• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2563

    15 มิถุนายน 2563 | Economic News
  

 · ค่าเงินออสเตรเลีย, ค่าเงินกีวี และหยวนอ่อนค่าลงท่ามกลางกังวลเกี่ยวกับ Second Wave

ค่าเงินออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการระบาดรอบ 2 ของไวรัสโคโรนาในจีน จึงทำให้นักลงทุนมีการเทขายค่าเงินสินทรัพย์เสี่ยง โดยค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงหลังจากที่จีนพบยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในช่วงเวลาไม่กี่วัน ในตลาดซื้อขายอาหารรายใหญ่

ด้านเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบค่าเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างอังกฤษและยุโรปที่ยังไม่มีความคืบหน้าเพียงพอ โดยค่าเงินปอนด์อ่อนค่าที่ 0.2% ที่ 1.2514 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ของอังกฤษ กล่าวว่า อียูจะไม่ขยายเวลาการเจรจาออกไปจากสิ้นปีนี้

เทรดเดอร์กำลังจับตากับยอดติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ ท่ามกลางความกังวลที่ว่าการระบาดอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก โดยค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์วันนี้อ่อนค่าลงมา 0.36% ที่ 0.6828 ออสเตรเลียดอลลาร์ ด้านค่าเงินนิวซีแลนด์อ่อนค่าลง 0.43% มาที่ 0.6420 กีวี/ดอลลาร์

รายงานจาก Xinfadi เผย จีนพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นในตลาดซื้อขายอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยหลังจากที่จีนไม่พบผู้ติดเชื้อใหม่มาเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน จนถึง 12 มิ.ย. ล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อใหม่ได้เพิ่มขึ้น 51 ราย

การระบาดครั้งใหม่อาจสร้างความผันผวนให้แก่ตลาดการเงิน ท่ามกลางความคาดหวังจะเห็นเศรษฐกิจพื้นก่อนหน้า โดยเงินหยวนทรงตัวที่ 7.0882 หยวน/ดอลลาร์ หลังจากที่ปรับแข็งค่าลงมาเล็กน้อยที่ 7.0865 หยวน/ดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ และเงินหยวนวันนี้ก็ไม่ได้ตอบรับกับข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน รวมทั้งยอดค้าปลีกที่ผิดคาดในเดือนพ.ค. เท่าไรนัก

นักลงทุนบางส่วนกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจอังกฤษที่อาจเป็นปัญหาหากอังกฤษและอียูไม่สามารถตกลงกันได้ โดยเงินเยนทรงตัวที่ 107.25 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางนักลงทุนที่หลีกเลี่ยงการงทุนในช่วงก่อนที่บีโอเจจะเสร็จสิ้นการประชุมในการวันอังคารนี้

อย่างไรก็ดี ไม่มีใครคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในนโยบายใดๆ แต่นักลงทุนบางส่วนอาจให้ความสนใจต่อนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ ที่จะกล่าวต่อมุมมองการเติบโตทางเศรษฐกิจ และนโยบายการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

ธนาคารกลางต่างๆ มีการหารือทางเลือกในการควบคุมและปรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เช่นเดียวกับที่ประธานเฟดได้กล่าวไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว

· ยุโรปเริ่มเปิดพรมแดน แต่ยังไม่เปิดภาคท่องเที่ยว

ในวันนี้หลายๆประเทศในยุโรปได้ผ่อนคลายกฎการข้ามพรมแดนตามการคลาย Lockdown มีเพียงสเปนที่ยังปิดประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการมีกฎข้อจำกัดสำหรับบางที่และแนวทางในการทำงานใหม่ๆในช่วงก่อนเกิดการระบาดที่น่าจะยังมีผลต่อการจำกัดการเดินทาง

