• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม2564

    31 พฤษภาคม 2564 | Gold News


ทองทะยานกลับเหนือ 1,900 เหรียญ หลังเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นและกลับเคลื่อนไหวสู่แดนบวกในวันศุกร์ โดยมีการฟื้นตัวเหนือ 1,900 เหรียญอีกครั้ง ซึ่งทองคำได้รับอานิสงส์จาก
- ดัชนีเงินเฟ้อสหรัฐฯปรับตัวขึ้นในเดือนเม.ย.
- ความต้องการสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
- ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่ากลับร่วงลงมาบริเวณ 89.99 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีร่วงกลับมาที่ 1.581
%

·         ทองคำตลาดโลกปิด +0.3ที่ 1,902.27 เหรียญ
หลังช่วงต้นตลาดปรับขึ้นได้มากถึง 0.8
%
สัปดาห์นี้ปิดสัปดาห์แดนบวกต่อเนื่องอีก 1.1% ถือเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ติด

 


·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนส.ค. ปิด +0.4ที่ 1,905.3 เหรียญ


 

·         ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเม.ย. ขยายตัวเร็วกว่าคาด ขณะที่ข้อมูลมาตรวัดเงินเฟ้อล่าสุดก็ยังตอกย้ำการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเหนือเป้าหมาย 2ของเฟด


 

·         ผู้อำนวยการฝ่ายการซื้อขายจาก High Ridge Futures มองว่า การปรับขึ้นของข้อมูลการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ทั้งหมดนี้ยังคงช่วยสนับสนุนสภาวะเงินเฟ้อ และค่อนข้างเป็นผลดีต่อตลาดทองคำ และยิ่งหากเฟดยังไม่เริ่มต้นลด QE หรือเลือกจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ปัจจัยเหล่านี้ก็จะยังเป็น “บวก” ต่อราคาทองคำให้ทดสอบแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาได้ แต่การแข็งค่าของดอลลาร์ก็ดูจะเป็นปัจจัยลบที่สร้างแรงกดดันและความผันผวนในตลาดทองคำได้

 

·         ทำเนียบขาวเผย แผนงบค่าใช้จ่ายสำหรับปีงบประมาณ 2022 ที่สูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญ ที่อาจมุ่งเน้นการเพิ่มงบสำหรับด้านโครงสร้างพื้นฐาน, การศึกษา และการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 

·         นักกลยุทธ์จาก RJO Futures กล่าวว่า ในทางเทคนิค ยังคงสนับสนุนทองคำอยู่ ดังนั้น เมื่อราคาอ่อนตัว จึงเป็นจังหวะดีที่ควรจะเข้าซื้อ เพราะถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่เงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องควบคู่ไป จะเป็นปัจจัยที่หนุนความต้องการทองคำให้เพิ่มสูงขึ้น


 

·         กองทุน SPDR เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำการเทขายทองคำ 0.87 ตัน โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,043.21 ตัน



ภาพรวมเดือนพ.ค. เป็นเดือนแรกที่มีสถานะเข้าซื้อสุทธิ 26.17 ตัน หลังจากที่ 7 เดือนขายต่อเนื่อง

 

อย่างไรก็ดี ภาพรวมตั้งแต่ต้นปี – ปัจจุบัน SPDR มีสถานะขายสุทธิที่ +127.53 ตัน


·         ซิลเวอร์ปิดทรงตัวบริเวณ 27.86 เหรียญ

·         แพลทินัมปิด -0.2ที่ 1,176.99 เหรียญ

·         พลาเดียมปิด +0.8ที่ระดับ 2,827.04 เหรียญ

 

·         จีนแสดงความกังวลมากขึ้นเกี่วกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรภาคธุรกิจ

 

มาตรวัดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบของดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จีนขยายตัวขึ้นแตะ 6.8เมื่อเทียบกับปีก่อนในเดือนเม.ย. ถือเป็นการปรับตัวขึ้นที่รวดเร็วที่สุดในรอบกว่า 3 ปี แต่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนกลับเพิ่มขึ้นเพียง 0.9จากราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ การปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก กำลังเพิ่มแรงกดดันต่อภาคธุรกิจขนาดเล็กในจีน หลังจากที่เผชิญกับผลกระทบของวิกฤตไวรัสโคโรนามาในช่วงก่อนหน้า

นอกจากนี้ สัญญาณของหลายๆปัญหาที่เริ่มเห็นมากขึ้น ดูจะทำให้ นายหลี่ เคอะเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน และบรรดาผู้นำคนอื่นๆ เริ่มเน้นย้ำในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาถึงการจะ “เพิ่มแรงหนุน” ภาคธุรกิจต่อไป จากปัญหา “การเงิน” และ “ราคาสินค้าโภคภัณฑ์” ที่เพิ่มสูงขึ้น

 

·         หยวนแข็งค่ามากสุดรอบ 3 ปี ขณะที่ดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 1 ปี  ปิดสัปดาห์ร่วงลง แม้ตลาดจะตอบรับกับข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

อดีตธนาคารกลางจีน (PBoC) เผยว่า ค่าเงินหยวนยังไม่มีเสถียรภาพมากนักเมื่อเทียบดอลลาร์  ขณะที่เดือนพ.ค. หยวนแข็งค่าแล้ว 1.7% ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 3 ปี หลุดระดับสำคัญทางจิตวิทาย 6.4 หยวน/ดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว จากความกังวลเรื่องแนวทาง One-Way ในการกำหนดนโยบายการเงิน ขณะที่ค่ากลางหยวนเมื่อวันศุกร์อยู่ที่ 6.3858 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 2018

ดอลลาร์ช่วงต้นตลาดอ่อนค่าลงต่อ ท่ามกลางเหล่าเทรดเดอร์ที่มีการปรับลดสถานะก่อนปิดเดือนนี้ และก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุด ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯส่วนใหญ่ที่สะท้อนถึงภาวะเงินเฟ้อปรับขึ้น และสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจาก  Covid-19

ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นได้ราว 0.4% รีบาวน์ได้กลับจากที่ทำต่ำสุดรอบ 4 เดือนเมื่อวันอังคารที่แล้ว ก่อนที่จะปรับตัวลงมาบริเวณ 89.99 จุด

ยูโรปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย 0.05ที่ 1.22 ดอลลาร์/ยูโร เทียบกับสูงสุดรอบ 4 เดือนที่ 1.2266 ดอลลาร์/ยูโร ที่ทำไว้ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

ปอนด์ทรงตัวบริเวณ 1.4199 ดอลลาร์/ปอนด์ ล่าสุดปิดทรงตัวเหนือ 1.42 ดอลลาร์/ ปอนด์


·         วันนี้ตลาดสหรัฐฯ – อังกฤษ ปิดทำการเนื่องในวันหยุดประจำชาติ




 

·         Bitcoin ทรงตัวบริเวณ 40,000 เหรียญ หลังเผชิญสัปดาห์ซื้อขายที่ผันผวน


·         กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เผย ดัชนี Core PCE Price Index สหรัฐฯขยายตัวเร็วกว่าคาด ปรับขึ้นแตะ 3.1% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี ตอกย้ำแรงกดดันเงินเฟ้อที่ก่อตัวขึ้นท่ามกลางการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ




ข้อมูลล่าสุดยังสอดคล้องกับข้อมูล CPI ประจำเดือนเม.ย. ที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว 4.2ในขณะที่ข้อมูลเทียบรายเดือนของ Core PCE Price Index ล่าสุดขยายตัวได้สูงกว่าคาดแตะ 0.7ในเดือนเม.ย.

