• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2563

    8 กรกฎาคม 2563 | SET News
 

· ดัชนี S&P500 ร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 วันทำการ ขณะที่ Nasdaq ร่วงลงจากที่ทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงหลังจากที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้าอันเป็นผลจากความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาครั้งใหม่ โดยดัชนี S&P500 ปิด -1.1% ที่3,145.32 จุด ด้านดาวโจนส์ปิด -1.5% โดยร่วงไป 396.85 จุด ที่ระดับ 25,890.18 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดต่ำกว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเมื่อคืนปิด -0.9% ที่ 10,343.89 จุด


ทั้งนี้ ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ต่างก็ปิดปรับลงจากที่ปรับขึ้นในช่วง 5 วันก่อน โดยดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 วันทำการ

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายการตลาดจาก Spartan Capital Securities กล่าวว่า ตลาดเผชิญกับภาวะ Overbought และการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้ออย่างไม่หยุดยั้งก็คือปัญหาต่อตลาดสหรัฐฯในเวลานี้


· ดัชนีหุ้นสหรัฐฯฟิวเจอร์สเช้านี้เปิดทรงตัวหลังหุ้นหลักเผชิญแรงเทขายเมื่อคืนนี้ โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์สเปิดปรับขึ้นเพียง 40 จุด หรือ +0.16% ขณะที่ดัชนี S&P500 ฟิวเจอร์สเปิด +0.08% และดัชนี Nasdaq 100 ฟิวเจอร์สเปิด +0.12%


· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง เนื่องจากความไม่แน่นอนท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนารอบสองในสหรัฐฯและข้อมูลที่อ่อนแอของเยอรมนี

หลังจากข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีประจำเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 7.8% ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะพุ่งขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากร่วงลงไปที่ระดับ -17.5% ในเดือนเม..ยที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส

คณะกรรมาธิการอียูหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนปีนี้และปีหน้า โดยคาดได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา พร้อมคาดปีนี้จะหดตัวลงไปประมาณ -8.3% และจะรีบาวน์กลับได้ในปีหน้าที่ 5.8%

ขณะที่คาดการณ์ในเดือนพ.ค. คณะกรรมาธิการอียูมองว่าเศรษฐกิจจะหดตัวปีนี้ที่ -7.4% และจะรีบาวน์ปีหน้าได้มากกว่าที่ 6.1%

ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ลดลงประมาณ 0.6% ด้านหุ้นเทคโนโลยีร่วงลง 1.2% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ


· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสานกัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ไม่ควร“ แปลกใจ” ถ้าการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากรายงานผู้ติดเชื้อจากไวรัสทั่วโลกพุ่งสูงตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมิ.ย. ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตอาจจะยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก

ขณะที่ผู้ติดเชื้อในรัฐเท็กซัสเมื่อเร็ว ๆ นี้รายงานว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 10,000 รายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ด้านประเทศออสเตรเลีย ประชาชนต้องเก็บตัวอยู่ภายในที่พักอาศัยและไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากเมือง ยกเว้นมีเหตุจำเป็น รวมถึงการไปซื้อสิ่งของจำเป็น ไปพบแพทย์ ไปทำงาน และไปเรียน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์

เช้านี้ ดัชนี Nikkei ลดลง 0.35% และดัชนี Topix ลดลง 0.24% ด้านดัชนี Kospi เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 0.28%

ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ลดลง 0.26%

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.04%


· นักบริหารเงิน ประเมินกรอการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 31.15 - 31.40 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดยังต้องติดตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯต่อไป


· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก ปรับลดคาดการณ์ส่งออกในปีนี้หดตัว -10% จากเดิมหดตัว -8% เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ตลาดส่งออกในหลายประเทศล็อกดาวน์และปัญหาเงินบาทแข็งค่า หลังจากภาพรวมช่วงเดือนม.ค.- พ.ค. 63 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 97,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -3.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

- สรท.จะทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้เข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาเรื่องเงิน บาทแข็งค่าเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบรุนแรง โดยเสนออัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 34.00 บาท/ดอลลาร์ ถึงแม้ขณะ นี้เงินบาทจะอยู่ที่ 31.12 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปีก่อนก็ตาม เนื่องจากที่ผ่านมาเงินบาทปรับตัวแข็งค่าอย่างรวดเร็วกว่าประเทศเพื่อน บ้านจนส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้หนี้ครัวเรือนของไทยมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% เมื่อเทียบกับจีดีพีในปี 2563 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการพักชำระหนี้ ส่งผลทำให้ระดับหนี้ไม่ลดลงมากตามภาพเศรษฐกิจ

- ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เปิดเผยว่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ธนาคารเข้าใจถึงสถานการณ์ที่ประชาชนยังคงเผชิญอยู่ด้วยเหตุนี้จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ครอบคลุมลูกค้าบัตรเครดิต ลูกค้าสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับ ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน โดยเน้นการปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป การเพิ่มวงเงิน และมาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติม

- ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือน ก.ค.63 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น 4% อยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเหมือนเดือนก่อน นักลงทุนคาดหวังการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือนโยบายภาครัฐ และการไหลเข้าออกของเงินทุน

- ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เล็งจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย/เช่าที่ดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. เพื่อจูงใจนักลงทุนให้หันมาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยแต่ละโปรโมชั่นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะสามารถจูงใจให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมเดิมซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com