• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 14 พฤษภาคม 2563

    14 พฤษภาคม 2563 | Economic News


·         ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ หลังจากที่ประธานเฟดกล่าวยืนยันว่าเฟดยังไม่พิจารณาเปลี่ยนมาใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบในตอนนี้

ขณะที่ค่าเงินในตลาดเอเชียส่วนใหญ่ค่อนข้างอ่อนค่าลง หลังจากออสเตรเลียประกาศจำนวนการจ้างงานในเดือน เม.ย. ออกมาลดลงด้วยอัตราที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจำเป็นต้องได้รับนโยบายช่วยเหลือจากรัฐบาลมากกว่านี้

 

สำหรับคืนนี้ ตลาดจะหันไปให้ความสนใจกับการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปในช่วง 2 วันนี้เพื่อหาความชัดเจนเกี่ยวกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ รวมถึงข้อมูลวัดกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมของจีน เพื่อดูว่าเศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตไวรัสได้มากแค่ไหน

 

ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินยูโรแถว 1.0805 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากเมื่อวานแข็งค่าขึ้นประมาณ 0.3%

 

เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ ดอลลาร์แข็งค่าทำระดับสูงสุดในอบ 5 สัปดาห์แถว 1.2203 ดอลลาร์/ปอนด์

 

ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แถวระดับ 106.88 เยน/ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนหันเข้าซื้อค่าเงินเยนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังดัชนี Nikkei ปรับลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบ สัปดาห์



·         EUR/USD Forecast: ยูโรถูกกดดันหลังถ้อยแถลงปธ.เฟด

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเดิม ภาพรวมเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways ขณะที่ในกราฟราย 4 ช.ม. ค่าเงินยังคงถูกกดดันจากเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 SMA ขณะที่ค่าเงินกำลังเคลื่อนไหวใกล้เส้นค่าเฉลี่ยราย 20 SMA ด้านสัญญาณจาก Indicators เริ่มเคลื่อนไหวลดลงบ้าง แต่ภาพรวมยังเป็นการเคลื่อนไหวออกด้านข้าง ดังนั้นจึงประเมินว่าค่าเงินมีโอกาสที่จะหลุดแนวรับ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร แต่อาจจะลงต่อจากแนวรับดังกล่าวไปได้ไม่มากนัก

 

แนวรับ: 1.0790 1.0755 1.0720

แนวต้าน: 1.0890 1.0920 1.0950


·         ทรัมป์โต้คำเตือนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเปิดเศรษฐกิจ เป็นคำตอบที่ยอมรับไม่ได้

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปฏิเสธคำเตือนของ Dr. Anthony Fauci ผู้บริหารสถาบันวิจัยโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ ที่กล่าวรายงานต่อวุฒิสภาสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาเกี่ยวกับผลกระทบหากเปิดรัฐและโรงเรียนเร็วเกินไป ว่า เป็นคำตอบที่ยอมรับไม่ได้

โดย Dr. Fauci ได้กล่าวว่าเขาไม่เชื่อมั่นกับแนวคิดที่ว่าการพัฒนาวัคซีนหรือยารักษาไวรัสโคโรนาจะสำเร็จภายในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของสหรัฐฯปีนี้ (ระหว่างเดือนมิ.ย. – ส.ค.) ซึ่งเป็นช่วงที่โรงเรียนเริ่มกลับมาทำการเรียนการสอนอีกครั้ง ถึงพัฒนาสำเร็จในช่วงเวลาดังกล่าวก็ไม่ค่อยเชื่อมั่นกับประสิทธิภาพของมันเช่นกัน พร้อมเตือนว่าหากสหรัฐฯตัดสินใจเปิดเศรษฐกิจเร็วเกินไปก็อาจทำให้มี คนล้มป่วยและเสียชีวิตมากกว่าเดิม” และอาจทำให้สหรัฐฯจำเป็นต้องกลับมาปิดประเทศอีกครั้ง แทนที่จะเดินหน้าต่อไปได้




·         จับตาจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯคืนนี้ คาดยังมีคนตกงานเพิ่มหลักล้าน

การประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯในคืนนี้ ยังคงถูกคาดการณ์ว่าจะยังคงมีจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการมากกว่าหลายรายต่อจากสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างยิ่งขึ้น

 

โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯคืนนี้ ถูกคาดว่าจประกาศออกมาที่ 2.5 ล้านราย สำหรับสัปดาห์ของวันที่ 9 พ.ค. แม้จะเป็นตัวเลขหลักล้าน แต่ก็ลดลงจากยอดของสัปดาห์ก่อนที่ 3.169 ล้านราย  โดยจำนวนผู้รับสวัสดิการมีการประกาศออกมาด้วยจำนวนที่ลดลงเรื่อยๆในแต่ละสัปดาห์ หลังจากสัปดาห์ของวันที่ 28 มี.ค. ประกาศออกมาด้วยระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 6.867 ล้านราย