 

·         ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญอื่นๆ:
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตเขตชิคาโก ปรับขึ้นเกินคาดแตะ 75.2 จุด ทำสูงสุดตั้งแต่พ.ย. ปี 1973
- ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพ.ค. ของมหาวิทยาลัย ออกมาลดลงกว่าที่คาดเล็กน้อย 82.9 จุด แต่น้อยลงจากข้อมูลประมาณการณ์ครั้งแรกที่อยู่ที่ 88.3 จุด

 

·         CIO จาก Synovus กล่าวกับทาง CNBC ว่า เงินเฟ้อที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นเวลานี้ ไม่ได้เป็นการ “ปรับขึ้น” ชั่วคราว

 

·         แผนงบค่าใช้จ่ายขนานใหญ่ของ “ไบเดน” 6 ล้านล้านเหรียญ หรือเป็นงบประมาณที่สูงกว่า 50ก่อนช่วงเกิดวิกฤต Covid-19 จ่อหนุนแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตได้อย่างพอประมาณสำหรับระยะยาวในการยกระดับเศรษฐกิจ แต่ก็มีแนวโน้มจะสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับประชากรสูงอายุในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น

 

·         คนว่างงานสหรัฐฯนับล้านรายใน 24 มลรัฐของสหรัฐฯจะสูญเสียการรับสวัสดิการว่างงานเร็วสุด 12 มิ.ย. นี้

 

·         เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มฟื้นตัวได้รวดเร็วช่วง Q1/2021 ก่อนเผชิญกับ Second Wave จาก Covid-19


 

·         รัฐบาลญี่ปุ่น เผย ข้อมูลผลผลิตภาคโณงงานขยายตัวได้ 2.5เมื่อเทียบรายเดือน


 

·         ผลผลิตโรงงานของเกาหลีใต้เดือนเม.ย. ขยายตัวลงเกินคาดจากเดือนมี.ค. สู่ระดับ -1.6% หดตัวมากสุดตั้งแต่พ.ค. ปีที่แล้ว จากที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 1.5%


 

·         เกาหลีเหนือตำหนิการยุติแนวทางการจำกัดกรอบมิสไซน์ของเกาหลีใต้ว่าเป็นการดำเนินการ “สองมาตรฐาน”


 

·         “เบนจามิน เนทันยาฮู” นายกรัฐมนตรีอิสราเอล จ่อหลุดเก้าอี้นายกฯ จากพรรคคู๋แข่งจับมือจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อโค่นการดำรงตำแหน่งของเขามาเป็นเวลานานกว่า 12 ปี

  

CORONAVIRUS UPDATES:

·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด ทั่วโลกยอดติดเชื้อสะสมเพิ่มขึ้นมาทะลุ 171 ล้านราย ยอดเสียชีวิตสะสมทั่วโลกแตะ 3.55 ล้านราย

 


·         CDC สหรัฐฯ  ชี้ ชาวอเมริกาเกือบครึ่งประเทศได้รับวัคซีนแล้วคนละ 1 โดส หรือคิดเป็น 49.9% ขณะที่ยอดติดเชื้อ Covid-19 ลดลงต่อเนื่อง

ขณะที่ผู้ได้รับวัคซีนในประเทศครบสองโดสแล้วมีไม่น้อยกว่า 40% เฉลี่ยคนรับวัคซีนรายวันในสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ 1.6 ล้านโดส

ค่าเฉลี่ยยอดติดเชื้อรายวันลดลงราว 5% หรือกว่า 43 รัฐของประเทศ  รวมถึงเขตใหญ่อย่างโคลอมเบียด้วย

 

·         CNBC เผย ยอดติดเชื้อ Covid-19 ในสหรัฐฯลดลงใกล้ต่ำสุดในช่วงระบาด ขณะที่การเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุด Memorial Day

 

·         อังกฤษอนุมัติใช้วัคซีนบริษัท Johnson&Johnson ที่ใช้เพียงการฉีด จำนวน โดส

 

·         ยอดติดเชื้อ Covid-19 ในอังกฤษ จากสายพันธุ์อินเดียเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ล่าสุดพบยอดติดเชื้อจากสายพันธุ์อินเดียมากถึง 6,959 รายในวันพุธที่แล้ว เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนที่อยู่ที่ 3,535 ราย

