• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2563

    8 พฤษภาคม 2563 | Economic News

สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 3,918,678 ราย

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 270,765 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 212 ประเทศ

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,292,850 ราย (+227) และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 76,938 ราย (+10)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,000 ราย (+8) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 55 ราย

 

·       ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงก่อนหน้าการประกาศตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ แม้ตัวเลขดังกล่าวถูกคาดว่าจะประกาศออกมาตกต่ำเป็นประวัติการณ์ จึงอาจเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนให้กับตลาด แต่ตลาดดูเหมือนจะตอบรับกับข่าวเกี่ยวกับการกลับมาเปิดเศรษฐกิจของหลายๆประเทศมากกว่า จึงทำให้มีการเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น

ความเชื่อมั่นของตลาดยังได้รับแรงหนุนจากข่าวที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯและจีนมีการเจรจาการค้าผ่านทางโทรศัพท์กันในวันนี้ และตกลงที่จะให้ความร่วมมือกันพัฒนาความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจทั้งสองประเทศ

นักวิเคราะห์จาก State Street Bank ระบุว่าตลาดมีความหวังอย่างมากกับการที่เศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ตลาดจึงค่อนข้างอ่อนไหวกับข่าวที่เข้ามากระทบ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าเศรษฐกิจจะสามารถฟื้นตัวได้มากแค่ไหนภายในปี 2020

 

·       ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่า 0.2% แถว 99.673 จุด ลดลงจากระดับสูงสุดเมื่อคืนที่ 100.40 จุด

ค่าเงินยูโรแข็งค่า 0.1% แถว 1.0847 ดอลลาร์/ยูโร ฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1.07665 ดอลลาร์/ยูโร แต่ภาพรวมรายสัปดาห์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง 1.2%

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่า 0.6% แถว 0.6534 ดอลลาร์ ใกล้ระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 0.6570 ดอลลาร์ ซึ่งขึ้นไปได้เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ที่ผ่านมา

ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์รีบาวน์ขึ้นมาแถว 106.38 เยน/ดอลลาร์ เหนือระดับต่ำสุดในรอบ สัปดาห์ที่ 105.985 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งลงไปเมื่อวันพุธที่ผ่านมา

 

·       EUR/USD Forecast: ยูโรยังซบเซา แม้ดอลลาร์อ่อนค่า

บทวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก FX Street ระบุว่า ค่าเงินยูโรมีการฟื้นตัวแข็งค่าขึ้นมาได้เล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ และปิดตลาดเมื่อคืนในแดนบวกได้บ้าง แต่ยังคงเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบเดิมบริเวณ 1.0800 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่โอกาสกลับตัวเป็นขาขึ้นของยูโรก็ยังค่อนข้างอ่อนแอ เนื่องจากค่าเงินกำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ในกราฟราย 4 ช.ม. ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วันก็เริ่มย่อตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยอื่นๆที่มีระยะยาวกว่า ส่วนสัญญาณจาก Indicators แม้จะเริ่มฟื้นตัวจากภาวะ Oversold แต่ก็เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว

แนวรับ:  1.0790 1.0755 1.0710

แนวต้าน: 1.0865 1.0900 1.0940

 

·       จับตาการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ

ข้อมูลจ้างงานของสหรัฐฯออกมาย่ำแย่ ตั้งแต่ที่มีการใช้มาตรการ Shutdown เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาในกลางเดือนมี.ค. โดยมีผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่อสัปดาห์กว่าล้านราย

วันนี้รัฐบาลสหรัฐฯจะทำการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นเดือนที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่ในบ้านตลอดทั้งเดือน โดยคาดว่าจะมีผู้คนตกงานเพิ่มอีก 22 ล้านรายในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานสูงขึ้นถึง 14% ซึ่งจากเดิมอยู่ที่ 4.4% อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า อาจสูงเกือบถึง 20%

นักลงทุนควรระวังการระบาดของไวรัสโคโรนารอบที่สอง

บรรดานักลงทุนต่างจับตาดูความก้าวหน้าของสถานการณ์โควิด-19 โดยหวังให้การเปิดทำการทางเศรษฐกิจจะเป็นจุดจบของตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ พวกเขายังคงมองโลกในแง่ดีอยู่ และไม่สนใจตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดี นอกจากนี้ ยังไม่ตระหนักถึงโอกาสที่เกิดการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาครั้งที่สอง ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯลดลงแค่ในรัฐนิวยอร์ก แต่ยังคงเพิ่มขึ้นในรัฐอื่นๆ

