· หุ้นเอเชียปรับตัวลง แต่ภาพรวมรายเดือนต.ค.เพิ่มขึ้นเกือบ 4%
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจที่สั่นคลอน
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.1% แต่ภาพรวมรายเดือนต.ค.ปรับตัวขึ้นได้ 3.8% และนักวิเคราะห์คาดว่าผลการดำเนินงานที่ดีกว่านี้จะขยายออกไปอีก
· หุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ภาพรวมรายสัปดาห์ลดลงมากสุดรอบ 3 เดือน จากกังวลไวรัสโคโรนา
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง และภาพรวมรายสัปดาห์ปรับลงมากที่สุดในรอบ 3 เดือน ท่ามกลางผลประกอบการภาคบริษัทที่ออกมาผสมผสานกัน ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มสูงขึ้น และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กดดันความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุน
โดยการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในยุโรปและสหรัฐฯกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนสัปดาห์นี้ โดยฝรั่งเศสและเยอรมนีได้กลับมาใช้มาตรการ Lockdown ทำให้เกิดความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ด้านนักวิเคราะห์ ระบุว่า ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผลลัพธ์ที่สรุปไม่ได้ในการเลือกตั้งสหรัฐในวันที่ 3 พ.ย.ที่จะถึงนี้และการลดลงอย่างรวดเร็วของหุ้นฟิวเจอร์สของสหรัฐในช่วงการซื้อขายตลาดเอเชียทำให้นักลงทุนลดสถานะ long positions
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ปิด -1.52% ที่ระดับ 22,977.13 จุด ภาพรวมรายสัปดาห์ลดลง 2.3% มากที่สุดนับัต้งแต่วันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา
ด้านดัชนี Topix ปิด -1.96% ที่ระดับ 1,579.33 จุด ภาพรวมรายสัปดาห์ลดลง 2.83%
· หุ้นจีนปรับตัวลดลง แม้หุ้นกลุ่มผู้บริโภคและภาคธนาคารจะช่วยหนุนให้ภาพรวมรายเดือนปรับขึ้นได้ก็ตาม
ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลดลง โดยถูกกดดันจากหุ้นกลุ่มบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม จากผลประกอบการไตรมาสที่สามที่ออกมาชะลอตัวลง แม้ว่าภาพรวมรายเดือนจะปรับขึ้นได้จากหุ้นกลุ่มผู้บริโภคและภาคธนาคารก็ตาม
โดยดัชนี blue-chip CSI300 ปิด -1.6% ที่ระดับ 4,695.33 จุด ด้านดัชนี Shanghai Composite ปิด -1.5% ที่ระดับ 3,224.53 จุด สำหรับภาพรวมรายดือนดัชนี CSI300 +2.4% ด้านดัชนี SSEC +0.2%
· หุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ถูกกดดันจากความไม่แน่นอนเลือกตั้งสหรัฐฯและการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง เนื่องจากกความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯที่กำลังจะมาถึงและการเข้มงวดเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาทั่วทั้งทวีปมีส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุน
โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.7% ด้านหุ้นกลุ่มยานยนต์ร่วงลง 1.1% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ
ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในวันเดียวถึงครึ่งล้านคนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาและขณะนี้สหภาพยุโรปมีแผนจัดหาเงินทุนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไวรัสโคโรนา ข้ามพรมแดนเพื่อหลีกเลี่ยงการรับภาระของโรงพยาบาลมากเกินไปเนื่องจากไวรัสที่กำลังระบาดทั่วทวีป
· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- การซื้อขายหลักทรัพย์ภาคเช้าวันศุกร์ (30 ต.ค. 63) เวลา 12.30 น. ดัชนีปิดอยู่ที่ 1,194.80 จุด ปรับลดลง -6.84 จุด หรือ -0.57% มูลค่าการซื้อ-ขายทั้งสิ้น 26,356.21 ล้านบาท
5 อันดับ หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด คือ SCGP ปิดที่ 35.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท, STA ปิดที่ 35.00 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง, AOT ปิดที่ 51.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท, KBANK ปิดที่ 76.00 บาท ลดลง -0.50 บาท และ PTT ปิดที่ 30.75บาท ลดลง -0.25 บาท
- เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 63 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 12 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,775 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 59 ราย รักษาหายเพิ่ม 15 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 3,585 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 131 ราย
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ไว้ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ
Fitch เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและเติบโตในระยะปานกลางได้ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะฟื้นตัว ขึ้นร้อยละ 3.8เป็นผลจากการดำเนินมาตรการทางการคลังของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการ ระบาดของ COVID-19 และงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้แล้ว สร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการใช้จ่ายของ ภาครัฐในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศมีความเปราะบางได้แต่ยังติดตามสัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อ GDP และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ของภาครัฐและการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง
- ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า วันนี้จะเข้าหารือร่วมกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน เพื่อเสนอให้พิจารณาปลดล็อกเงื่อนไขโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค.64 เพื่อกระตุ้นกระแสการเดินทางและยอดการใช้สิทธิ์จองห้องพักให้ถึงเป้าหมาย 5 ล้านคืน
- คณะกรรมการโรคติดต่อฯ เห็นชอบ"นโยบายกักกันโรคระดับชาติ" รับเปิดประเทศ กำหนด 10 ข้อจัดการในสถานที่กักกันโรค ใช้บังคับทุกรูปแบบกักตัวเจ้าของ-ผู้เข้ากักกัน ฝ่าฝืนโทษปรับสูงสุด 2 หมื่น เตรียมชงศบค.ลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน การประชุมครั้งหน้า