• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2563

    13 พฤษภาคม 2563 | Economic News

·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 4,337,105 ราย


Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 292,403 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 212 ประเทศ

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,408,155 ราย (+22,321) และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 83,377 ราย (+1,582)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในรัสเซียล่าสุดอยู่ที่ 232,243 ราย (+10,899) ซึ่งขณะนี้ขึ้นมาเป็นลำดับที่ 3 ของโลก และมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ระดับ 2,116 ราย (+107)

Ø  จำนวนผู้เชื้อในสหราชอาณาจักรล่าสุดอยู่ที่ 226,463 ราย (+3,403) และมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในยุโรปที่ระดับ 32,692 ราย (+627)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในบราซิลล่าสุดอยู่ที่ 177,602 ราย (+8,459) ซึ่งขณะนี้ขยับขึ้นมาเป็นประเทศ 1 ใน 10 ของโลกที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 12,404 ราย (+779)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,017 ราย (+2) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 56 ราย

· ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (CPI) ประจำเดือนเม.ย. ออกมาลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตวิกฤตทางการเงิน Great Recession โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของอุปสงค์แก๊สโซลีนและภาคบริการ ประกอบด้วยการเดินทางด้วยสายการบิน ท่ามกลางประชาชนส่วนใหญ่ที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา

ทั้งนี้ ดัชนี CPI ออกมาลดลงสู่ระดับ -0.8% หลังจากที่ปรับลงมา -0.4% ในเดือนก่อนหน้า และนี่ถือเป็นการปรับตัวร่วงลงมากที่สุดตั้งแต่ธ.ค. ปี 2008 และเป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่องที่ดัชนี CPI ปรับตัวลดลง

· ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงวานนี้ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่มีท่าทีระมัดระวังก่อนทราบถ้อยแถลงของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดในคืนนี้ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่มองโอกาสที่จะเห็นเฟดหั่นดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบ

บรรดานักวิเคราะห์ ระบุว่า ดัชนีดอลลาร์ไม่ได้มีเหตุจำเป็นที่ทำเคลื่อนไหวในฐานะ Safe-Havens วานนี้ ท่ามกลางตลาดหุ้นสหรัฐฯที่ปรับตัวลดลง และราคาของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้นวานนี้

นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก Western Union Business Solutions กล่าวว่า ค่าเงินดอลลาร์ก็ดูจะเคลื่อนไหวในกรอบและอาจมีท่าทีระมัดระวังต่อการลงทุนก่อนทราบถ้อยแถลงประธานเฟด โดยเฉพาะปัจจุบันที่ตลาดค่อนข้างสนใจต่อเรื่องดอกเบี้ยติดลบ

แม้ว่านายโพเวลล์ และสมาชิกเฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยแตะระดับต่ำแถวศูนย์แล้ว แต่หลายๆตลาดก็คาดว่าจะเห็นเฟดปรับลดดอกเบี้ยลงอีก โดย Fed Fund Futures คาดจะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับติดลบ -0.5% ในช่วงประมาณเดือนเม.ย. ปี 20201

ข้อมูลจาก BofA ชี้ สำหรับโอกาส 23% คาดจะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยต่ำกว่า 0% ในช่วงสิ้นเดือนธ.ค. ซึ่งดูจะมีโอกาสมากขึ้นจากที่คาดไว้ในสัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสแค่ 9-10%

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.3% ที่ 99.59 จุด

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากที่ข้อมูล CPI ของสหรัฐฯในเดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงมากที่สุดตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 2008 มากยุคเศรษฐกิจถดถอยและเป็นการหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

ด้านตลาดยังคงกังวลต่อวิกฤตการระบาดของไวรัส โดยล่าสุดพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นในจีน, เกาหลีใต้ และเยอรมนี หลังจากที่ภาครัฐคลาย Lockdown

ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.4% ที่ 1.0848 ดอลลาร์/ยูโร โดยยังอยู่ไม่ห่างจาก 1.0636 ดอลลาร์/ยูโรที่ร่วงลงไปในช่วงสิ้นเดือนมี.ค. ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่ามา 0.5% ที่ 107.19 เยน/ดอลลาร์

· คาดโพเวลล์จะมีแนวความคิดไม่หนุนดอกเบี้ยติดลบ ขณะที่ทรัมป์กลับมองว่าเรื่องดังกล่าวให้ประโยชน์!

นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ถูกคาดว่าจะค้านอย่างหนักแน่นเกี่ยวกับไอเดียการปรับลดดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบ ในการกล่าวถ้อยแถลงคืนนี้ช่วงเวลาประมาณ 20.00น.ตามเวลาไทย แม้ว่าเมื่อวานนี้นายทรัมป์ จะกล่าวว่าเป็นเรื่องที่เอื้อประโยชน์ให้แก่สหรัฐฯก็ตาม

และจะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา บรรดาประธานเฟดสาขาต่างๆ ทั้งริชมอนด์ และชิคาโก ก็ออกมากล่าวในเชิงไม่เห็นด้วยกับการใช้ระดับดอกเบี้ยติดลบ รวมทั้งกล่าวถึงกรณีที่เฟดยังไม่มีแผนสำหรับการดำเนินการดังกล่าว ขณะที่ตลาดกลับมองว่าตั้งแต่เม.ย. ปีหน้าจะเห็นเฟดปรับลดดอกเบี้ยลงมาสู่ระดับแถว -0.01%

อย่างไรก็ดี นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังเผชิญกับระดับหนี้สินครั้งใหม่นับล้านล้านเหรียญ ก็สนับสนุนแนวความคิดเรื่องการใช้ดอกเบี้ยติดลบตราบเท่าที่จำเป็นต่อประเทศชาติ เพราะจะนำมาซึ่งนักลงทุนสามารถชำระหนี้ให้แก่กระทรวงการคลังได้

· นางลอเร็ตต้า เมสเตอร์ส ประธานเฟดสาขาเคฟแลนด์ กล่าวว่า จำเป็นต้องมีกระบวนการที่มากขึ้นในการทดสอบและรักษาผู้ติดเชื้อจากการระบาดของไวรัสโคโรนาก่อนที่ประชาชนจะรู้สึกถึงความปลอดภัยและเศรษฐกิจสหรัฐฯสหรัฐฯเดินหน้าเพื่อขยายตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งแนวโน้มของการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown ถือเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีนี้เติบโตได้อีกครั้ง รวมทั้งอัตราว่างงานที่ลดจำนวนลง

· ขณะที่สมาชิกเฟดบางส่วน มองว่า ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจำเป็นต้องได้รับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนา เพราะดูมีแนวโน้มจะใช้เวลานานในการฟื้นตัวหลังเผชิญการ Shutdown มากกว่าที่คาดไว้ในเบื้องต้น ขณะที่ภาพรวมการว่างงานดูจะย่ำแย่ลง และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจไม่ราบรื่น

ทั้งนี้ ประธานเฟดสาขาดัลลัส มองว่า อัตราว่างงานสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะแตะ 20% หรือสูงกว่านั้น และหากปรับตัวลงก็จะกลับลงมาอยู่ที่กรอบ 8-10% ได้ในช่วงสิ้นปี ซึ่งอาจจำเป็นที่จะต้องมีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวและการว่างงานที่ลดลงให้กลับสู่ระดับการจ้างงานเช่นเดิม

· นายกเทศมนตรีลอสแองเจลิส ออกคำสั่งขยายเวลาการหยุดอยู่บ้านออกไปอย่างน้อยจนถึงเดือนก.ค.นี้ หลังจากคำสั่งนั้นออกไปส่งผลให้ชาวเมืองเกิดความไม่พอใจ

· ผลสำรวจจากบีอาร์ซีเผยว่า ยอดขายร้านค้าในอังกฤษลดลง 19% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.ปีที่แล้ว โดยมีผลมาจากมาตรการ Lockdown เพื่อควบคุมไวรัสโคโรนา นับว่าเป็นการร่วงลงของยอดขายที่มากที่สุดตั้งแต่ปี1995

นอกจากนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ปรับตัวลงมากกว่า 1 ใน 3 โดย ธนาคาร Barclays เผยว่า การใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตและเดบิตลดลงถึง 36.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากธุรกิจการท่องเที่ยว, สถานบันเทิง และร้านอาหารซบเซาลงอย่างมาก โดยเป็นผลมาจากนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษสั่งปิดทำการเศรษฐกิจและให้ประชาชนส่วนใหญ่กักตัวอยู่ที่บ้านในช่วงเดือนมี.ค.เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนา

· สถาบันวิจัย Coalition เผยว่า บรรดาธนาคารเพื่อการลงทุนปลดพนักงานออกจำนวนมากที่สุดในรอบ 6 ปีในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 กว่า 40% แม้ว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลให้เกิดการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นในระยะสั้น ทำให้ธนาคารฯได้รับผลกำไรสูงสุดในรอบ 5 ปี แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่เกิดจากไวรัสโคโรนา

· ราคาน้ำมันดิบปิดแดนบวกวานนี้ เพราะได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงที่เหนือความคาดหมายจากทางซาอุดิอาระเบียในเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มในเดือนมิ.ย. เพื่อพยุงตลาดที่จะทำให้อุปสงค์น้ำมันไม่สดใสในช่วงเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา

น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 1.64 เหรียญ หรือ +6.8% ที่ 25.78 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ Brent ปรับขึ้น 35 เซนต์ หรือ +1.18% ปิดที่ 29.98 เหรียญ/บาร์เรล

เมื่อคืนนี้ทางการซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า จะทำการปรับลดการผลิตน้ำมันดิบลงเพิ่มอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนมิ.ย. ซึ่งจะส่งผลให้ภาพรวมปรับลงมาประมาณ 7.5 ล้านบาร์เรล/วัน หรือลดลงมาจากเดือนเม.ย.มากถึง 40%

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com