• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 29 มิถุนายน 2563

    29 มิถุนายน 2563 | Economic News
  

· ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนดอลลาร์ ท่ามกลางความเชื่อมั่นฟื้นตัว

การเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาดูจะสร้างแรงกดดันให้กับสินทรัพย์เสี่ยงและค่าเงินในหมวดดังกล่าว จึงทำให้เราเห้นค่าเงินดอลลาร์ปรับขึ้นได้ในฐานะ Safe-Haven เนื่องด้วยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก

เมื่อวานนี้ รัฐแคลิฟอร์เนียมีคำสั่งให้กลับมาปิดบาร์อีกครั้งเช่นเดียวกับคำสั่งของรัฐเท็กซัส และฟลอริด้าที่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม ขณะที่ซานฟรานซิสโกชะลอแผนการกลับมาเปิดทำการ

ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 108.18 เยน/ดอลลาร์ ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าไปทำสูงสุดรอบ 4 สัปดาห์วันนี้ที่ 97.466 จุด

นักวิเคราะห์ FX จาก Commonwealth Bank of Australia กล่าวว่า การก้าวสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจเกิดขึ้นได้หากมีการกลับมาใช้มาตรการคุมเข้มต่างๆ และนั่นอาจทำให้ดอลลาร์แข็งค่าต่อได้ โดย Lockdown ถือเป็นหัวใจสำคัญเวลานี้ที่ต้องจับตาดู

การเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาครั้งใหม่ในสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่มาจากทางตอนใต้และทางตะวันออกของสหรัฐฯหลังจากที่เปิดทำการได้ไม่นานนี้ ก็มีสัญญาณเตือนว่าอาจมีการกลับมาใช้มาตรการควบคุมกันอีกครั้ง

และไม่เพียงแต่ความเคลื่อนไหวข้างต้น ทางกรุงปักกิ่ง และลิสบอน รวมทั้งอีกสองพื้นที่ทางตะวันออกของเยอรมนีก็ร่วมอยู่ในความกังวลดังกล่าวเช่นกัน ทางด้านอาร์เจนตินาร์มีการขยาย Lockdown ออกไปหลังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ซึ่งการติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกนั้น จำนวน 1 ใน 4 มาจากสหรัฐฯเกือบทั้งหมดในเวลานี้

ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงมาทรงตัวที่ 1.2341 ดอลลาร์/ปอนด์ เหนือต่ำสุดรอบ 1 เดือนที่ทำไว้ในวันศุกร์ ท่ามกลางความไม่แน่ใจว่าอังกฤษจะสามารถทำข้อตกลงกับอียูในกรณี Post-Brexit ได้หรือไม่

ค่าเงินยูโรทำระดับแข็งค่าที่ดีทีสุดในรอบ 2 เดือนเมื่อเทียบดอลลาร์ในช่วง 1 ปีครึ่ง จากความผวังที่จะเห็นอียูกามาตรการรับมือและช่วยเหลือการฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาค จึงทำให้เราเห็นยูโรปรับขึ้นมาแล้วประมาณ 2.5% นับตั้งแต่เริ่มต้นเดือนพ.ค.

กลุ่มนักลงทุนให้ความสำคัญกับข้อมูลความเชื่อมั่นในยูโรโซน และเงินเฟ้อเยอรมี ที่จะถือเป็นตัวชี้วัดใหญ่สำหรับเศรษฐกิจยูโรโซน

· ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยท่ามกลางกังวลไวรัสโคโรนา

ค่าเงินยูโรมีระดับการซื้อขายแถว 1.1250 ดอลลาร์/ยูโร โดยปรับแข็งค่าขึ้นจากที่ลงไปทำต่ำสุด โดยตลาดพยายามฟื้นตัวจากสภาวะความกังวลเรื่องสถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด ประกอบกับตลาดจับตาข้อมูลเงินเฟ้อยูโรโซน, ยอดรออนุมัติปิดการขายบ้านสหรัฐ และสถานการณ์ไวรัสโคโรนา

ภาพทางเทคนิค ค่าเงินยูโรยังทรงตัวได้เหนือระดับแนวรัครบแนว 1.1200 - 1.1190 ดอลลาร์/ยูโรตามลำดับ ที่หากหลุดต่ำกว่าก็จะเปิดโอกาสต่อสำหรับทิศทางอ่อนค่า และมีโอกาสเห็นค่าเงินไปทำต่ำสุดแนว 1.1175 - 1.1170 ดอลลาร์/ยูโรโซน และหากกลับมาได้ก็มีโอกาสร่วงลไปทดสอบบริเวณเส้นค่าเฉล่ี่ย SMA ราย 200 วัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 1.1030 ดอลลาร์/ยูโร

