• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 10 มิถุนายน 2563

    10 มิถุนายน 2563 | Economic News
 

· ดอลลาร์ร่วงกังวลผลประชุมเฟด

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางนักลงทุนบางส่วนที่รอคอยผลประชุมเฟดที่อาจมีการจำกัดการปรับขึ้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายในคืนนี้

สิ่งสำคัญหลักที่ต้องจับตาในการประชุมคืนนี้ คือ ถ้าเฟดไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งหลักๆตามคาดก็อาจเห็นการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และจะช่วยสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์ให้ได้ ท่ามกลางสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวขึ้น แม้ว่าจะเป็นการรีบาวน์อย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงเกิดวิกฤตก็ตาม

ขณะที่นักวิเคราะห์บางรายลดมุมมองเกี่ยวกับโอกาสที่จะเห็นเฟดปรับลดปรับมุมมองต่อ Yield Curve ที่อาจเป็นผลให้เราเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงได้ แต่ความไม่แน่นอนทั้งหมดจากเฟดก็ดูจะส่งผลกดดันค่าเงินดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบเงินเยน โดยทรงตัวแนว 107.54 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะ 1.2760 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 12 มี.ค.

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ทรงตัวบริเวณ 0.8271% ในวันนี้ ขณะที่ภาพรวมเมื่อวานนี้ผลตอบแทนระยะยาวร่วงลงจากเทรดเดอร์ที่ปรับสถานะการลงทุนก่อนทราบประชุมเฟด

ทั้งนี้ เฟดจะมีการเปิดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งจะถือเป็นครั้งแรกในการเผยข้อมูลหลังเผชิญการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เป็นชนวนเหตุให้เศรษฐกิจสหรัฐฯก้าวสู่ภาวะถดถอย ท่ามกลางสัญญาณในภาคการผลิตที่อ่อนแอปีนี้ และดอกเบี้ยระดับต่ำน่าจะยังอยู่ต่อไปอีก 2-3 ปี

ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.22% ที่ 1.1364 ดอลลาร์/ยูโร

ความกังวลในเรื่องความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างอังกฤษและอียูก็ดูจะกดดันค่าเงินยูโรและปอนด์เวลานี้ โดยหัวหน้าผู้แทนเจรจา Brexit ของอียู มีกำหนดการหารือกับทางอังกฤษต่อในช่วงค่ำวันนี้ ซึ่งอาจมีรายละเอียดบางส่วนที่มาช่วยหนุนความเชื่อมั่นของตลาดได้บ้าง


· ท่ามกลางการรับมือวิกฤต กับมุมมองเฟดระยะยาว

เฟดจะเสร็จสิ้นการประชุมรอบล่าสุดในคืนนี้ โดยหลายๆคนจับตาไปยังแนวทางการรับมือการระบาดของไวรัสโคโรนา และความคืบหน้าของแผนการสร้างความแข็งแกร่งและการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

รายงานการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค. ได้สร้างความแปลกใจให้แก่นักเศรษฐศาสตร์ที่ค่อนข้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วท่ามกลางบริษัทที่เริ่มกลับมาเปิดทำการและเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น หลังจากที่บริษัทปิดทำการในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา

แหล่งข่าวบางส่วนตอบรับกับมุมมองเชิงบวก และสมาชิกเฟดบางส่วนมีการกล่าวถึงข้อมูลสถิติทางเศรษฐกิจที่ขณะนี้ดูความสำคัญน้อยกว่าความคืบหน้าในช่วงวิกฤต โดยสภาพเศรษฐกิจดูจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการเริ่มตั้งแต่เดือนก.พ. ขณะที่สมาชิกเฟดต่างเห็นพ้องกันว่าความเสี่ยงจะยังอยู่ในระดับสูง จนกว่าจะชัดเจนว่า Second Wave จะไม่เกิดขึ้นอีกครั้ง

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Oxford Economics กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจควรมีความระมัดระวัง แม้ว่าจะมีกำลังใจที่ดีขึ้นจากข้อมูลต่างๆที่ดีขึ้น และสัญญาณของการกลับมาจ้างงาน เนื่องด้วยเรายังมองว่าอัตราว่างงานจะยังคงอยู่ในระดับสูง และเงินเฟ้อจะยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่เฟดกำหนดไว้ที่ 2% อย่างน้อยๆจนถึงปีหน้า ขณะที่การฟื้นตัวก็ยังคงต้องระวังความเสี่ยงจาก Second Wave

ขณะที่คืนนี้ เฟดจะมีการเผยคาดการณ์เศรษฐกิจที่จะถือเป็นการอัพเดตทิศทางครั้งแรกหลังจากที่เปิดเผยล่าสุดไปเมื่อเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว ก่อนจะเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยเฟดจะเผยผลในช่วงเวลาประมาณตี 1 ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นจะตามมาด้วยแถลงการณ์ของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด


· หัวหน้านักกลยุทธ์ค่าเงินจาก Mizuho Securities กล่าวว่า เฟดน่าจะสามารถอดทนรอต่อการเข้าควบคุมการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯเผชิญกับภาวะวิกฤตไม่นานนี้ และปัจจุบันแค่เป็นการเข้าสู่เฟสของการรักษาตัวทางเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่านี่ถือเป็นโอกาสอันดีที่หากต้องการดอลลาร์ให้เข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว


· อีซีบีเตรียมแผนสำหรับ Bad Bank กรณีการระบาดของไวรัสโคโรนาก่อวิกฤตหนี้สิน

เจ้าหน้าที่อีซีบีมีการกำหนดตารางในการจัดการเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเผชิญกับมูลค่าเงินหลายแสนล้านยูโร

ทั้งนี้ คาดการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ทางยุโรปมีการอัดฉีดเม็ดเงินนับล้านๆเหรียญเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในภูมิภาค ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการดูแลและปกป้องธนาคารพาณิชย์จากการระบาดรอบสอง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น เราจะยิ่งเห็นอัตราว่างงานยุโรปรับขึ้นเป็นประวัติศาสตร์

· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเม็กซิโก เผย เศรษฐกิจเม็กซิโกมีแนวโน้มหดตัวลง 17% ในเดือนเม.ย. และอาจหดตัวลงเล็กน้อยในเดือนพ.ค. ซึ่งข้อมูลจากทางภาครัฐ เผยว่า เศรษฐกิจเม็กซิโกนั้นหดตัวลงไป -1.2% ภายในช่วง 3 เดือนแรกของปี โดยที่ข้อมูลระหว่างเดือน ม.ค. - มีนาคมชะลอตัวลง จึบงทำให้ประเทศหวั่นกระทบจีดีพี

· รายงานดัชนีราคาผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PPI) ออกมาแย่ลงต่อเนื่องในเดือนพ.ค. ถือเป็นอัตราการร่วงลงมากที่สุดในรอบกว่า 4 ปี จึงถือเป็นการตอกย้ำถึงแรงกดดันในภาคการผลิต จากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่มาลดการเคลื่อนไหวทางการค้าและอุปสงค์ทั่วโลก

ดัชนี PPI ของจีนเดือนพ.ค. ออกมาแย่ลงแตะ 3.7% เมื่อเทียบปีก่อน และเมื่อเทียบรายปีพบลดลงไป 3.3%

การระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะเป็นอุปสรรคทางการค้า ที่ประกอบไปด้วยตลาดส่งออกสำคัญของจีน ทั้งสหรัฐฯและยุโรปที่ดูจะกดดันต่อการลงทุนในภาคการผลิต และตลาดแรงงานจีน

· บริษัทจีนเดินหน้าแผนตึง IPO สหรัฐฯ ท่ามกลางตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น

บริษัทต่างๆในจีนกำลังมีแผนจะลิสต์รายการ IPO ของสหรัฐฯ ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสองประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของกลุ่มนักกฎหมาย นักธนาคาร นักบัญชี และเจ้าหน้าที่ออกนโยบายต่างๆ

แผนดังกล่าวมีขึ้นตามมาจากการที่สหรัฐฯออกกฎที่เข้มงวดต่อบริษัทจีนบางแห่งในการทำธุรกิจกับทางบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ

พาร์ทเนอร์จาก Dechert LLP ในฮ่องกง ระบุว่า แผนดังกล่าวดูจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศชะลอตัวลง และหากความตึงเครียดระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้น ก็คาดว่าเศรษฐกิจจะยังเดินหน้าชะลอตัวต่อ


· น้ำมันดิบลงต่อจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับขึ้น จุดประกายกังวลอุปทานน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงหลังจากที่ข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯภาคเอกชน (API) ออกมาดีขึ้นแตะ 8.4 ล้านบาร์เรล จากผลสำรวจที่คาดจะเห็นการขยายตัวเพียง 1.4% ขณะที่คืนนี้ต้องติดตามรายงานสต็อกน้ำมันดิบของทางรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA)ในคืนนี้

น้ำมันดิบ WTI ปรับลงมาประมาณ 80 เซนต์ หรือ -2.1% ที่ 38.14 เหรียญ/บาร์เรล หลังวันก่อนปรับขึ้นไปได้เกือบ 2 % ในวันก่อน

บรรดานักวิเคราะห์มองว่าตลาดแรงงานมีการปรับตัวขึ้นเร็วเกินไป ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ ณ ปัจจุบัน

· นางคิม โย จอง น้องสาวผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ได้รับบทบาทหน้าที่ใหม่ในการสร้างแรงกดดันกับทางเกาหลีใต้ โดยไฮไลท์เด่นอยู่ที่ความเห็นนักวิเคราะห์ที่กล่าวว่าหน้าที่ของเธอถือเป็นหน้าที่สำคัญมากกว่าการเป็นผู้ช่วยพี่ชายของเธอ

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com