พื้นที่ Schengen ของ 22 ประเทศในสหภาพยุโรปรวมทั้งประเทศไอซ์แลนด์และลิกเตนสไตน์, นอร์เวย์และสวิสเซอร์แลนด์ มีการควบคุมกฎการข้ามพรมแดน หลังจากที่พวกเขาปิดทำการมาเป็ฯระยะเวลากว่า 3 เดือน

ในสัปดาห์ที่แล้วโยวา โจฮานสัน คณะกรรมาธิการกิจการบ้านยุโรป กระตุ้นให้สมาชิก Schengen ยกเลิกการควบคุมคนเข้าประเทศแบบนานาชาติในวันนี้ เพื่ออนุญาตเริ่มมีการทยอยเปิดประเทศอื่นๆได้ในเดือนก.ค.

กระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศส กล่าวว่า ความเลวร้ายที่เผชิญถือเป็นส่วนหนึ่งจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่สิ่งที่ต้องพึงระวังคือเชื้อไวรัสก็ยังคงดำเนินต่อไป

· ผลผลิตภาคโรงงานจีนปรับขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ยังคงมีท่าทีระมัดระวัง

ภาคโรงงานอุตสาหกรรมในจีนมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนพ.ค. ท่ามกลางเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยจากไวรัสโคโรนา ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจบางส่วนที่อกมาแย่กว่าที่คาดก็ยิ่งตอกย้ำถึงภาวะเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปีปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ธ.ค. ที่ 4.4% โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ย. ที่อยู่ที่ 3.9% จึงนับเป็นการขยายตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เผชิญกับการระบาดของไวรัสในช่วงปลายปีที่แล้ว

ถึงแม้ข้อมูลดังกล่าวจะมีการขยายตัวแต่ยอดส่งออกที่ชะลอตัวในช่วงเกิดการ Lockdown ทางเศรษฐกิจทั่วโลก ที่เป็นอุปสรรคต่ออุปสงค์ภายในประเทศให้เจริญเติบโตล่าช้าเช่นกัน

ยอดค้าปลีกจีนปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยล่าสุดร่วงลงมาที่ -2.8% จากเดือนเม.ย. ที่อยู่ที่ -7.5% ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคยังคงมีท่าทีระมัดะระวังจากคนตกงานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างหนัก และความกังวล Second Wave

· อินเดียอาจชัตดาวน์ทางเศรษฐกิจเพื่อจำกัดการระบาดของไวรัส

ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในอินเดียเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่วันมานี้ จึงส่งผลให้เกิดความกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะมีคำสั่งควบคุมอีกครั้ง หลังจากที่เริ่มกลับมาเปิดทำการของประเทศ

เรียกได้ว่า อินเดียถือเป็นประเทศลำดับที่ 4 ของโลกที่มีผู้ติดเชื้อพุ่งทะลุ 320,000 ราย รองจากสหรัฐฯ, บราซิล และรัสเซีย

· น้ำมันดิบร่วงกังวลการระบาดรอบใหม่ของไวรัสโคโรนา เพิ่มความกังวลอุปสงค์น้ำมัน

น้ำมันดิบปรับตัวลงกว่า 2% โดยลดลงต่อจากสัปดาห์ที่แล้วท่ามกางการพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯและจีน จึงเพิ่มความกังวลว่าการระบาดรอใหม่ของไวรัสจะยิ่งกดดันอุปสงค์พลังงานเวลานี้

น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 89 เซนต์ หรือ -2.3% ที่ 37.84 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับลง 1.18 เหรียญ หรือ -3.3% ที่ 35.08 เหรียญ/บาร์เรล

การระบาดในจีนที่เพิ่มขึ้นยิ่งตอกย้ำความกังวลถึงการระบาดของไวรัสโคโรนาอีกครั้ง และภาพรวมน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิด ต่างก็ปรับตัวลดลงมาแล้วประมาณ 8% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นสัปดาห์แรกที่ร่วงลงมากที่สุดตั้งแต่เม.ย. ท่ามกลางสหรัฐฯที่พบยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นเช่นกันกว่ 25,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com