· ความผันผวนของตลาดน้ำมันกระทบ "เงินเฟ้อ"
OPEC+ เป็นปัจจัยหลักที่ดันราคาน้ำมันกลับขึ้นไปยังบริเวณ 80 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2018 รวมทั้งคุกคามมุมมองเงินเฟ้อของเฟดที่คาดหวังว่า "การปรับขึ้นของเงินเฟ้อเป็นเพียงสภาวะชั่วคราว" ควบคู่กับทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังไวรัสระบาด
ในปีที่แล้ว Oil Price War ระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่าน ก็สะท้อนว่า ข้อขัดแย้งของสมาชิก OPEC+ ไม่ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นเสมอไป
แต่สัปดาห์นี้ท่าทีขัดแย้งของกลุ่มสมาชิก OPEC+ ดูจะกลายเป็นปัจจัยที่สนับสนนุให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น โดยในปี 2021 นี้ ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นมาได้แล้วประมาณ 50%
บรรดาเทรดเดอร์ส่วนใหญ่เองก็ยังไม่ได้ลดคาดการณ์ที่จะเห็นน้ำมันดิบกลับไปที่ 100 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นสูงสุดที่ไม่ได้เห็นมาตั้งแต่ปี 2014
· ราคาน้ำมันดิบทรงตัวหลังจากที่ดิ่งแรง - ตลาดรอ "ความชัดเจน" ของกลุ่ม OPEC+
ในวันนี้ราคาน้ำมันดิบค่อนข้างเคลื่อนไหวทรงตัวหลังจากที่ปรับตัวลงอย่างมากเมื่อวานนี้ จากการ "ยกเลิก" ประชุม OPEC+ จึงเพิ่มโอกาสที่บรรดาผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่จะยังไม่กลับมาเพิ่มกำลังการผลิตหรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดระหว่างกัน
สัญญาน้ำมันดิบ Brent ขยับขึ้น 3 เซนต์ บริเวณ 74.56 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่เมื่อวานนี้ปรับตัวลดลงไปกว่า 3%
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ขยับขึ้น 7 เซนต์ มาที่ 73.44 เหรียญ/บาร์เรล หลังวานนี้ปิดร่วงลงกว่า 2%
อย่างไรก็ดี ความเห็นต่างระหว่าง "ซาอุดิอาระเบีย" ที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของ OPEC กับ "สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)" ก็ดูจะขยายเวลาการตรึงกำลังการผลิตออกไปก่อน จึงอาจเป็นตัวช่วยหนุนราคาน้ำมันหลังจากที่อุปสงค์ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา นอกจากนี้ มุมมองที่แตกต่างกันถือเป็น "เหตุผลหลัก" ที่ทำให้การหารือของที่ประชุมครั้งนี้ "ล้มเหลว"
ที่มา: CNBC, Reuters