• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 14 สิงหาคม 2563

    14 สิงหาคม 2563 | Economic News
 

· ดอลลาร์ทรงตัวได้รับอานิสงส์จากไวรัสโคโรนาและข้อมูลเศรษฐกิจจีนหนุนความเชื่อมั่น

ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับขึ้น ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจจีนดูจะกดดันให้เกิดแรงเทขายเข้ามาในดอลลาร์

ข้อมูลยอดค้าปลีกจีนออกมาแย่ลงกว่าคาดเป็นเดือนที่ 7 ในเดือนก.ค.

ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงในสัปดาห์นี้มากที่สุดในรอบ 2 เดือนที่ -0.9% ทบริเวณ 106.84 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินยูโรแกว่งตัวบริเวณ 1.1816 ดอลลาร์/ยูโร ด้านเงินปอนด์ทรงตัวที่ 1.3062 ดอลลาร์/ปอนด์ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่จับตาการรีบาวน์ของข้อมูลการเติบโตในเดือนมิ.ย.


· Forex News แนะจับตายอดค้าปลีกสหรัฐฯอาจบั่นทอนความหวังต่อการฟื้นตัว

การประกาศข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯประจำเดือนก.ค. ในคืนนี้เวลา 19.30น. ถูกคาดว่าจะออกมาแย่ลงกว่าในเดือนมิ.ย. ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าวที่ถูกคาดว่าจะอ่อนแอดูจะทำให้เทรดเดอร์มีความระมัดระวังต่อผลกระทบที่จะได้รับจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เป็นผลต่อการอุปโภคบริโภค

การอุปโภคบริโภคที่อ่อนแออาจสร้างแรงกดดันให้การกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม

หากข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าวออกมาผิดทาง ดอลลาร์ก็อาจปรับอ่อนค่าลงต่อได้ท่ามกลางความกังวลที่ว่าทำเนียบขาวและธนาคารกลางต่างๆที่จำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจ หลังจากที่การเจรจาหามาตรการช่วยเหลือทางการเงินของทางคองกรสในสัปดาห์ที่แล้วยังคว้าน้ำเหลว ส่งผลให้นายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีการลงนามคำสั่งฉุกเฉินเพื่อขยายมาตรการช่วยเหลือสวัสดิการคนว่างงานที่หมดอายุลงไป พร้อมกับเขาให้คำมั่นที่จะปรับลดภาษีเพื่อเพิ่มเม็ดเงินทุนที่ดูจะเป็นข่าวบวกเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี ภาพใหญ่จะเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังปราศจากช่วงเวลาและมาตรการช่วยเหลือทางการเงินที่จะกลายเป็นปัจจัยขาลงต่อดอลลาร์ และการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อที่ดูจะมีผลต่อแผนกระตุ้นทางการเงิน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการหารือของสภาคองเกรสก็จะสร้างความน่าปวดหัวให้แก่เฟดด้วย เนื่องจากเฟดจะมีการประชุมรอบใหม่ในช่วงกลางเดือนก.ย. ยกเว้นว่าพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันจะสามารถหาข้อตกลงได้ก่อนหน้านั้น ขณะที่เฟดอาจมีการดำเนินการด้านกองทุนครั้งแรกทางเศรษฐกิจ หากว่าอัตราว่างงานยังพุ่งขึ้น และการใช้จ่ายหดตัว ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับต่ำใกล้ศูนย์ และ Balance Sheet ของเฟดที่ขยายตัวสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเประธานเฟดอาจมีการเพิ่มทางเลือกของนโยบายทางการเงิน

นอกจากนี้ ในช่วงก.ย. ยังถูกคาดว่าจะเป็นเดือนที่มีการประกาศถึงรายงานงบปีครั้งใหม่ที่จะเริ่มใน 1 ต.ค.

ขณะเดียวกันข่าวที่ว่ารัสเซียมีการอนุมัติวัคซีน "Sputnik" ก็ดูจะสร้างผลเชิงลบต่อกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย ทางด้านตึงเครียดสหรัฐฯและจีน รวมทั้งความน่าเหลือเชื่อในการพัฒนาวัคซีน ก็ดูจะเป็นหนึ่งในสภาวะความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกที่ไม่อาจแก้ไขได้โดยง่าย


· สหรัฐฯ-จีนมีแผนจะทบทวนข้อตกลงเฟสแรก 15 ส.ค.นี้

รายงานจาก Bloomberg กล่าวว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯและจีนมีแผนจะประเมินข้อตกงการค้าเฟสแรกร่วมกันในเดือนนี้ ท่ามกลางตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีน

การหารือเกี่ยวกับเรื่องข้อตกลงเฟสแรกในครั้งนี้จะประกอบไปด้วย นายโรเบิร์ต ไลท์ไธเซอร์ ตัวแทนเจรจาการค้าของสหรัฐฯ และนายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีจีน ในวันที่ 15 ส.ค. นี้

ขณะที่ทางทำเนียบขาวปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดใดๆต่อการเจรจาดังกล่าว


· EUR/USD ซื้อขายเหนือ 1.18 เหรียญก่อนทราบค้าปลีกสหรัฐฯคืนนี้

ค่าเงินยูโรมีระดับการซื้อขายเหนือ 1.18 ดอลลาร์/ยูโร ท่ามกลางดอลลาร์ที่แข็งค่าคู่กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับขึ้น แม้ว่าจะยังไม่สามารถตกลงแพ็คเกจทางการเงินได้ ประกอบกับคนว่างงานสหรัฐฯที่ดีขึ้น แต่ตลาดกลับมาให้ความสนใจกับข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯประจำเดือนก.ค. ในคืนนี้

นักวิเคราะห์จาก FXStreet มองว่า นักลงทุนควรซื้อขายด้วยท่าทีระมัดระวังและรอดูแนว 1.1900 ดอลลาร์/ยูโร หาก Break ต่ำกว่าก็มีโอกาสไปแตะ 1.1700 ดอลลาร์/ยูโร

แต่หากยืนเหนือ 1.1900 ดอลลาร์/ยูโร ก็มีแนวโน้มที่จะเห็นค่าเงินปรับขึ้นไปทำสูงสุดแนวระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 1.2000 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งแนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1.1975 - 1.1980 ดอลลาร์/ยูโร

อย่างไรก็ดี หากค่าเงินปรับหลุด 1.1700 ดอลลาร์/ยูโร ก็มีโอกาสลงเร็วและแรงกลับมาแถวแนวรับ 1.1625 - 1.1620 ดอลลาร์/ยูโรได้ และอาจลงลึกต่ำกว่า 1.1600 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่แนวรับถัดไปจะอยู่ที่ 1.1550 - 1.1540 ดอลลาร์/ยูโร


· บริษัท Novavax ส่งมอบวัคซีน 60 ล้านโดส ให้อาสาสมัครอังกฤษทดลองใช้

Novavax บริษัทพัฒนาและผลิตยา กล่าวว่า อังกฤษได้ซื้อวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา NVX-CoV2373 เพื่อทดลองใช้ในอาสาสมัคร และทดลองทางการแพทย์ในการระบาดระยะที่ 3

ทางบริษัทและรัฐบาลอังกฤษจะร่วมมือกันเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทดลองครั้งนี้กับผู้ใช้วัคซีน แต่ยังไม่ได้เปิดเผยเกี่ยวกับงบประมาณในการทดลองครั้งนี้

ทั้งนี้ทางบริษัทเตรียมที่จะส่งมอบวัคซีน 100 ล้านโดส ให้กับสหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. หลังจากได้รับเงิน 1.6 พันล้านเหรียญ เพื่อควบคุมการทดสอบและผลิตวัคซีนที่มีศักยภาพในประเทศ

โดย Novavax ได้รับเงิน 2 พันล้านเหรียญ สำหรับผลิตวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา รวมไปถึง 384 ล้านเหรียญ จากกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด(CPEI)


· ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯส่งผลกระทบต่อทั้งสองประเทศและทั่วโลก

นายฝู หลิงหุย โฆษกสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนกล่าว จีนยังคงรักษาความมั่นคงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะเป็นลบและส่งผลกระทบต่อทั้งสองประเทศและทั่วโลก

การลงทุนของจีนกำลังฟื้นตัวอย่างเสถียรภาพจากการสนับสนุนด้านนโยบายทางเศรษฐกิจ แต่การจ้างงานไม่ได้ดีขึ้นเท่าที่ควร


· ธนาคารกลางจีนเพิ่มระบบจัดการ MLF ในวันจันทร์หน้าด้วยวงเงิน 4 แสนล้านหยวนจากเงินกู้ที่หมดอายุ

ธนาคารกลางจีน (PBoC) กล่าวว่าอาจจะมีการจัดการ MLF หรือการกู้เงินระยะกลาง ด้วยวงเงินมูลค่า 4 แสนล้านหยวน (5.76 หมื่นล้านเหรียญ) ของมูลค่าทั้งหมดที่จะหมดอายุลงในวันนี้ โดยที่วอลลุมของโครงการดังกล่าวอาจต้องขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของตลาด ทั้งนี้ MLF Loan ที่มีมูลค่า 1.5 แสนล้านหยวนจะหมดอายุลงในวันที่ 26 ส.ค.


