• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2563

    13 พฤษภาคม 2563 | Economic News


·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 4,354,545 ราย

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 293,033 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 212 ประเทศ

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,408,636 ราย และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 83,425 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนล่าสุดอยู่ที่ 269,520 ราย ซึ่งขณะนี้ขึ้นมาเป็นลำดับที่ 2 ของโลก และมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ระดับ 26,920

Ø  จำนวนผู้เชื้อในรัสเซียอยู่ที่ 242,271 ราย และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 2,212 ราย

Ø  จำนวนผู้เชื้อในอังกฤษอยู่ที่ 226,463 ราย และมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในยุโรปที่ระดับ 32,692 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีล่าสุดอยู่ที่ 221,216 ราย และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 30,911 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในบราซิลล่าสุดอยู่ที่ 178,214 ราย ซึ่งขณะนี้ขยับขึ้นมาเป็นประเทศ 1 ใน 10 ของโลกที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 12,461 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยอยู่ที่ 3,017 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 56 ราย

 

·         ค่าเงินดอลลาร์ยังทรงตัวท่ามกลางนักลงทุนที่รอคอยถ้อยแถลงของประธานเฟดในคืนนี้ว่าจะมีโอกาสเห็นเฟดส

ค่าเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังธนาคารกลางนิวซีแลนด์ขยายมาตรการ QE พร้อมอาจเพิ่มมาตรการอื่นๆ อาทิการปรับลดดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบ

ค่าเงินเยนซื้อบายบริเวณ 107.21 เยน/ดอลลาร์ โดยเมื่อวานนี้ทำระดับอ่อนค่าได้มากที่สุดตั้งแต่ 24 เม.ย. บริเวณ 107.76 เหรียญ

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.0848 ดอลลาร์/ยูโร หลังที่แข็งค่าไปประมาณ 0.4
% ได้เมื่อวานนี้

นักกลยุทธ์ด้านค่าเงินจากสถาบัน Sumitomo Mitsui Trust Asset Management กล่าวถึงการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบนั้น ให้ดูตัวอย่างญี่ปุ่นที่ใช้อยู่และไม่ได้ก่อให้เกิดผลดี แต่สิ่งที่น่ากังวลคือเรื่องที่นายทรัมป์ กล่าวถึงอยู่อย่างในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งอะไรก็ตามที่เฟดทำ นายทรัมป์ก็มักจะไม่เห็นด้วย


·        บรรดาส.ส. กว่า 300 รายจากทั่วทุกมุมโลกเรียกร้องให้ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลกทำการยกเลิกหนี้สินให้แก่ประเทศยากจนเพื่อต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนา และเพื่อหนุนการเงินของเศรษฐกิจให้หลีกเลี่ยงจากภาวะไม่สดใสเวลนี้

 

·         รายงานจาก CNBC ระบุว่า ขณะนี้มีการปรับความเข้มงวดทางเงื่อนไขเพิ่มขึ้นสำหรับรัฐบาลยุโณปว่าจะมีการเตรียมความช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ภาคบริษัทที่ชะลอตัวเพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างไร

ทั้งนี้ ทางอียูจะทำการปรับกฎการช่วยเหลือประเทศในช่วงต้นเดือนมี.ค. เกี่ยวกับก้าวแรกของข้อตกลงการเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา โดยมาตรการต่างๆจะถูกทบวนเป็นครั้งที่ 2 ในวันศุกร์นี้ หลังจาที่ใช้เวลามาอย่างยาวนานในการหารือถึงรายละเอียดต่างๆร่วมกับรัฐบาลทั้ง 27 ประเทศ โดยส่วนใหญ่จะทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการช่วยเหลือให้แตกต่างจากที่อียูเคยให้การช่วยเหลือไว้ในปี 2008 และ 2009

 

·         องค์การสาธารณสุขเกาหลีใต้ กล่าวว่า ยังไม่มีแผนจะกลับมาเข้มงวดต่อนโยบาย Social Distancing แม้ว่าจะพบผู้ติดเชื้อใหม่ในกรุงโซลก็ตาม ซึ่งผลทดสอบประชาชนกว่า 1,000 ราย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไปเที่ยวย่านสถานบันเทิงประเภท ไนต์คลับ และบาร์ต่างๆในเมืองอิแทวอน ของกรุงโซล ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับ Second Wave

โดยไม่น้อยกว่า 119 ราย ที่พบเชื้อไวรัสโคโรนาล่าสุดเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ไปสถานบันเทิงหลังจากที่เริ่มมีมาตรการผ่อนคลาย Lockdown อันป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว

 

