• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2563

    1 มิถุนายน 2563 | SET News
  
 

· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากความคืบหน้าในการกลับมาเปิดเศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง จึงช่วยชดเชยความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ รวมทั้งความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนเกี่ยวกับกฎหมายความมั่งคงแห่งชาติของฮ่องกง

นอกจากนี้ ยังมีความโล่งใจหลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯจะเริ่มกระบวนการยกเลิกสถานะพิเศษของฮ่องกง เพื่อตอบโต้การตัดสินใจของจีนที่จะบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกง ซึ่งน้อยกว่าที่ขู่เอาไว้หรือกว่าที่นักลงทุนเป็นกังวล

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.45% ซึ่งเป็นระดับสูงุสดนับตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา

· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางข้อมูลภาคการผลิตประจำเดือนพ.ค.ที่แข็งแกร่ง และหลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีปฏิกิริยาตอบโต้เล็กน้อยต่อกฎหมายความมั่นคงของจีนที่มีต่อฮ่องกง

โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 2.21% ที่ระดับ 2,915.43 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดปิดรายวันมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค.

ด้านกิจกรรมโรงงานของจีนประจำเดือนพ.ค.กลับสู่การเติบโตอย่างไม่คาดคิดใ เนื่องจากมาตรการเข้มงวดในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาได้คลี่คลายลง อย่างไรก็ดี เป็นการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกหดตัวลงต่อเนื่อง

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากถ้อยแถลงของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯเกี่ยวกับการตอบโต้การตัดสินใจของจีนที่จะบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกง ซึ่งน้อยกว่าที่ขู่เอาไว้หรือกว่าที่นักลงทุนเป็นกังวล

โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.8% ที่ระดับ 22,062.39 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา

การปรับตัวสูงขึ้นจากดัชนี เกิดจากการทำ short-covering ของเหล่านักลงทุนบางคนที่กังวลว่านายทรัมป์อาจเข้ามาทำข้อตกลงทางการค้ากับจีนหรือเรียกร้องสิทธิ์สิ้นสุดทันทีสู่ฮ่องกงหลังจากที่รัฐสภาจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงใหม่สำหรับฮ่องกงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ทั้งนี้ เหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่หลายประเทศค่อย ๆ กลับมาเปิดเศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของตลาดตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา

โตเกียวผ่อนคลายมาตรการ Lockdown หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยอนุญาตให้โรงยิมและโรงภาพยนตร์เปิดทำการในลักษณะการผ่อนคลายแบบค่อยเป็นค่อยไป

อย่างไรก็ตามแนวโน้มที่ทำให้เกิดความสับสนนั้น เกิดจากเหตุการณ์การประท้วงและการจลาจลในหลาย ๆ เมืองในสหรัฐฯ หลังจากชายผิวดำที่ไม่มีอาวุธเสียชีวิตจากการถูกควบคุมตัวในมินนิอาโปลิสเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 เนื่องจากความหวังว่าจะมีการฟื้นตัวทั่วโลกในช่วงหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขฯะที่เหล่านักลงทุนโล่งใจว่าการตอบสนองของสหรัฐฯต่อกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีนในฮ่องกงนั้นไม่ได้แย่อย่างที่คิด

โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 1% และทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร เหมืองแร่ การท่องเที่ยวและการพักผ่อน

ขณะเดียวกันการสำรวจกิจกรรมทางธุรกิจพบว่ากิจกรรมโรงงานของจีนประจำเดือนพ.ค. ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่ภาคบริการและภาคการก่อสร้างมีการปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ กลับมาเปิดทำการหลังจากปิดทำการไปในช่วงการแพร่ระบาของไวรัส

ทั้งนี้ ในวันนี้ฝั่งยุโรปจะมีการประกาศรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต

· อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ชี้แจงถึงการออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขและเยียวยาสถานการณ์โควิด-19 ว่า มีบางจุดที่ต้องสร้างความเข้าใจกันให้ถูกต้อง เพราะว่ารัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎรยังต้องร่วมมือกันอีกยาว เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่จบง่ายๆ เป็นภาระที่ประชาชนจะต้องประสบกับความเดือดร้อน การที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีโอกาสอภิปรายแสดงความเห็นให้กับรัฐบาลถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เชื่อว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงค์ชาติ สำนักงบประมาณ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จะรับเอาสิ่งเหล่านี้ไปพิจารณาปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้น ทราบว่าสมาชิกทุกคนก็เป็นห่วง

· อ้างอิงจากสำนักข่าว Investing

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเศรษฐกิจประจ าเดือน เม.ย. หดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากเกือบทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ ระบาดโรค COVID-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุดหดตัวถึง100% YoY เป็ นผลมาจาก การห้ามเดินทางเข้าไทย ส่วนการส่งออกหากไม่รวมทองคำที่เป็น Swing Factorหดตัวสูงถึง15.9% YoY ถือเป็ นการหดตัวมากสุดในรอบ 8 ปีจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ลดลง ด้านการบริโภคภาคเอกชนลดลง ตามรายได้ที่อ่อนแอทั้งจากครัวเรือนนอกภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากมาตรการLockdown และครัวเรือนภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการภัยแล้ง ขณะที่มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐเท่านั้นที่ยังคงขยายตัวได้ดีเป็นเดือนที่2 จากรายจ่ายประจำและการใช้จ่ายลงทุน ตามการเบิกจ่ายหลัง พ.ร.บ.งบประมาณปี2563 ประกาศใช้

- Standard Chartered มีมุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยล่าสุดว่า ไทยน่าจะใช้เวลาอีกมากกว่า 2 ปีกว่าที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 แม้ว่าบรรยากาศเริ่มดีขึ้นในขณะที่ธุรกิจเริ่มกลับมาเปิดทำการ ขณะที่รัฐบาลได้ให้เงินช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วก็ตาม

· อ้างอิงจากสำนักข่าว Brand Inside

- ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด มอง GDP ไทยในไตรมาส 2 อาจถดถอยได้มากถึง -13% อย่างไรก็ดีความกังวลจากสถาบันการเงินรายนี้ต่อเศรษฐกิจไทยนั้นอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวมากกว่า 2 ปี

- GDP ไทย ไตรมาส 1/2020 ถดถอยแค่ -1.8% ดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้

- กนง. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0.5% มองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มถดถอยมากกว่าเดิม

- รัฐบาลคาดการณ์เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อาจยาวกว่า 3 เดือน

ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 นั้นธนาคารคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัว -13% ก่อนที่เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ตัวเลขคาดการณ์ GDP ของไทยปีนี้จะอยู่ที่ -5% ก่อนที่จะฟื้นตัวในปี 2021 กลับมาเติบโตเล็กน้อยที่ 1.8%

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com