ในทางกลับกันกับการที่ค่าเงินยูโรทรงตัวได้เหนือระดับ 1.1200 ดอลลาร์/ยูโร ก็ดูจะเห็นโอกาสการปรับตัวขึ้นไปแนว 1.1300 ดอลลาร์/ยูโร และหากผ่านไปได้มีโอกาสแข็งค่าต่อไปที่ 1.1350 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งหากยืนเหนือระดับดังกล่าวได้มีโอกาสเห็นค่าเงินยูโรแข็งค่าไปแนว 1.1400 ดอลลาร์/ยูโร รวมทั้งอาจเห็นกลับไปแถวระดับสำคัญทางจิตวิทยาบริเวณ 1.1500 ดอลลาร์/ยูโร

· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นแม้ยอดผู้ติดเชื้อไวัรสโคโรนาจะเพิ่มขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางตลาดที่มีความเชื่อมันแบบ Risk-On โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับขึ้นแตะ 0.6512% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปีปรับขึ้นแตะ 1.3845%


· รายงานจีน ชี้ รายได้จากนักท่องเที่ยวดิ่งลง แม้จะมีการฟื้นตัวจากสถานการณ์ไวรัส

รายงานทิศทางเศรษฐกิจจีนยังคงมีการชะลอตัวจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาที่ยังไม่จบ โดยการกลับมาจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจดูจะยิ่งกดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีหลักฐานบ่งชี้แล้วว่า การร่วงลงของรายได้จากนักท่องเที่ยวหายไปเกือบ 69% ในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง


รายงานจากรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีน ระบุว่า ปีนี้มีนักท่องเที่ยวเพียง 48.81 ล้านราย คิดเป็นรายได้ 1.228 หมื่นล้านหยวน (1.73 หมื่นล้านเหรียญ) ในช่วงเทศกาลดังกล่าว โดยลดลงจากเดิม 68.6% ที่มีรายได้ที่ 3.933 หมื่นล้านหยวน โดยเป็นผลจากมาตรการห้าม/จำกัดการเดินทางเข้าประเทศ

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Nomura กล่าวว่า ทั้งหมดนี้ สะท้อนว่าการฟื้นตัวในภาคบริการยังคงมีความอ่อนแอจากเหตุผลหลายๆอย่าง อันรวมถึงการเพิ่มมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และความเชื่อมั่นผู้บริโภค รวมทั้งความไม่แน่นอนต่างๆ และอัตราว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น

· จีนลั่นจะคว่ำบาตรวีซ่าชาวสหรัฐฯตอบโต้กรณีฮ่องกง

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวว่า จะทำการระงับวีซ่าชาวสหรัฐฯบางรายที่มีที่พฤติกรรมร้ายแรงและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีของฮ่องกง หลังจากที่สหรัฐฯมีการประกาศระงับวีซ่าเจ้าหน้าที่จีนบางราย

นอกจากนี้ จีนยังมีการเรียกร้องให้สหรัฐฯยุติการแทรกแซงหรือยุแยงฮ่องกง พร้อมกล่าวเตือนว่าจีนพร้อมจะทำการตอบโต้ด้วยมาตรการขั้นเด็ดขาดหากสหรัฐฯยังเดินหน้าดำเนินการต่างๆ

· ภาคการผลิตจีนมีแนวโน้มชะลอตัวในเดือนมิ.ย.จากความต้องการทั่วโลกที่ลดลง

ภาคการผลิตของจีนประจำเดือนมิ.ย.มีแนวโน้มขยายตัวในเดือนที่สี่แต่ความต้องการอาจลดลงเนื่องจากความต้องการทั่วโลกยังคงชะลอตัว ขณะที่การระบาดของไวรัสโคโรนารอบใหม่ในเมืองหลวงของจีนทและกรณีทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น กดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ


อ้างอิงจากโพลล์สำรวจจาก Reuters รพบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนประจำเเดือนมิ.ย.ที่จะประกาศในวันพรุ่งนี้ คาดว่าจะลดลง 50.4 จากเดิมที่ 50.6 ในเดือพ.ค.ที่ผ่านมา

· ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในรัสเซียปรับตัวลงมากที่สุดตั้งแต่ 29 เม.. โดยรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นมาที่ 6,719 ราย รวมติดเชื้อสะสมในประเทศอยู่ที่ 641,156 ราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตในช่วง 24 ชั่วโมงมานี้เพิ่มขึ้นมา 93 ราย ทำให้ยอดรวมล่าสุดอยู่ที่ 9,166 ราย


· ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในกรุงโตเกียวเพิ่มขึ้น 58 ราย และเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเหนือ 50 รายต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยวันก่อนหน้ายอดผู้ติดเชื้อมากถึง 60 ราย ซึ่งเป็นระดับการเพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพ.ค.

ขณะที่ยอดการผลิตทั่วโลกของผู้ผลิตรถยนต์ลดลง 62% ที่ระดับ 918,974 หน่วยในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบกับการลดลงของการผลิต 55% ในเดือนเม.ย.

· นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เผยว่าจะทำการลดแผนการเพิ่มงบประมาณการลงทุนสาธารณะ และการกลับมารใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่อาจสร้างความผิดพลาดให้แก่ประเทศในการพยายามจะฟื้นตัวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะเดียวกันเขาได้กล่าวกับ The Times Radio ว่าต้องการปรับแผนเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามแบบ Rooseveltian ที่เป็นการดำเนินงานของ นายแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ ที่เป็นอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ใช้โครงการ "New Deal" ช่วยเศรษฐกิจสหรัฐฯให้ฟื้นตัวจากยุค Great Depression


· หัวหน้าผู้บริหารแอร์บัส (AIR.PA) คาดว่า การผลิตจะลดลง 40% ในอีกสองปีข้างหน้า เนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนา

พร้อมทั้งกล่าวว่า อาจจะลดการผลิตโดยเฉลี่ยหนึ่งในสาม อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า กำลังมองหาแนวทางที่จะรักษากำลังการผลิตเจ็ทพื้นฐานที่ 40% ต่ำกว่าแผนก่อนการระบาดเป็นเวลาสองปี ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันในการลดงานหลายพันตำแหน่ง

· โพลล์สำรวจ ระบุว่า ยอดการส่งออกของเกาหลีใต้ประจำเดือนมิ.ย.อาจจะร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แต่ชะลอตัวน้อยลงกว่าเดิม จากการผ่อนคลายมาตรการ lockdowns ทั่วโลก และวันทำงานที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนารอบสองและความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ

ยอดขายกับต่างประเทศล่าสุดถูกคาดว่าจะลดลงมาที่ -7.8% เมื่อทียบรายปี จากก่อนหน้าที่ -23.6% ในเดือนพ.ค. และคาดการณ์ขั้นต้นในช่วง 20 วันแรกของเดือนนี้ที่คาดไว้ที่ -7.5%

· ยอดขายของผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นประจำเดือนพ.ค.ลดลง 38% ติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม เนื่องจากโรงงานยานยนต์และตัวแทนจำหน่ายส่วนใหญ่ยังคงปิดทำการเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

อ้างอิงจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 7 รายของประเทศมียอดขายรวม 1.47 ล้านคันในเดือนที่แล้ว ซึ่งลดลงอย่างมาก จากเดิมที่ 2.38 ล้านคันในปีที่แล้ว แต่

แต่การลดลงนั้นน้อยกว่าการร่วงลงกว่า 50% เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา

· จีดีพีเวียดนามไตรมาสที่ 2/2020 หดตัวลงทำระดับต่ำสุดไม่น้อยกว่า 30 ปี โดยได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และทำให้เป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ดูจะไกลห่างออกไป โดยจีดีพีไตรมาสที่ 2/2020 ขยายตัวได้เพียง 0.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวได้ 6.73% และนี่สะท้อนถึงการที่เศรษฐกิจเวียดนามอาจจำเป็นต้องขยายตัวได้มากถึง 10% ในช่วงครึ่งหลังของปี เพื่อให้กลับมาแตะหรือเหนือเป้าหมายของภาครัฐที่ตั้งไว้ที่ 6.8% ก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาด

อย่างไรก็ดีภาคบริการในช่วงไตรมาสที่ 2/2020 หดตัวลงไป -1.76% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมปรับขึ้นได้ 1.38% และภาคเกษตรกรรมที่ปรับขึ้นได้ประมาณ 1.72%

· ราคาน้ำมันดิบปนรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯและสถานที่อื่นๆ โดยบางประเทศกลับมาใช้มาตรการ lockdowns อีกครั้ง จึงส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการเชื้อเพลิง

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ร่วงลง 2% ที่ระดับ 40.21 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 2% เช่นเดียวกันที่ระดับ 37.74 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ Brent คาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนมิ.ย โดยได้รับกำไรรายเดือนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากผู้ผลิตรายใหญ่ทั่วโลกลดปริมาณการผลิตในขั้นแรกที่ระดับ 9.7 ล้านบาร์เรล/วันไปจนถึงเดือนก.ค. ขณะที่ปริมาณความต้องการน้ำมันปรับตัวดีขึ้นหลังจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการ lockdown

อย่างไรก็ดี ยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาทั่วโลกทะลุ 10 ล้านราย เมื่อวาันอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่ามกลางประเทศอินเดียและบราซิล พบยอดผู้ติดเชื้อกว่า 10,000 รายต่อวัน ขณะที่มีการรายงานการระบาดครั้งใหม่ในประเทศต่างๆรวมถึง จีน นิวซีแลนด์และออสเตรเลียกระตุ้นให้รัฐบาลกำหนดข้อจำกัดอีกครั้

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com