• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 4 สิงหาคม 2563

    4 สิงหาคม 2563 | Economic News

· ดอลลาร์ร่วงจากนักลงทุนรอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ดอลลาร์อ่อนค่าลงจากความผันผวนทางการเมืองของสหรัฐฯเกี่ยวกับแผนเศรษฐกิจที่ยังตกลงกันไม่ได้ ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจที่กดดันค่าเงิน

ทั้งนี้ หลังจากที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าหนักในรอบ 10 ปีในเดือนก.ค. ก่อนจะเริ่มต้นส.ค.ด้วยทิศทางแข็งค่าจากการที่นักลงทุนมีการลดสถานะ Short หลังยูโรอ่อนค่าแตะ 1.1695 ดอลลาร์/ยูโร ยืนเหนือต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

อย่างไรก็ดี ค่าเงินยูโรก็กลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในตลาดเอเชียบริเวณ 1.1766 ดอลลาร์/ยูโร

แม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาจะมีอัตราที่ชะลอตัวลง และข้อมูลการผลิตนั้นออกมาดีกว่าที่คาด แต่ประชาชนกว่า 30 ล้านคนในสหรัฐฯก็ยังคงตกงาน

ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 106.04 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ปอนด์แข็งค่ามาที่ 1.3079 ดอลลาร์/ปอนด์

สำหรับความตึงเครียดสหรัฐฯ-จีนช่วยให้หยวนให้อ่อนค่าใกล้ 7 หยวน/ดอลลาร์ ที่ระดับ 6.9806 หยวน/ดอลลาร์


· ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในเดือนก.ค. และไม่ราบรื่น หลังยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนพ.ค. - มิ.ย.


· ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเผชิญกับภาวะขาลงมากกว่าในช่วงก่อนหน้หากสภาคองเกรสยังไม่สามารถหาแพ็คเกจสนับสนุนในระยะยาวได้อย่างรวดเร็วสำหรับประชาชนที่ตกงานนับ 10 ล้านรายในปัจจุบัน

ขณะที่ความตึงเครียดจากการระบาดของไวรัสโคโรนามีมากขึ้นที่อาจส่งผลกระทบอย่างมากและจำเป็นที่จะต้องมีแพ็คเกจระยะยาวมาสนับสนุน


· ภาคการผลิตทั่วโลกอ่อนตัว ขณะที่ของยูโรโซนขยายตัว

กิจกรรมภาคการผลิตยูโรโซนขยายตัวได้ปานกลางในเดือนที่แล้ว ขณะที่ฝั่งเอเชียหดตัวจากภาวะส่งออกที่อ่อนแอ ท่ามกลางตลาดที่คาดหวังที่ว่าจะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวจากวิกฤตไวรัสโคโรนา

ทั้งนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวลงเป็นประวัติการณ์ -12.1% ในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์ส คาดว่าเศรษฐกิจจะโตได้ที่ 8.1%

IHS Markit's เผยผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI ดีดตัวกลับขึ้นแตะ 51.8 จุดในเดือนก.ค. จากเดิมอยู่ที่ 47.4 จุดในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นการขยายตัวครั้งแรกที่ยืนได้เหนือ 50 จุดนับตั้งแต่ ม.ค. ปี 2019

ขณะที่ข้อมูลภาคการผลิตเยอรมนี มีการขยายตัวได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ธ.ค. ปี 2018 และกิจกรรมการผลิตในฝรั่งเศสมีการปรับขึ้นเช่นกัน


· อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเยอรมนีส่งสัญญาณฟื้นตัว

จากการสำรวจของสถาบันเศรษฐกิจ Ifo แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเยอรมนีกำลังส่งสัญญาณถึงการฟื้นตัว และทำให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์คาดหวังว่าการส่งออกจะเติบโตขึ้นด้วย

สำหรับคาดการณ์เกี่ยวกับภาคธุรกิจ, อุปสงค์และรายการสั่งจองฟื้นตัวขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมา แต่ก็ต้องระวังต่อสถานการณ์ทางปัจจุบันที่ยังอยู่ในทิศทางเชิงลบเมื่อเดือนก.ค.


· จีนซื้อพลังงานตามข้อตกลงเฟสแรก (สหรัฐฯ-จีน) เพียง 5% ในช่วงครึ่งปีแรก

รายงานจาก Reuters กล่าวว่า ช่วงครึ่งปีแรกจีนมีการเข้าซื้อสินค้าในกลุ่มพลังงานของสหรัฐฯเพียง 5% ของระดับเป้าหมาย 2.53 หมื่นล้านเหรียญ

ปริมาณการนำเข้าน้ำมันของจีน โดยรวมอยู่ที่ 1.29 พันล้านเหรียญปีนี้ ขณะที่จีนมีการเข้าซื้อสินค้าอื่นๆของสหรัฐฯมากขึ้น ท่ามกลางนักวิเคราะห์ที่ กล่าวถึงราคาพลังงานที่อ่อนแอ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ย่ำแย่ จึงอาจทำให้จีนพลาดราคาเป้าหมายของข้อตกลงเฟส 1 ที่ลงนามร่วมกันไว้ในเดือนม.ค.

· โพลล์ของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ระบุว่า การส่งออกของประเทศไต้หวันมีแนวโน้มจะลดลงแตะ 0.22% ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 อันได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กระทบต่อ ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าอิเล็คทรอนิคส์ในประเทศเพิ่มมากขึ้

ภาพรวมการส่งออกของไต้หวันในเดือนมิ.ย. มีการลดลงแตะ 3.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน แตะระดับ 2.713 หมื่นล้านเหรียญ และยังคงถือเป็นการปรับตัวลงต่อเนื่องเดือนที่ 5

ทั้งนี้ ประเทศไต้หวันคือหนึ่งในประเทศหลักของการส่งออกของเอเชีย โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี และการส่งออกยังเป็นแนวโน้มและตัวชี้วัดความต้องการเทคโนโลยีของโลก โดยมีคู่ค้ารายใหญ่คือจีน

อย่างไรก็ดี กรอบความคาดการณ์มีการปรับลดลงเหลือ 3% จาก 4.5 % เนื่องจากความไม่แน่นอนของการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่เป็นอุปสรรคต่อห่วงโซ่อุปทานโลก และแนวโน้มการผลิตเทคโนโลยีของไต้หวัน

· น้ำมันร่วงลง จากการกังวลยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นบดบังปริมาณความต้องการน้ำมันดิบ

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลว่าการฟื้นตัวของความต้องการเชื้อเพลิง อาจถูกกดดันจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 0.7% ที่ระดับ 40.71 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 0.8% ที่ระดับ 43.78 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ การปรับตัวลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ WTI เพิ่มขึ้น 1.8% และ Brent เพิ่มขึ้น 1.5% ในวันจันทร์ที่ผ่านมา จากข้อมูลที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในกิจกรรมการผลิตของเอเชีย ยุโรปและสหรัฐฯ


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com