• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 1 กันยายน2563

    1 กันยายน 2563 | Economic News
 

·         ดอลลาร์อ่อนค่าท่ามกลางภาวะขาลงจากแนวโน้มดอกเบี้ย

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากที่ไปทำต่ำสุดในรอบหลายปีเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่เพิ่มคาดการณ์เกี่ยวกับการดำเนินกรอบนโยบายการเงินของเฟดที่น่าจะยังคงดอกเบี้ยระดับต่ำมากกว่าของประเทศอื่นๆ

 

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงทำต่ำสุดรอบ 2 ปีที่ 91.775 จุด

 

ออสเตรเลียดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 2 ปี หลังจากที่ธนาคารกลางออสเตรเลียคงดอกเบี้ยในระดับต่ำ 0.25% และมีการขยายกองทุนเพื่อภาคธนาคารต่างๆ  โดยคาดจะขยายเวลากองทุนออกไปถึงช่วงกลงาปี 2021

 

เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ตลาดเมินความกังวลเกี่ยวกับตึงเครียดทางการทูตจากกรณีไต้หวัน โดยเงินหยวนแข็งค่ามากที่สุดในรอบกว่า 1 ปีเมื่อเท่ียบดอลลาร์ที่ระดับ 6.8181 หยวน/ดอลลาร์

 

ปฏิทินเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ข้อมูลภาคการผลิต, ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน และการจ้างงาน แต่ผลเชิงบวกทั้งหมดไม่มีแนวโน้มจะช่วยลดภาวะอ่อนค่าของดอลลาร์ได้ เนื่องจากตลาดยังมีคาดการณ์ที่แข็งแกร่งเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยของเฟดในระดับต่ำอยู่

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นมาที่ 1.1997 ดอลลาร์/ยูโร ถือเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ พ.ค. ปี 2018

 

ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 1.3413 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากสุดนับตั้งแต่ธ.ค. ปีที่แล้ว ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น กล่าวว่าข้อตกลงการค้า อังกฤษ-ญี่ปุ่นใกล้บรรลุข้อตกลงแล้ว

 

ค่าเงินเยนแข็งค่ามาที่ 105.75 เยน/ดอลลาร์ โดยเงินเยนเคลื่อนไหวตามกลุ่มนักลงทุนที่ให้ความสนใจว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่

 

ทั้งนี้ นายโยชิฮิเดะ ซูกะ ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าโฆษกคณะรัฐมนตรี ดูจะได้รับการสนับสนุนและเสนอชื่อในการดำรงตำแหน่งนายกฯญี่ปุ่นคนต่อไป และดูเหมือนเขาจะเป็นหนึ่งในคนที่ใกล้ชิดกับนายอาเบะ และนั่นทำให้มีแนวโน้มที่จะมีการสานต่อนโยบายของนายอาเบะ ในฐานะนายกฯญี่ปุ่นคนต่อไปได้

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ก่อนหน้าการประกาศข้อมูลการใช้จ่ายของผู้บริโภค


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นมาที่บริเวณ 0.7081% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับลงมาที่ 1.4832%


 

 

·         สหรัฐฯเพิ่มการสนับสนุนไต้หวัน เพิ่มแรงกดดันจีน

 

สหรัฐฯประกาศเริ่มต้นเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับไต้หวัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการผูกสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับไต้หวันมากขึ้น พร้อมกับให้การสนับสนุนไต้หวันที่มีการเผชิญแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น

 

นอกจากนี้ สหรัฐฯยังมีการระบุถึง "หลักประกัน 6 ประกัน" ที่นายโรนัลด์ เรแกน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯเคยใช้โทรเลขลับในการรับรองต่อไต้หวัน และการเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นการประกาศจุดยืนในการสนับสนุนไต้หวันและยิ่งท้าทายอำนาจของจีนมากขึ้น  ประกอบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบกว่าทศวรรษ ขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์  ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งในเดือนพ.ย. นี้ ด้วยการประกาศจุดยืนที่แข็งกร้าวกับจีนในการปฏิรูปนโยบายการต่างประเทศ



·         อัตราการว่างงานยูโรโซนประจำเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นอีกครั้งที่ระดับ  7.9% เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 

 

หลังจากที่อัตราการว่างงานฉบับปรับปรุงที่ 7.7% ในเดือนมิ.ย. แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางวิกฤตหนี้สาธารณะ

 

ยูโรกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยเศรษฐกิจสมาชิก 19 ประเทศ หดตัวลง 12.1% ในไตรมาสที่สองของปี หลังจากที่ใช้ตามมาตรการปิดกั้นที่เข้มงวดเพื่อป้องกันติดเชื้อเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกในปี 1995 ตามข้อมูลของ Eurostat


