาในแดนลบต่อเนื่อง 2 เดือนจากข่าวเชิงลบต่างๆ ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขาย หรือ Trading volumes ในตลาดซื้อขายขนาดใหญ่ ได้แก่ Coinbase, Kraken, Binance และ Bitstamp มีการ ปรับตัวลดลงไปกว่า 40% ในเดือนมิ.ย.” ท่ามกลางราคาที่ปรับตัวลง และมีความผันผวนขาลงจากปัจจัยต่างๆ

 

·         CoinShares เผย เม็ดเงินในสินทรัพย์ Crypto ไหลออกหลังกระแสเงินในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

 

·         น้ำมันร่วงจากกังวลเศรษฐกิจบทบังกระแสภาวะอุปทานตึงตัว

สัญญาน้ำมันดิบเผชิญกับความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงบดบังแนวโน้มอุปทานน้ำมันตึงตัว หลังเจรจา OPEC+ ยังไม่สามารถกำหนดแนวโน้มการปรับขึ้นกำลังการผลิตเดือนหน้าได้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิด -0.62% ที่ 74.10 เหรียญ/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปิด -0.52% ที่ 75.16 เหรียญ/บาร์เรล

ภาพรวมน้ำมันดิบสองชนิดปรับลงมาราว 1% ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ยังทรงตัวได้ใกล้กับสูงสุดที่ทำไว้ในช่วงเดือนต.ค. ของปี 2018

  

·         CORONAVIRUS UPDATES:

 

ยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกพุ่งทะลุ 188 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวานนี้ ขณะที่เสียชีวิตสะสมเพิ่มมาที่ 4.05 ล้านราย

 

สถานการณ์ในไทยวานนี้พบเสียชีวิตเพิ่ม  80 ศพ ติดเชื้อรายใหม่ 8,656 ราย

ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 224,232 ราย ผู้เสียชีวิตสะสมรวม 2,791 คน

 

·         WHO ออกโรงเตือนประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดส จะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ Delta  โดยที่ไม่แสดงอาการใดๆ

ขณะที่ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลก ระบุว่า ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโดยส่วนใหญ่สามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ดี พบว่า หลายแห่งในโลกมีการพบยอดติดเชื้อ Covid มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีน “ระดับต่ำ” และส่วนใหญ่พบว่าเป็นสายพันธุ์ Delta ที่กำลังระบาด

 

·         รัฐบาลอังกฤษ “ยัน” แผนยกเลิก Lockdown เต็มรูปแบบ แม้จะมีความกังวลต่อสถานการณ์ระบาดของ Delta ที่เพิ่มมากขึ้น

 

·         Johnson & Johnson ร่วมหารือกับองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) สำหรับการพิจารณาผลข้างเคียงของวัคซีน COVID-19

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.55 - 32.70 บาท/ดอลลาร์

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย โดยที่ประชุมเห็นว่า ระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกันภัยมีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง ส่วนตลาดการเงินมีเสถียรภาพและสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ โดยการทดสอบภาวะวิกฤตระดับมหภาค (macro stress test) ที่หน่วยงานกำกับดูแลจัดทำ พบว่าธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม และบริษัทประกันภัย มีสภาพคล่องเพียงพอและมีฐานะทางการเงินที่สามารถรองรับภาวะวิกฤตได้

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) คาดเศรษฐกิจไทยในปี 64 จะเติบโตได้ที่ 1.5% จากความไม่แน่นอนในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ซึ่งกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในปีนี้ให้ลดลงเหลือประมาณ 5 แสนคน จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 1 ล้านคน ถึงแม้สถานการณ์โดยรวมของการระบาดครั้งนี้จะไม่รุนแรงเท่าปีที่แล้วที่มีการล็อกดาวน์ทุกภาคส่วน แต่การระบาดครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อภาคบริการพอสมควร


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com