• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2563

    29 พฤษภาคม 2563 | Economic News

· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าววว่าเขาจะทำการแถลงข่าวเกี่ยวกับจีนวันนี้ แต่ปราศจากรายละเอียดใดๆถึงสิ่งที่เขาต้องการจะพูด แต่การกล่าวถ้อยแถลงของเขาดังกล่าวก็ดูจะเพียงพอที่จะทำให้ตลาดผันผวนดิ่งลง

ทั้งนี้ ระหว่างช่วงเวลาตี 3.15น. (ตามเวลาไทย) จะถือเป็นช่วงเวลาที่เขาจะทำการกล่าวถ้อยแถลง ตามมาที่เวลาประมาณตี 4.00 ที่ตลาดปิดทำการ ซึ่งทางทำเนียบขาวเองก็ยังไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆกับสื่อว่านายทรัมป์จะทำการประกาศเช่นไร


· ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นในวันศุกร์ด้วยท่าทีระมัดระวังต่อถ้อยแถลงของนายทรัมป์ เกี่ยวกับการที่จีนออกกฎหมายฮ่องกง ที่ทำให้เกิดความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบยูโรและเงินปอนด์ แต่ก็อาจดีดกลับมาได้อีกครั้งจากความกังวลตึงเครียดสหรัฐฯ-จีนที่อาจทำให้เกิดความต้องการดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ได้

โดยค่าเงินดอลลาร์สัปดาห์นี้อยู่ในทิศทางอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ท่ามกลางการคลาย Lockdown และการที่ยุโรปเผยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ

ค่าเงินเยนวันนี้แข็งค่าขึ้น 0.5% ที่ 107.09 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าที่ 1.1102 ดอลลาร์/ยูโร และใกล้ปิดต่ำสุดตั้งแต่ 30 มี.ค. แต่ตลาดก็ยังมีแรงหนุนเล็กน้อยจากการที่ยอดค้าปลีกเยอรมนีหดตัวน้อยกว่าที่คาด

ค่าเงินหยวนทรงตัวแนว 7.1463 หยวน/ดอลลาร์ และยังอยู่ไม่ห่างจากระดับอ่อนค่ามากสุดเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้ที่ 7.1966 หยวน/ดอลลาร์


· ประธานเฟดสาขาดัลลัส ชี้ เศรษฐกิจดิ่งแล้วและพยามที่จะรีบาวน์

นายโรเบิร์ต เคพแลนด์ ปะธานเฟดสาขาดัลลัส ชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มสู่จุดต่ำสุดแล้ว แต่การจะรีบาวน์กลับได้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับการทดสอบความรู้สึกประชาชนว่ารู้สึกสบายใจในการจะกลับมาเดินทาง, ทานอาหารนอกบ้าน และกิจกรรมอื่นๆดังที่เคยทำในช่วงเกิดวิกฤตหรือไม่


· ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก กล่าวว่าเฟดมีเครื่องมือที่จะช่วยเสริมเศรษฐกิจมากกว่าการปรับลดดอกเบี้ย

นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยติดลบไม่ถือเป็นเครื่องมือที่เฟดจะนำมาใช้ เนื่องจากเรามีเครื่องมืออื่นๆอีกที่คิดว่าให้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

โดยอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ สัญญาณชี้นำ และยอดดุลบัญชีเฟด คือเครื่องมือที่เฟดจะนำมาใช้เพื่อหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกับการจ้างงานก็จริง แต่การใช้ดอกเบี้ยติดลบไม่ถือว่เป็นเรื่องที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์นี้ และเราคิดว่ามีเครื่องมืออื่นๆที่สามารถนำมาใช้ได้

· Standard Chartered เผย หากเฟดเลือกใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบก็อาจถือเป็นเครื่องมือขั้นสุด

รายงานจาก Standard Chartered Bank กล่าวว่า หากเฟดเลือกใช้ดอกเบี้ยติดลบก็ต้องเป็นติดลบมากถึง -0.5% ถึงระดับ -1% แต่ประธานเฟดก็ส่งสัญญาณแล้วว่าการจะลดดอกเบี้ยยังคงอยู่ภายใต้การพิจารณาอย่าละเอียดถี่ถ้วน แม้จะถูกกดดันจากประธานาธิบดีสหรัฐฯในเวลานี้ก็ตาม

ทั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบอาจไม่มีความจำเป็นที่จะเกิดในเวลานี้ ซึ่งหากจะเกิดขึ้นจริงต้องมีเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างผิดหวังอย่างมากต่อการรีบาวน์ จึงทำให้เลือกใช้นโยบายดี และหากต้องทำการปรับลดดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบ ทางเฟดน่าจะเลือกใช้ระดับติดลบอย่างมาก


· ไอเอ็มเอฟ อาจปรับคาดการณ์ทางเศรษฐกิจเนื่องจากยังคงมีข้อมูลให้ประเมินได้เล็กน้อย

ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญอาจถูกปรับทบทวนหรือบางทีอาจไม่สามารถทำการประเมินได้ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ส่งผลต่อการประเมินข้อมูลสถิติสำคัญ โดยที่ ณ ขณะนี้มีการติดเชื้อทั่วโลกไปแล้ว 5.8 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตรวม 360,000 ราย

และการปราศจากข้อมูลที่แน่ชัดก็อาจทำให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายต่างๆไม่สามารถประเมินได้ว่าการระบาดนั้นเลวร้ายเพียงใด และส่งผลต่อประชาชน รวมทั้งเศรษฐกิจเช่นไร รวมถึงการพิจารณาต่อทิศทางการฟื้นตัวด้วย

· ยอดค้าปลีกเยอรมนีปรับตัวลงอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี 2007 โดยข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็ฯว่าการหดตัวนั้นไม่ได้แตกต่างจากที่ประเมินไว้ ท่ามกลางการได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา โดยยอดค้าปลีกเยอรมนีเดือนพ.ค. ปรับตัวลงแตะ -5.3% ขณะที่ในเดือนก่อนหน้ามีการปรับทบทวนขึ้นมาที่ -4%

เมื่อเทียบรายปี จะพบว่ายอดค้าปลีกเยอรมนีนั้นร่วงลงไป -6.5% หลังจากที่เดือนมี.ค. ถูกปรับทบทวนมาที่ -1.2%

· โพลล์สำรวจจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นประจำเดือนเม.ย.มีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างรวดเร็วในรอบหลายทศวรรษ เนื่องจากการประกาศภาวะฉุกเฉินของประเทศที่จะต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้ผู้คนต้องอยู่บ้านและธุรกิจต่าง ๆ ต้องปิดตัวลง

โดยยอดค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนประจำเดือนเม.ย.คาดว่าจะลดลง 15.4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในปี 2001

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงหลังจากที่ข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯยังสะท้อนถึงภาวการณ์ขาดแคลนอุปสงค์ ประกอบกับทิศทางความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ดูจะกดดันต่อตลาดการเงินทั่วโลก

น้ำมันดิบ Brent อ่อนตัวลง 25 เซนต์ หรือ -0.7% ที่ 35.04 เหรียญ ขณะที่ WTI ปรับลง 53 เซนต์ หรือ -1.6% ที่ 33.18 เหรียญ/บาร์เรล

อย่างไรก็ดี ภาพรวมราคาน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดดูเหมือนจะยังขยายตัวลงได้ต่อเนื่อง 5 สัปดาห์จากการปรับลดกำลังการผลิตและมุมมองที่ว่าอุปสงค์ในหลายๆประเทศจะฟื้นตัว


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com