 

หากยอดคืนนี้ประกาศออกมาใกล้เคียงกับคาดการณ์ จะทำให้มียอดสะสมที่ประมาณ 36 ล้านราย นับตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. ขึ้นเป็นประมาณ ใน ของประชากรวัยทำงานทั่วสหรัฐฯ โดยเฉพาะในเดือน เม.ย. ที่น่าจะเป็นเดือนที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสหนักที่สุด เห็นได้จากอัตราการผลิตของเศรษฐกิจในเดือนดังกล่าวที่ประกาศออกมาต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปี 2007 – 2009 หรือในสมัย Great Recession


·         สหรัฐฯปรับผลประกาศจ้างงานเดือน ก.พ. – มี.ค. ออกมาตกงานมากกว่าเดิม

สหรัฐฯปรับผลการประกาศจำนวนตำแหน่งงานที่สูญเสียไปในเดือน ก.พ. – เม.ย. สูงขึ้น โดยการจ้างงานเดือน เม.ย. ปรับผลการประกาศใหม่เป็น 20.537 ล้านตำแหน่ง จากเดิม 20.5 ล้านตำแหน่ง

 

สำหรับเดือน มี.ค. ปรับเป็นลดลง 881,000 ตำแหน่ง จากเดิม 870,000 ตำแหน่ง และเดือน ก.พ. เป็น 251,00 ตำแหน่ง จากเดิม 230,000 ตำแหน่ง


·         Goldman Sachs คาดอัตราว่างงานสหรัฐฯจะทำระดับสูงสุดที่ 25%

บรรดานักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร Goldman Sachs ประเมินว่าอัตราว่างงานของสหรัฐฯจะพุ่งสูงขึ้นและทำระดับสูงสุดที่ 25% เทียบกับคาดการณ์เดิมที่ 15%

โดยทางธนาคารได้ปรับคาดการณ์ใหม่หลังจากการประกาศยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯเดือน เม.ย. รวมถึงอัตราว่างงานที่ประกาศออกมาที่ 14.7% ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่สมัย Great Depression


·         มนูชินยืนยัน สหรัฐฯจะทยอยกลับมาเปิดเศรษฐกิจ

นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยืนยันว่าสหรัฐฯจะทยอยกลับมาเปิดเศรษฐกิจ พร้อมเตือนว่าหากเปิดเศรษฐกิจช้าเกินไปจะเป็นความเสี่ยงที่อาจทำลายเศรษฐกิจสหรัฐฯไปจนถึงสุขภาพของชาวอเมริกันได้

 

ทั้งนี้ นายมนูชินคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 น่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก แต่ถ้าเศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้ เศรษฐกิจในไตรมาสถัดๆไปก็จะสามารถพัฒนาดีขึ้นได้ตามลำดับและกลับมาเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอีกครั้ง

 

นอกจากนี้ นายมนูชินยังได้เปิดเผยว่าทีมบริหารยังเปิดกว้างต่อการพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มในอนาคต แต่ไม่ได้รีบร้อนที่จะพิจารณาถึงกรณีดังกล่าวในช่วงสัปดาห์นี้


·         Goldman Sachs คาด เฟดจะพิจารณาใช้ดอกเบี้ยติดลบ หากเกิด Second wave

นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs คาด หากมีสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลงอย่างมากอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดการระบาดรอบที่สองของโคโรนาไวรัส (Second wave) ก็จะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เฟดหันมาพิจารณาใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยในระดับติดลบ แต่การใช้นโยบายดังกล่าวจะไม่สามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจได้มากเท่าไหร่นัก

 

เมื่อคืนที่ผ่านมา นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ยืนยันว่าทางเฟดยังไม่มีแนวคิดที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบแต่อย่างใด แม้ว่าธนาคารกลางบางแห่ง เช่นธนาคารกลางอังกฤษ ที่เริ่มส่งสัญญาณถึงการใช้นโยบายดังกล่าวบ้างแล้ว

 

แม้ทาง Goldman Sachs จะไม่ได้ระบุว่าทำไมนโยบายดอกเบี้ยติดลบจะไม่สามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจได้มากนัก แต่นักวิเคราะห์บางรายได้ยกตัวอย่างธนาคารกลางยุโรปและญี่ปุ่น ที่มีการใช้อัตราดอกเบี้ยในระดับติดลบมานานหลายปี แต่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ก็ไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควร



