· นักลงทุนพร้อมรับศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 3 พ.ย.
กลุ่มนักลงทุนดูจะมีความเห็นที่แตกต่างต่อแนวคิดของผู้ที่จะมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ ในเรื่อง
- ภาษี
- การใช้จ่ายภาครัฐ
- การค้า
- กฎระเบียบต่างๆ
หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดโลกจาก Invesco กล่าวว่า "ตลาดมีความกังวลต่อผลเลือกตั้ง" แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ชัยชนะของใครก็น่าจะเป็น "ข่าวดี" สำหรับตลาดหุ้นได้
ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นถึงกระแส "Blue Wave" ที่เกิดขึ้น ในการที่ "นายไบเดน" และพรรคเดโมแครตกวาดชัยชนะและครองเสียงข้างมากของวุฒิสภาสหรัฐฯได้ หรืออาจครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ด้วย ทั้งหมดนี้ถือเป็นการควบคุมคองเกรสครั้งใหญ่ได้ และผลที่ตามมาคือ
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มปรับตัวลง
- ดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่า
- อาจเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่
- ภาคอุตสาหกรรมน่าจะได้รับอานิสงส์จากนโยบายพลังงานสีเขียว และ Solar Stocks
สถาบัน Bortel Investment Management กล่าวว่า หากเดโมแครตครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯได้จริง ก็น่าจะช่วยหนุน "ระบบบริการด้านการเงิน" ให้ปรับตัวขึ้นได้ ดังนั้น *การลงทุนในระยะยาวของเขาจึงเป็นบวก*สำหรับปัจจัยนี้
ตลอดช่วง 2 เดือนที่จะจบลงในวันพุธนี้ "นายไบเดน" ยังคงเป็นบุคคลที่ JPMorgan คาดว่าน่าจะหนุนให้ตลาดหุ้นขึ้นได้ *4.5%* เมื่อเทียบกับชัยชนะของนายทรัมป์ในช่วงแรกที่หุ้นตกลงไปถึง 16%
ความกังวลครั้งใหญ่ของตลาด!
ความกังวลครั้งใหญ่ของตลาดคือการไม่มั่นใจที่จะเห็น "ผลคะแนนโหวต" และการปราศจากผลคะแนนที่แน่ชัด ทาง Inveesco ประเมินว่าจะส่งผลกระทบให้
- นักลงทุนในตลาดหุ้นเกิดการเทขาย
- นักลงทุนกลับถือครอง Safe-Haven อาทิ ทองคำ และตราสารหนี้สหรัฐฯแทน
หรืออาจมีการเข้าซื้อค่าเงินเยนและค่าเงินดอลลาร์ได้
นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งก็อาจนำมาซึ่ง "ความไม่แน่นอนในเรื่องโอกาสเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ"
Big Surprise อีกเรื่องสำหรับนักลงทุนคือ "Red Wave" หากนายทรัมป์ชนะ และรีพับลิกันครองสภาคองเกรสได้เช่นเดิม (แม้มุมมองนี้จะมีความเป็นไปได้ที่ค่อนข้างต่ำ) แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นและสร้างความผันผวนได้ และหุ้นหลายๆภาคส่วนก็อาจฟื้นตัวได้จากการที่ "นายทรัมป์" เป็นฝ่ายชนะ
JPMorgan ประเมินในสัปดาห์ที่แล้วว่า "ชัยชนะของนายทรัมป์" ถือเป็นผลบวกต่อตลาดหุ้นต่างๆ
อย่างไรก็ดี ในท้ายที่สุดนี้ นักลงทุนทุกคนก็ยังต้องการความชัดเจน
หัวหน้านักกลบุทธ์จาก Wells Fargo Investment Institute ระบุว่า ตลาดน่าจะรอเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวตามเสียงข้างมากที่มาครองสภาคองเกรส รวมทั้งทีมบริหารของรัฐบาลชุดใหม่ด้วย
· หุ้นเอเชียเพิ่มขึ้น ได้แรงหนุนจากยอดการผลิตจีนที่ออกมาแข็งแกร่ง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง
ตลาดหุ้นเอเชียฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากยอดการผลิตของจีนที่ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบทศวรรษ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงเนื่องจากประเทศทางตะวันตกหลายประเทศกลับเข้าสู่การ Lockdown เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
เหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์นี้คือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตามหลังโจไบเดนผู้ท้าชิงในการสำรวจความคิดเห็นระดับชาติ
อย่างไรก็ตามการสำรวจความคิดเห็นในรัฐที่มีการแข่งขันสูงที่สุดซึ่งจะตัดสินการเลือกตั้งได้ แสดงให้เห็นว่านายโจ ไบเดน ยังคงมีคะแนนนำอยู่
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลสดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.36%
