• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2563

    8 พฤษภาคม 2563 | Economic News



·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 3,915,625 ราย

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 270,683 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 212 ประเทศ

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,292,623 ราย และมีผู้เสียชีวิตที่ระดับ 76,928 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,992 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 55 ราย


·         ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงจากระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์วานนี้ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ทำการปิดสถานะทำกำไรก่อนทราบข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯเดือนเม.ย. คืนนี้ที่อาจสะท้อนถึงภาวะคนตกงานมากขึ้นในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูเป็นภัยต่อเศรษฐกิจโลก

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.3ที่ 99.884 จุด โดยช่วงต้นตลาดไปทำแข็งค่ามากสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 100.4 จุด ขณะที่ภาพรวมตลอดสัปดาห์ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.9%


ตลาดคาดว่าจะเห็นการจ้างงานภาครัฐบาลหดตัวลงมา 22 ล้านตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานคาดจะแตะ 16ทางด้านข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์วานนี้ปรับตัวขึ้นแตะ 3.169 ล้านราย และข้อมูลสัปดาห์ก่อนหน้ามีการปรับทบทวนที่ 3.846 ล้านราย

ค่าเงินเยนอ่อนค่าเล็กน้อย 0.2ที่ 106.315 จุด ด้านยูโรแข็งค่าได้ 0.3ที่ 1.0825 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ช่วงต้นตลาดไปทำต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์บริเวณ 1.0767 ดอลลาร์/ยูโร โดยยูโรยังคงอ่อนค่าแบบไม่รู้ทิศทางเนื่องจากยังคงกัวลต่อการดำเนินนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรของอีซีบีที่มีประเด็นกับศาลเยอรมนีช่วงต้นสัปดาห์

 

·         ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสูงถึง 33.3 ล้านรายท่ามกลางการระบาดของไวรั


สัปดาห์ที่แล้วมีผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นอีก 3.2 ล้านรายเนื่องจากเศรษฐกิจยังคงย่ำแย่เพราะไวรัสโคโรนา โดยตั้งแต่กลางเดือนมี.ค.มีผู้ขอรับสวัสดิการดังกล่าวทั้งหมด 33.3 ล้านรายหรือประมาณ 20% ของแรงงานสหรัฐฯ ตั้งแต่ที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา สหรัฐฯต้องเผชิญกับเศรษฐกิจที่เติบโตได้ช้าที่สุดในรอบทศวรรษ ร้านค้าก็มียอดขายต่ำสุดเป็นประวัติการณ์และกิจกรรมทางธุรกิจก็ไม่ได้ซบเซาเท่านี้ตั้งแต่ปี 2008 ที่เกิดวิกฤตทางการเงิน

 

·         ตลาดกลับมาประเมินดอกเบี้ยติดลบของสหรัฐฯเป็นครั้งแรก!

ตลาดการเงินเริ่มที่จะกลับมาประเมินถึงการเห็นดอกเบี้ยระดับติดลบ จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และการระบาดของเชื้อไวรัส แม้เจ้าหน้าที่เฟดบางรายรวมถึง นายเจอโรม โพเวล ประธานเฟด เคยกล่าวว่าไม่เห็นความจำเป็นว่าระดับดอกเบี้ยติดลบนั้นเหมาะสมกับสหรัฐฯฯ

แต่นักวิเคราะห์บางส่วนก็อาจเห็นสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ลงกว่าเดิมจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจนำมาให้เฟดต้องหาวิธีรับมือกับภาวะวิกฤต

Fed Funds Futures สะท้อนว่า เฟดมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบได้ โดยน่าจะเริ่มต้นในเดือนธ.ค.นี้

- นางแมรี ดาร์ลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า เฟดยังคงใช้เครื่องมือต่างๆที่เหมาะสมเพื่อนรับมือกับเศรษฐกิจ และเธอไม่คิดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้แบบ V-Shaped

เจ้าหน้าที่เฟดก็ยังมองต่างกันในเรื่องดอกเบี้ยติดลบ โดยบางส่วนก็กังวลว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอาจเป็นอุปสรรคสัคญสำหรับตลาดการเงินสหรัฐฯต่างๆ

- นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ กล่าวว่า เวลานี้ยังไม่มีอะไรบ่งชี้ว่านโยบายดอกเบี้ยติดลบจะเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สร้างความมีเสถียรภาพให้แก่สหรัฐฯ

- นายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย กล่าวว่า สหรัฐฯดูจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในไตรมาสที่ 2 แต่ก็คาดว่าจะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯจะสามารถฟื้นตัวกลับได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หากภาคธุรกิจยังคงกลับมาเปิดทำการโดยปราศจากมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา

นอกจากนี้ เขายังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะยังอยู่ในสภาวะเช่นนี้ต่อไปจนกว่าจะสามารถควบคุมไวรัสโคโรนาได้อย่างแท้จริง และหากเศรษฐกิจกลับมาเปิดทำการได้ในเดือนมิ.ย. โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งการควบคุมการระบาดของไวรัสได้ก็ดูมีแนวโน้มจะเห็นครึ่งปีหลังเศรษฐกิจรีบาวน์ได้ และโตต่อเนื่องในปีหน้า

 

·         นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จะประกาศการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เพื่อควบคุมไวรัสโคโรนาในสัปดาห์หน้า โดยจะใช้วิธีที่ระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการระบาดใหญ่ครั้งที่สองที่จะทำให้เศรษฐกิจแย่ไปมากกว่านี้ นอกจากนี้ นายจอห์นสันมีแผนจะประกาศแผนการขั้นต่อไปเพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนาในวันอาทิตย์นี้ และจะมีการทบทวนมาตรการปัจจุบันที่ทำให้เศรษฐกิจต้องปิดทำการและทำให้ผู้คนกว่าล้านคนต้องกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลาถึง 6 สัปดาห์

 

·         ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอังกฤษออกมาเพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย. แต่ภาพรวมก็ยังเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์จากการ Lockdown

 

·         การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 6% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อน จึงยิ่งตอกย้ำว่าการระบาดของไวรัสนำมาซึ่งการดิ่งตัวลองเศรษฐกิจญี่ปุ่น และอาจส่งผลให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายต่างๆ เพิ่มการอัดฉีดเม็ดเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้เลี่ยงภาวะถดถอยเชิงลึกได้

 

·         ราคาน้ำมันดิบปิดร่วงลงจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันและอุปสงค์น้ำมันที่ชะลอตัว หลังราคาขายน้ำมันในซาอุดิอาระเบียปรับตัวสูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของยอดส่งออกน้ำมันในจีน

น้ำมันดิบ Brent ปิด -26 เซนต์ หรือ -0.9ที่ 29.46 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิด -0.44 เซนต์ หรือ -1.8ที่ 23.55 เหรียญ/บาร์เรล

โดยช่วงต้นตลาดน้ำมันดิบ Brent ขยับขึ้นได้ 5% และ WTI ปรับตัวสูงกว่า 10แต่ภาพรวมสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้นได้แล้วประมาณ 11และน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นประมาณ 18%




บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com