 

·            “แอนโธนี บลินเคนส์” รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ชี้ สหรัฐฯและอินเดียกำลังร่วมมือกันจัดการกับปัญหา  Covid-19

 

·         WHO ชี้ การสอบสวนหาแหล่งกำเนิด Covid-19 กำลังกลายเป็น “ปัญหาทางการเมือง”

 

·         ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการลดข้อเสนอ UN จากการคว่ำบาตรอาวุธในพม่า

 

·         สถานการณ์ระบาดในไทย ช่วง 3 วันที่ผ่านมา รวมกว่า 13,090 ราย เสียชีวิตรวม 3 วันเพิ่ม 92 ราย

วันศุกร์ พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 3,759 ราย เสียชีวิตอีก 34 ราย
วันเสาร์ พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 4,803 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 34 ราย
วันอาทิตย์ พบผู้ติดเชื้อใหม่ 4
,528 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 24 ราย

รวมติดเชื้อสะสมในประเทศ 154,307 ราย
เสียชีวิตสะสมในประเทศ 1,012 ราย

 

·         โฆษกรัฐบาลยืนยัน พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท มีกรอบการใช้เงินชัดเจนโปร่งใส รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย

 

·         นักบริหารการเงิน มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์นี้ ที่ 31.15-31.50 บาท/ดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดและรายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนเม.ย. ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ

 

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย

ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร

อัตราการว่างงาน

การจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP

ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิตและบริการเดือนพ.ค.

รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนเม.ย.

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

รายงาน Beige Book ของเฟด

ปัจจัยสำคัญอื่นๆ ได้แก่

การประชุม G-7

สถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศ

ดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการเดือนพ.ค. ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษเช่นกัน

 

สำหรับในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินหยวนและสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และข้อมูลการส่งออกเดือนเม.ย. ของไทยที่เติบโตดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้เงินดอลลาร์ยังเผชิญแรงกดดันระหว่างสัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมากล่าวย้ำว่า เฟดจะยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง และมองว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเป็นภาวะชั่วคราว

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวทันหุ้น

- หุ้นไทยช่วง 31 พ.ค.-4 มิ.ย. คาด Sideways จับตาสถานการณ์โควิด-ประชุมโอเปก

ดัชนีจะแกว่งตัวกรอบแคบ หรือ Sideways โดยมีแนวรับที่ 1,567 จุด และ 1,555 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,595 จุด และ 1,606 จุด  โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 3 ในไทย ยังไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันยังสูงต่อเนื่อง รวมถึงผู้เสียชีวิต ดังนั้นความคาดหวังจึงอยู่กับวัคซีน ซึ่งจากตัวเลขการจองวัคซีนในปัจจุบัน ผ่านหมอพร้อม 8 ล้านราย และผ่านไทยร่วมใจ 1 ล้านราย อาจยังไม่สูงมากนัก แต่มีสัญญาณบวกจากโรงพยาบาลเอกชนที่เจรจานำเข้าวัคซีนทางเลือกอื่นๆ ที่มีความชัดเจนขึ้น และอาจส่งมอบได้อย่างเร็วในเดือน มิ.ย.จะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความหวังมากยิ่งขึ้น

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- คลังขอประเมินศก.ก่อนออกมาตรการเยียวยาเพิ่มชงครม.ขยาย "เราชนะ" ถึงสิ้นมิ.ย.

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ผลกระทบเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่ ว่าจำเป็นต้องมีมาตรการออกมาดูแลประชาชนเพิ่มเติมในช่วงใด เนื่องจากขณะนี้ยังมีมาตรการ "เราชนะ" ซึ่งยังเหลือเม็ดเงินรอการเบิกจ่ายอีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาท รวมถึงมาตรการ ม33 เรารักกัน ของกระทรวงแรงงาน ซึ่งยังเบิกจ่ายเงินไม่หมดและยังเพียงพอที่จะดูแลเศรษฐกิจในช่วงเดือน พ.ค.


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com