การเปิดทำการทางเศรษฐกิจเพิ่งเริ่มต้นขึ้น หากไม่มีการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาครั้งที่สอง จำนวนผู้ว่างงานอาจน้อยลงในไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งอาจเป็นช่วงไตรมาสที่ ทั้งนี้ การระบาดใหญ่ครั้งที่สองจะส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง และจะทำให้ตัวเลขการจ้างงานร่วงลงมากกว่าเดิม และเศรษฐกิจก็จะใช้เวลานานกว่าเดิมที่จะฟื้นตัว ดังนั้น นักลงทุนควรระวังการระบาดของไวรัสโคโรนารอบที่สอง

 

·       กระทรวงพาณิชย์จีนเผย เจ้าหน้าระดับสูงจากรัฐบาลสหรัฐฯและจีนได้มีการเจรจาผ่านทางโทรศัพท์ในวันนี้ และตกลงที่จะให้ความร่วมกันพัฒนาความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ รวมถึงความร่วมมือทางการด้านสุขอนามัย

ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้คือนายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีจีนนายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าสหรัฐฯและนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้ความร่วมมือกันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเฟสแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังตกลงที่จะรักษาการเจรจาอย่างใกล้ชิดต่อไป

 

·       วิกฤติไวรัสจะยิ่งทำลายความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน

Hugo Brennan ที่ปรึกษาด้านปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองโลกจากสถาบัน Verisk Maplecroft มีมุมมองว่าวิกฤตไวรัสโคโรนาจะเป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่สุมไฟให้กับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ไม่ค่อยลงรอยกันอยู่แล้ว ให้ทวีความรุนแรงวขึ้นไปอีก

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีนดูจะเริ่มมีความบาดหมางกันมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดวิกฤตไวรัสระบาดในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นการที่แต่ละฝ่ายต่างกล่าวโทษกันไปมาเกี่ยวกับต้นกำหนดของไวรัสหรือผลกระทบของมัน ยังไม่นับกรณีที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ข่มขู่จะขึ้นภาษีกับจีนเพื่อเป็นบทลงโทษในการจัดการกับไวรัส ตลอดจนความขัดแย้งของทั้งสองประเทศภายในน่านน้ำทะเลจีนใต้

 

·       ไม่มีความหมาย หากเฟดจะใช้ดอกเบี้ยติดลบ - JPMorgan

ท่ามกลางตลาดที่เริ่มมีกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสที่เฟดจะหันไปใช้อัตราดอกเบี้ยในระดับติดลบ นักวิเคราะห์จาก JPMorgan Asset Management มีมุมมองว่าการดำเนินการเช่นนั้น ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย

โดยนักวิเคราะห์ระบุว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยในระดับติดลบนั้นไร้ความหมายกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ เห็นได้จากเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นที่ใช้อัตราดอกเบี้ยในระดับติดลบ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจให้ดีขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้าม กลับเป็นการอุดตันระบบธนาคาร ทำให้หลายภาคส่วนประสบความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ

หากสหรัฐฯต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง ควรจะเป็นการมอบเงินให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการโดยตรงเสียจะดีกว่า ซึ่งสหรัฐฯก็น่าจะมีแนวคิดทำเช่นนั้นอีกอย่างแน่นอน จึงคาดว่ารัฐบาลสหรัฐฯน่าจะมีการออกนโยบายเยียวยาเศรษฐกิจเป็นวงเงินอีกอย่างน้อย ล้านล้านเหรียญ

 

·       Deutsche Bank ปรับคาดการณ์ GDP โลกตกต่ำลงอย่างมาก

นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank ปรับคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ย่ำแย่ลงท่ามกลางวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยมองว่าอัตราการเติบโตของ GDP โลกในไตรมาสที่ 2/2020 จะหดตัว 11% เทียบกับของปี 2019

ขณะที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมทั้งปีนี้ คาดว่าจะหดตัว 6% เทียบกับคาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะหดตัว 3% และมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยสิถิติเดิมอยู่ที่หดตัว 0.1% ในสมัยวิกฤตทางการเงินโลก

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตครั้งนี้ แม้จะได้รับการรองรับผ่านการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินจากธนาคารกลางต่างๆ แต่ผลกระทบของมันก็ยังคงมีความรุนแรงอย่างมาก ทำให้เกิดอัตราตกงานมากขึ้น และน่าจะเป็นปัจจัยที่กดดันระบบการคลังการของแต่ละชาติไปอีกสักระยะ

 

·       การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. ปรับลดลงด้วยอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 5 ปี ที่ 6.0% เทียบกับของเดือน ก.พ. ที่ปรับลดลง 0.3% ท่ามกลางผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนาที่กดดันให้ประชาชนส่วนใหญ่อยู่แต่ในบ้าน จึงยิ่งตอกย้ำถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบไปยังการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 1/2020 ที่มีกำหนดจะประกาศในวันที่ 18 พ.ค. นี้

 

·       รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งญี่ปุ่นระบุว่า เนื่องจากบางพื้นที่ของญี่ปุ่นไม่มีการรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ จึงมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะพิจารณายกเลิกภาวะฉุกเฉินเร็วกว่ากำหนดการเดิม

 

·       นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเผย รัฐบาลกำลังตั้งเป้าผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ประเทศลงโดยแบ่งออกเป็น ขั้นตอน และมีเป้าหมายที่จะยกเลิกมาตรการทั้งหมดลงภายในเดือน ก.ค.