· ยอดส่งออกของญี่ปุ่นร่วงอีกครั้ง ขณะที่ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มขึ้น

โพลล์สำรวจจาก Reuters ชี้ว่า

ยอดการส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนก.ค.คาดว่าจะลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อความต้องการทั่วโลก

โดยยอดการส่งออกเดือนก.ค.คาดว่าจะลดลง 21.0% จากปีก่อนหน้าซึ่งน้อยกว่า 26.2% ในเดือนมิ.ย.จากผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ 16 คน

ขณะที่ยอดการนำเข้าคาดว่าจะลดลงอย่างรวดเร็ว 22.8% จากปีก่อนหน้าหลังจากที่ลดลง 14.4% ในเดือนก่อนหน้าส่งผลให้ขาดดุลการค้า 77.6 พันล้านเยน (725.84 ล้านเหรียญ)

ทั้งนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นยังแสดงให้เห็นว่า ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกันและราคาผู้บริโภคในเดือนก.ค.อาจเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวว่าความต้องการทั่วโลกที่อ่อนแอและข้อจำกัด เกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจในประเทศเศรษฐกิจหลักบางประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น


· การระบาดของไวรัสโคโรนาทำลายเศรษฐกิจญี่ปุ่นมากกว่าที่คาดไว้ บวกด้วยความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน

เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะหดตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าและประสบภาวะเงินฝืดระหว่างงบการเงิน ณ ปัจจุบัน ขณะที่นักวิเคราะห์ประเมินว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างเปราะบางจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดจะหดตัวลงไป -5.6% ในช่วงปีงบประมาณปัจจุบันจนถึงมี.ค. ปีหน้า ซึ่งเป็นการหดตัวลงมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ -5.3% ในเดือน ก.ค.

การปรับทบทวนดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่นักวิเคราะห์หลายๆรายมีการปรับทบทวนคาดการณ์จีดีพีสู่ระดับ -27% ซึ่งแย่กว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ที่ระดับ -24%

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีนจะมีมุมมองซับซ้อนขึ้น เนื่องจากประเทศที่เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกทั้งสองประเทศไม่เห็นพ้องกันกับประเด็นบางอย่าง เช่น หุ้น เทคโนโลยี และ การแพร่ระบาดของไวรัส

นักเศรษฐศาสตร์ยังกล่าวว่า ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นกว่า 90%


·  เศรษฐกิจฮ่องกง Q2/2020 หดตัว -9% เมื่อเทียบรายปี พร้อมลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติฮ่องกง เผยจีดีพีฮ่องกงหดตัวลงประมาณ 9% ในช่วงไตรมาสที่ 2/2020 เมื่อเทียบปีที่แล้ว ขณะที่ปีนี้คาดเศรษฐกิจฮ่องกงจะหดตัวลงระหว่าง -6% และ -8% จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่อยู่ระหว่าง -4% และ -7%


· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเกาหลีใต้ ชี้ จีดีพีไตรมาสที่ 3 จะดีดกลับเมื่อเทียบรายไตรมาส

โดยทิศทางเศรษฐกิจเกาหลีใต้มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การร่วงลงของยอดส่งออกก็ดูจะเป็นเรื่องที่ยังกังวลอยู่

อย่างไรก็ดี ณ ปัจจุบัน เกาหลีใต้ยังไม่ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับงบประมาณเสริม แต่ก็อาจมีการหารือกันเกี่ยวกับการจัดการผลกระทบท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากฤดูมรสุม


· โคโรนาไวรัสฉุดเศรษฐกิจมาเลเซีย Q2/2020 สู่การหดตัวเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกหรือตั้งแต่ปี 2009

โดยผลกระทบดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางภาคธุรกิจและทำให้ธนาคารกลางมาเลเซียมีการปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลงสู่ระดับ -17.1% ใน Q2/2020 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าร่วงลงมากสุดในรอบกว่า 20 ปี และมีการหดตัวที่มากเกินกว่า 10% จากที่ผลสำรวจรอยเตอร์สคาดไว้


· ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่ำกว่า 45 เหรียญ/บาร์เรล ถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้น

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่ำกว่า 45 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งทำให้กำไรในสัปดาห์นี้ถูกกดดันจากความสงสัยเกี่ยวกับการฟื้นตัวของอุปสงค์เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาและอุปทานที่เพิ่มขึ้น

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.7% ที่ระดับ 44.67 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.6% ที่ระดับ 41.99 เหรียญ/บาร์เรล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com