·         นักวิเคราะห์จากสถาบัน ABN Amro มีความเห็นว่า เป็นไปได้ที่เฟดจะหันมาใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่โอกาสที่จะหันมาใช้จริงนั้นต่ำมาก เนื่องจากเฟดยังมีเครื่องมือทางเศรษฐกิจอื่นๆอีกมา ดังนั้นเฟดไม่น่าจะหันมาพิจารณาใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ เว้นเสียแต่เครื่องมือทางเศรษฐกิจจะหมดลงไปแล้วจริงๆ

 

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่าหนทางที่เฟดน่าจะเลือกใช้มากกว่า ได้แก่ การขยายวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ การส่งสัญญาณนโยบายทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนกว่าเดิม และการจำกัดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น


·         ออสเตรเลียประกาศการจ้างงานออกมาลดลงด้วยอัตรามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางการปิดตัวลงของธุรกิจหลายๆแห่งในประเทศ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

โดยสำนักงานสถิติของออสเตรเลียรายงานการจ้างงานในเดือน เม.ย. ออกมาลดลง 594,300 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานพุ่งสูงขึ้นสู่ระดับ 6.2% ระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. ปี 2015 จากเดิมของเดือน มี.ค. ที่ 5.2% แต่ยังต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 8.3%


·         เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสถาบัน COFCO ระบุว่าจีนมีแนวโน้มที่จะเข้าซื้อสินค้าการเกษตรจากสหรัฐฯมากขึ้น โดยที่มีเมล็ดถั่วเหลืองเป็นสินค้ามีที่ปริมาณนำเข้ามากที่สุด

นอกจากนี้ จีนยังได้ประกาศอนุญาตให้สามารถนำเข้าบาร์เล่ย์และบลูเบอร์รี่จากสหรัฐฯได้ ผ่านทางเว็บไซท์ของรัฐบาลในวันนี้


·         รัฐบาลฟินแลนด์ประกาศออกนโยบายเม็ดเงินเยียวยาเศรษฐกิจเป็นมูลค่าเกือบ พันล้านยูโร ให้กับบรรดาบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา


·         ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น ท่ามกลางรายงานปริมาณสต็อกน้ำมันสหรัฐฯที่ปรับลดลงผิดคาด แต่การปรับขึ้นของราคาเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงอ่อนแอจากผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่กดดันปริมาณอุปสงค์ในน้ำมัน ประกอบกับตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับโอกาสเกิดการระบาดรอบที่สองด้วย

 

โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 0.18 เหรียญ หรือ 0.6% แถว 29.37 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 0.23 เหรียญ หรือ 0.9% แถว 25.52 เหรียญ/บาร์เรล


·         นักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบ WTI เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัวขึ้นหลังจากที่ปรับขึ้นมาบริเวณ 25 เหรียญ/บาร์เรล หลังมีการเคลื่อนไหวแบบสะสมพลังในกรอบบริเวณ 24.50 เหรียญ/บาร์เรล

ซาอุดิอาระเบียจะทำการลดกำลังการผลิตลงอีกประมาณ 1 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่ UAE และคูเวตทำการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มอีก 180,000 บาร์เรล/วัน  ด้านรัสเซียจะลดกำลังการผลิตเพิ่ม 9.45 ล้านบาร์เรล/วัน ระหว่าง 1-11 พ.ค.

 

นอกจากนี้ คาซัคสถานจะทำการปรับลดกำลังการผลิตลงประมาณ 22% ในช่วงเดือนพ.ค. - มิ.ย. ตามข้อตกลงการผลิตของ OPEC+

 

ภาพรวมตลาดน้ำมันยังถูกจำกัดจากความกังวลครั้งใหม่เรื่อง Second Wave และความตึงเครียดระหว่างออสเตรเลียและจีน แต่ก็ดูมีผลกระทบเพียงเล็กน้อย

 

วิเคราะห์ทางเทคนิค

ณ ระหว่างวิเคราะห์ WTI ปรับขึ้น 3.8% แถว 25.06 เหรียญ/บาร์เรล ทำให้ราคาจะมีแนวต้านถัดไปที่เป็นสูงสุดเดิมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาแนว 25.58 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหากผ่านไปได้มีโอกาสไปแตะ 26 เหรียญ/บาร์เรล ในทางตรงข้ามราคาก็อาจย่อตัวกลับลงมาแนว 24.45 เหรียญ/บาร์เรล และหากยืนแนวนี้ไม่ได้ก็มีโอกาสไปทดสอบต่ำสุดของวันจันทร์ที่บริเวณ 23.67 เหรียญ/บาร์เรล



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com