· หุ้นญี่ปุ่นรีบาวน์จากระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จากผลประกอบการณ์ที่ออกมาแข็งแกร่ง
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น โดยการบดบังผลกระทบจากหุ้นสหรัฐที่ลดลงเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณการฟื้นตัวของผลประกอบการในประเทศและสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ในประเทศที่ชะลอตัวลงทำให้ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิด +1.39% ที่ระดับ 23,295.48 จุด หลังจากร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ด้านดัชนี Topix +1.81% ที่ระดับ 1,607.95 จุด
· หุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น จากภาคการผลิตจีนที่แข็งแกร่ง
ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้นในวันนี้ หลังจากกิจกรรมภาคโรงงานขยายตัวได้มากที่สุดในรอบเกือบทศวรรษ จึงบ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังได้รัลผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี blue-chip CSI300 ปิด +0.54% ด้านดัชนี Shanghai Composite ปิด +0.02% ที่ระดับ 3,225.12 จุด
· หุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสานกัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนเลือกตั้งสหรัฐฯ
ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยดัชนี FTSEurofirst 300 เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว
ทั้งนี้ ตลาดให้ความสนใจไปยังความไม่แน่นอนในการเลือกตั้งของสหรัฐฯและการพัฒนาโคโรนาไวรัสล่าสุด โดยดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯทรงตัวในการซื้อขายเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดของไวรัสโคโรนาไวรัสต่อเศรษฐกิจโลก
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- หุ้นไทยปิดเช้าบวก 0.99 จุด แกว่งแคบคล้ายภูมิภาคช่วงรอผลเลือกตั้งสหรัฐ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,195.94 จุด เพิ่มขึ้น 0.99 จุด (+0.08%) มูลค่าการซื้อขายราว 19,145 ล้านบาท
การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ โดยทำระดับสูงสุดที่ 1,199.45 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,191.44 จุด
- นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า คาดว่าทองคำในสัปดาห์หน้าราคาจะผันผวน เนื่องจากนักลงทุนและตลาดจับตาผลการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะออกมาอย่างไร และนโยบายที่ออกมาจะเป็นอย่างไร โดยขณะนี้ควรชะลอการลงทุนออกไปซักระยะเพื่อรอทิศทางที่ชัดเจนว่าจะหลุดแนวรับหรือทะลุแนวต้านขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในระยะนี้ อาจทำให้ราคาทองคำในประเทศปรับตัวขึ้นได้บ้าง โดยมองกรอบราคาตลาดโลกอยู่ที่ 1,875-1,925 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์
- "พาณิชย์" เผยสหรัฐฯตัดจีเอสพีสินค้าไทย 231 รายการ หลังไม่นำเข้าเนื้อสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดง มีผล 30 ธ.ค.63ยันไทยยังส่งออกสินค้าดังกล่าวได้ตามปกติเพียงแค่ต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่ม ย้ำมีผลกระทบจริงแค่ 147 สินค้า คิดเป็นภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม19 ล้านเหรียญฯ ลั่นหาทางออก ช่วยเหลือผู้ส่งออกแล้ว
ส.อ.ท.ชี้ สหรัฐฯตัดสิทธิ์จีเอสพีไทยไม่สะเทือน มองกระทบแค่ช่วงสั้น ระบุไม่ใช่การซ้ำเติมเศรษฐกิจ พร้อมแนะเอกชนต้องเร่งปรับตัว ด้านผู้ประกอบการเหล็กปลื้ม รัฐงัดมาตรการป้องกันการหลบเลี่ยงการค้า ปิดช่องโหว่พ่อค้าหัวหมอดัดแปลงคุณสมบัติ
- "200 ซีอีโอ" ไทยผวา 2 ปัจจัยหลัก "โควิดระบาดรอบ 2-ความวุ่นวายทางการเมือง" ทุบเศรษฐกิจไทยร่วง ความเชื่อมั่นดิ่ง นักลงทุนหนีซีอีโอ 77.4% หนุนแก้รัฐธรรมนูญลดขัดแย้ง ขณะที่ซีอีโอกว่า 76% หวั่นโควิดระบาดรอบสองจะเป็นตัวแปร สำคัญที่สุดฉุดธุรกิจทรุด เกิดความเสี่ยงสูง เร่งรักษาสภาพคล่อง กระแสเงินสด บางส่วนชะลอลงทุน แนะทางออกแก้วิกฤติชาติ "ถอยคนละก้าว หันหน้าเจรจาร่วม" ขณะที่ "ไม่เชื่อ" กรรมการสมานฉันท์ แก้วิกฤติได้