·         สถาบันการเงินระหว่างประเทศระบุว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศต้องออกพันธบัตรมากกว่าเดิมตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ 2.6 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งในเดือนมี.ค.มีการออกพันธบัตรที่ 2.1 ล้านล้านเหรียญ โดยการระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้หลายประเทศต้องใช้มาตรการ Shutdown ที่มีประสิทธิภาพด้วยการจำกัดการใช้ชีวิตผู้คนกว่าพันล้านคนอย่างเข้มงวด ขณะนี้ ประเทศทั่วโลกกว่า 187 ประเทศได้ใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อหยุดยั้งการระบาดของไวรัส ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจถดถอยมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปี 1930 ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

 

·         จีดีพีของอังกฤษหดตัวลงประมาณ 5.8% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบกับก.พ. เนื่องจากมาตรการ Lockdown เริ่มทำให้เศรษฐกิจในประเทศย่ำแย่ลง โดย ONS เผยว่า เป็นตัวเลขจีดีพีที่หดตัวลงมากที่สุดตั้งแต่ปี 1997 แต่ก็ออกมาน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงถึง 7.2% ซึ่งจีดีพีของอังกฤษลดลง 2% เป็นครั้งแรกในไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แม้ว่าจะออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์ไว้ที่ 2.5%

นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศใช้มาตรการ Lockdown ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. เพื่อควบคุมไวรัสโคโรนา ซึ่งขณะนี้มีผู้ติดเชื้อมากถึง 227,000 ราย โดยนายจอห์นสันได้เปิดเผยแผนที่จะผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

นอกจากนี้ ในสัปดาห์ที่แล้วบีโออีได้คาดว่า จีดีพีจะร่วงลงถึง 14% ในปี 2020 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่จีดีพีในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้จะร่วงลงถึง 25% โดยจะเป็นการหดตัวลงที่มากที่สุดตั้งปี 1706 และบีโออียังคาดว่า หากมีการผ่อนมาตรการ Social Distancing จีดีพีจะปรับตัวลงชั่วคราวและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

 

·         นายกรัฐมนตรีอินเดีย กล่าวว่า จะทำการเตรียมเม็ดเงิน 20 ล้านล้านรูปี (2.66 แสนล้านเหรียญ) สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินเพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดการ Shutdown เป็นเวลานาน


·         หัวหน้านักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs เชื่อว่า 2 สินค้าโภคภัณฑ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นกังวลในปี 2021 คือน้ำมันและด้านปศุสัตว์ เนื่องจากหลายๆประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลให้เกิดการปิดตัวลง และได้ทำให้ตลาดหุ้นและกลุ่มพลังงานมีการปรับตัวลดลงอย่างเกินคาด โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหวในแดนลบเป็นครั้งแรกในเดือนที่แล้ว

ทั้งน้ำมันดิบ WTI และ Brent ต่างก็ปรับตัวลดลงมากกว่า 50% ที่เริ่มต้นปี 2020 และกลุ่มนักลงทุนไม่ต้องการได้ยินอะไรที่เกี่ยวกับน้ำมัน

อย่างไรก็ดี การมาของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลเสียกับภาคอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรทำให้ตลาดเสียภาวะสมดุลไป  ผลที่ตามมาคือสินค้าในกลุ่มโภคภัณฑ์อื่นๆก็มีแนวโน้มจะไม่มั่นคงเช่นเดียวกับน้ำมัน

 

·         สำนักข่าวรอยเตอร์สระบุว่า ความกังวลเกี่ยวกับ Second Wave บดบังผลดีที่ซาอุดิอาระเบียลดการผลิตน้ำมันลงเพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ตลาดท่ามกลางอุปสงค์น้ำมันที่ร่วงลงอย่างมากอันเป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียกล่าวว่าจะลดกำลังการผลิตลง

น้ำมันดิบ Brent ลดลง 40 เซนต์หรือ 1.3% ที่ 29.58 เหรียญ/บาร์เรล แม้ว่าในวันอังคารจะปรับตัวสูงขึ้น 1.2% ส่วนน้ำมันดับ WTI ปรับลดลง 10 เซนต์หรือ 0.4% ที่ 25.68 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ดีดตัวขึ้น 6.8% เมื่อวานนี้

รายงานการระบาดระลอก 2 ที่เกาหลีและจีน ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิดของไวรัสโคโรนาก่อนที่จะระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศใช้มาตรการ Lock Down ที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและอุปสงค์น้ำมันหดตัวลง ในด้านของผู้ผลิตน้ำมัน รัฐบาลซาอุดิอาราเบียเร่งให้ประเทศในกลุ่มโอเปกลดการผลิตน้ำมันลงเพื่อคืนสมดุลให้แก่ตลาดน้ำมันดิบโลก

นอกจากนี้ สองแหล่งข่าวให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์สว่า บริษัทปิโตเลียมของคูเวตจะลดการส่งออกน้ำมันดิบในเดือนมิ.ย. ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลงอีก 5%


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com