 

·       ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นท่ามกลางความเชื่อมั่นของตลาดที่ดีขึ้น ตามหลังข่าวที่หลายๆประเทศรวมถึงออสเตรเลียจะเริ่มเดินหน้าแผนผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เศรษฐกิจและสังคม จึงช่วยหนุนความหวังว่าปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้

โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 0.87 เหรียญ หรือ 3% แถว 30.33 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากเมื่อวานปรับลดลงเกือบ 1%

ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับสูงขึ้น 1.12 เหรียญ หรือ 4.8% แถว 24.67 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากเมื่อวานปรับลดลงเกือบ 2%

 

·       บรรดาผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐฯถูกคาดว่าจะปรับลดจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซลงสู่ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ภายในสัปดาห์นี้

โดยข้อมูลจาก Baker Hughes Co ที่เก็บข้อมูลแท่นขุดเจาะทั่วสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1940 พบว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แท่นขุดเจาะทั่วสหรัฐฯลดลงเหลือเพียง 408 ยูนิต สูงกว่าระดับต่ำสุดเพียง 4 ยูนิตที่ทำไว้ในเดือน พ.ค. ปี 2016 ที่ 404 ยูนิต

ทั้งนี้ บรรดาผู้ผลิตน้ำมันมีการปรับลดจำนวนแท่นขุดเจาะลงเฉลี่ยสัปดาห์ละ 55 ยูนิตนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันปรับลดลงอย่างหนัก จากภาวะสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียกับรัสเซีย

 

·       WTI Price Analysis: ราคาเคลื่อนไหวแดนบวกเป็นครั้งแรกรอบ 2 วัน แต่ยังต่ำกว่า 24 เหรียญ/บาร์เรล

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับสูงขึ้นได้ประมาณ 1.0% แถวระดับ 23.80 เหรียญ/บาร์เรล ในช่วงสายวันนี้ ทำให้ราคาน้ำมันสามารถเคลื่อนไหวในแดนบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 วัน

ขณะที่สัญญาณจาก RSI ที่เริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป บ่งชี้ว่าราคามีโอกาสจะปรับขึ้นต่อไปถึงระดับ 24.00 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 50 ช.ม. หากยืนเหนือระดับนี้ได้จะทำให้เป้าหมายต่อไปขยับขึ้นมาที่ 26.10 เหรียญ/บาร์เรล และถัดไปที่ระดับสูงสุดของเดือนนี้ที่ 26.70 เหรียญ/บาร์เรล จนถึงระดับสูงสุดของเดือน เม.ย. ที่ 29.20 เหรียญ/บาร์เรล

ในทางกลับกัน ราคาจะมีแนวรับสำคัญที่ระดับ 22.60 – 22.55 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 100 ช.ม. และเส้นทางเทคนิคอื่นๆเคลื่อนไหวมาบรรจบกัน หากราคาย่อหลุดระดับนี้ลงมา จะทำให้มีเป้าหมายขาลงถัดไปที่ 22.55 และ 20.00 เหรียญ/บาร์เรลตามลำดับ

 

·       JP Morgan คาดราคาน้ำมันแตะ 100 เหรียญ/บาร์เรล ในอีก 2 ปีข้างหน้า

นักวิเคราะห์จาก JP Morgan กล่าวหลังจากที่ราคาน้ำมันสามารถฟื้นตัวขึ้นมาในช่วงสัปดาห์นี้ โดยระบุว่าในระยะยาว ราคาน้ำมันมีโอกาสที่จะขึ้นไปถึงระดับ 100 เหรียญ/บาร์เรล ภายในระยะเวลา 2 ปี ท่ามกลางภาวะอุปทานน้ำมันที่จะลดลงอย่างมาก จากมาตรการปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่ของกลุ่ม OPEC+ และอุปสงค์น้ำมันที่เริ่มฟื้นตัวหลังทำระดับต่ำสุดภายในปีนี้

 

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นคาดว่าราคาน้ำมันจะยังฟื้นตัวได้ไม่มาก และภายในสิ้นปีราคาน้ำมันน่าจะขึ้นไปได้มากที่สุดที่บริเวณ 35 – 40 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ปริมาณอุปสงในน้ำมันน่าจะลงไปทำระดับต่ำสุดภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com