• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 12 มิถุนายน 2563

    12 มิถุนายน 2563 | Economic News
  

· ค่าเงินสินทรัพย์เสี่ยงร่วง หลังตลาดไม่มั่นใจการฟื้นตัว

ค่าเงินออสเตรเลียและค่าเงินสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ อ่อนค่าลงขณะที่ค่าเงินกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆก็อ่อนค่าลง ท่ามกลางค่าเงินสินทรัพย์ปลอดภัยที่ได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงหนักของตลาดหุ้นจากความไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังเฟดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจในสัปดาห์นี้

แต่นักลงทุนในตลาดค่อนข้างมีสถานะอย่างผันผวนตามข่าวที่เข้ามา โดยช่วงแรกมาจากความหวังเรื่องเศรษฐกิจฟื้นจากการกลับมาเปิดทำการในหลายๆประเทศ

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมาแตะ 1.1291 ดอลลาร์/ยูโร โดยร่วงลงจากระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 3 เดือนที่ 1.14225 ดอลลาร์/ยูโร ในส่วนของเงินปอนด์ปรับอ่อนค่าลงแตะ 1.2556 ดอลลาร์/ปอนด์ จากแข็งค่ามากสุดแนว 1.2812 ดอลลาร์/ปอนด์

สหรัฐฯพบยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ร่วงลงไปในช่วง 5 สัปดาห์ ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของผลการทดสอบหาเชื้อ ในช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาเปิดทำการ และมีเหตุประท้วงในสหรัฐฯ

ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 107.1 เยน/ดอลลาร์ หลังแข็งค่ามากสุดรอบ 1 เดือนที่ 106.58 เยน/ดอลลาร์ ภาพรวมปรับแข็งค่าได้ 3.1% หลังจากที่ไปทำต่ำสุดรอบ 2 เดือนครึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับขึ้น แต่นักลงทุนก็ยังคงมีท่าทีระมัดระวังเกี่ยวกับเศรษฐกิจอยู่ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับขึ้น 0.6854% และอัตราผลตอบแทน 30 ปี ปรับขึ้นแตะ 1.4296%

ตลาดพันธบัตรค่อนข้างตอบรับกับแรงเทขายในตลาดหุ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อโอกาสที่จะเกิด Second Wave ด้านเฟดกล่าวถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจจะหดตัวลงไปมากถึง -6.5% ปีนี้ ซึ่งเป็นภาวะขาลงมากกว่าที่หลายๆฝ่ายคาดการณ์ไว้ก่อนหน้า

· กังวลการระบาดของไวรัสโคโรนารอบสองหลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มในสหรัฐฯ

ประมาณ 6 รัฐในสหรัฐฯ อันประกอบไปด้วยรัฐเท็กซัสและอริโซนาพบจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามากขึ้นจนโรงพยาบาลไม่มีเพียงเพียงพอในการรองรับ และทำให้หลายฝ่ายกลับมากังวลต่อการกลับมาเปิดทำการของสหรัฐฯที่อาจนำไปสู่การระบาดระลอกสอง

การฟื้นตัวของตลาดหุ้นได้รับผลกระทบจากความกังวลดังกล่าว และทำให้เราเห็นการปรับตัวลงหนัก ซึ่งจะเห็นได้ถึงการที่ดัชนี S&P500 และดาวโจนส์มีการปรับตัวลงรายวันมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.

· เศรษฐกิจอังกฤษหดตัวเป็นประวัติการณ์ในเดือนเม.ย. -20.4%

เศรษฐกิจอังกฤษหดตัวลงครั้งประวัติการณ์ในเดือนเม.ย.ที่ระดับ -20.4% นับตั้งแต่ที่ประเทศใช้มาตรการ Lockdown เมื่อเดือนมี.ค. และมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะใช้เวลานานและเห็นการฟื้นตัวเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอังกฤษ เผยว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะสร้างผลกระทบครั้งใหญ่แก่เศรษฐกิจอังกฤษ แต่รัฐบาลจะดำเนินการในการสนับสนุนทางด้านเงินเดือน การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และการปรับลดภาษีเพื่อช่วยฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

· ผลสำรวจรอยเตอร์ส ชี้ ยอดส่งออกญี่ปุ่นร่วงลงต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคดิ่งลงจากวิกฤตไวรัส

อุปสงค์ความต้องการดิ่งลงหนักในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนาและมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. ซึ่งจะเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่มากที่สุดตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตไวรัสโคโรนาทั่วโลกเมื่อปี 2009 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคร่วงลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอและจะส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ยอดส่งออกถูกคาดว่าจะร่วงลง -26.1% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่ก.ย. ปี 2009

· ญี่ปุ่นจัดตั้งกองทุนฉุกเฉิน 9.4 หมื่นล้านเหรียญเพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยปราศจากการพิจารณาจากทางรัฐสภา

ทั้งนี้ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า จำนวนเงิน 10 ล้านล้านเยน (9.4 หมื่นล้านเหรียญ) จะเป็นงบประมาณที่อนุมัติให้ภาครัฐนำไปเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งจะมีการรายงานต่อรัฐสภาอีกครั้งเกี่ยวกับการนำงบไปใช้จ่ายตามจำเป็นและเหมาะสม

· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น กล่าวว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นดูจะเผชิญกับจุดต่ำสุดไปแล้ว จึงแนะนำให้จับตาการฟื้นตัวหลังเผชิญกับการระบาดของไวรัสโคโรนา และต้องระวังต่อทิศทางการระบาดที่เป็นไปในทิศทางบวกมากขึ้น หลังจากทีมีการคลาย Lockdown

การกล่าวถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นก่อนจะมีการปรับทบทวนเรื่องดอกเบี้ยของบีโอเจในสัปดาห์หน้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเห็นบีโอเจคงการขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากมุมมองที่จะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป

· ราคาน้ำมันดิบร่วงต่อ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อโคโรนาเพิ่มขึ้น

น้ำมันดิบร่วงลงต่อจากที่ทรุดตัวลงอย่างหนักวานนี้ ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นในสัปดาห์นี้ และทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ที่ว่าอาจเกิดภาวะ Second Wave ได้อีกครั้ง ที่จะเป็นปัจจัยที่เข้ากระทบต่อราคาน้ำมันโลกที่อ่อนแอ

สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 1.34 เหรียญ หรือคิดเป็น -3.5% ที่ 37.21 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ร่วงลงไปเกือบ 8% วานนี้ ด้านสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับลง 1.37 เหรียญ หรือ -3.8% ที่ระดับ 34.97 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ดิ่งลงกว่า 8%วานนี้    

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com