· · ·          ภาคผลิตเอเชียฟื้นตัว หลังวิกฤตโคโรนา ท่ามกลางการผลิตจีนที่ออกมาสดใส

 

ภาคการผลิตเอเชียประจำเดือนส.ค. เริ่มฟื้นตัว หลังจากที่เผชิญวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสัญญาณที่สดใสมากขึ้นในจีนทำให้ความหวังในการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั่วโลกกลับมาดีขึ้น จึงช่วยลดแรงกดดันให้ผู้กำหนดนโยบายดำเนินการที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรง

 

ขณะที่ภาคการผลิตของจีนประจำเดือนส.ค.ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบเกือบทศวรรษ เนื่องจากโรงงานต่างๆเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่ดีดตัวขึ้น ท่ามกลางยอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้

 

 

·         ผลสำรวจภาคเอกชนจีน ระบุการผลิตจีนในเดือนส.ค. ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบเกือบทศวรรษ

 

ผลสำรวจภาคเอกชนจีนแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมภาคการผลิตในเดือนส.ค.นั้นขยายตัวได้รวดเร็วที่สุดในรอบเกือบสิบปี นับตั้งแต่ม.ค. ปี 2011  โดย Caixin/Markit เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ออกมาที่ 53.1 จุดในเดือนส.ค. จาก 52.8 จุดในเดือนก.ค.

 

และการที่ดัชนียังยืนได้เหนือ 50 จุดถือเป็นสัญญาณแห่งการขยายตัว แต่หากต่ำกว่าจะเป็นการหดตัว 

 

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส กล่าวว่า อุปสงค์การผลิตและอุปทานต่างก็มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุปสงค์ในต่างประเทศที่เริ่มจะมีการปรับตัวสูงขึ้นได้บ้างแล้ว



 

·         นายกรัฐมนตรีคนต่อไปของญี่ปุ่นอาจหาวิธีขยายตลาดแรงงานด้วยนโยบาย “Abenomics”

 

ผู้ที่จะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นต่อจากนายชินโซ อาเบะ จะต้องเผชิญกับตลาดแรงงานที่ได้รับความเสียหายจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

 

นายโยชิฮิเดะ ซูกะ โฆษกระดับสูงของรัฐบาล ถูกเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของญี่ปุ่น จึงยิ่งตอกย้ำถึงโอกาสในการที่รัฐบาลจะสามารถดำเนินตามนโยบายที่นายอาเบะวางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลยุทธ์ “Abenomics” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้ การระบาดของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และสร้างความเสียหายต่อตลาดแรงงาน โดยอัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.9% ในเดือนก.ค. และมีการจ้างงานที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 6 ปี รวมทั้งมีประชาชนตกงานกว่า 2 ล้านคนในเดือนก.ค. หรือปรับขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 410,000 ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนคนตกงานที่เพิ่มมากขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ในเดือนก.ค.

 

 

·         สถานการณ์การเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในอินเดียเริ่มบรรเทาลง ท่ามกลางการสอบแอดมินชันของนักศึกษานับล้านคน และผับกลับมาเปิดให้บริการ

 

 

·         ผลสำรวจโลก เผยแผน เกือบ 3 ใน 4 ของผู้สูงอายุจะได้รับวัคซีนไวรัสโคโรนา

 

CNBC เผยผลสำรวจ World Economic Forum และ Ipsos ที่สะท้อนว่ากว่า 74% ของผู้สูงอายุทั่วโลก หรือคิดเป็นผู้สูงอายุเกือบ 20,000 รายจาก 27 ประเทศทั่วโลก คาดจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับวัคซีนต้าน Covid-19 เมื่อวัคซีนนั้นพร้อมใช้งาน แต่การดำเนินการนี้ก็อาจไม่เพียงพอต่อการยับยั้งการระบาดอย่างรวดเร็วขอไวรัสได้

 


 

·         น้ำมันดิบพุ่งขึ้น 1% จากการอ่อนค่าของดอลลาร์

 

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ปรับตัวลดลงไปในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากเหล่านักลงทุนกลับเข้ามาสินทรัพย์เสี่ยง และส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แตะระดับต่ำสุดในรอบหลายๆปี

 

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 47 เซนต์ หรือคิดเป็น 1% ที่ระดับ 45.75 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้น 43 เซนต์ หรือคิดเป็น 1% เช่นเดียวกัน ที่ระดับ 43.04 เหรียญ/บาร์เรล

 

ทั้งนี้ น้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิด ปรับตัวลดลงประมาณ 1% เมื่อวานนี้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับอุปทานล้นตลาด  โดยอุปสงค์ทั่วโลกติดอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา

 


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com